วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เป็นอีกวันหนึ่งที่ได้รับการจารึกประวัติศาสตร์โลก เพราะโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก เหตุแห่งความหายนะยังคงไม่ได้รับการไขปริศนามาจนวันนี้
ไททานิกซึ่งเป็นเรือโดยสารลำมหึมา จมสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก หลังชนภูเขาน้ำแข็งระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน ประเทศอังฤษไปนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 รายนับเป็นภัยพิบัติทางทะเลที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในประวัติศาสตร์ เรื่องราวของเรือไททานิกน่าสนใจมาก เพราะเชื่อว่าเป็นเรือที่ไม่มีวันจม แต่ในความเป็นจริง เรือไททานิกอับปางตั้งแต่เดินเรือครั้งแรกเลยทีเดียว
ความคิดเห็นเรื่องหายนะของเรือไททานิกแตกออกเป็นหลายความเห็น ทั้งทฤษฎีตามหลักวิทยาศาสตร์และทฤษฎีแบบปนไสยศาสตร์ลี้ลับ แต่ที่น่าขนลุกที่สุดน่าจะเป็นความเห็นเรื่องอาถรรพ์มัมมี่เจ้าหญิง"อาเมน-รา" ที่สาปแช่งให้ผู้รบกวนชีวิตหลังความตายของพระองค์มีอันเป็นไปทุกราย
หากจะถามว่าความเป็นมาอันแปลกประหลาดของซากอารยธรรมอียิปต์โบราณอย่างเจ้าหญิง มาเกี่ยวพันกับเรือไททานิกได้อย่างไรนั้น คงต้องย้อนอดีตหลายพันปี เจ้าหญิงอาเมน-รา มีพระชนม์ชีพช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อสิ้นพระชนม์ พระศพได้รับการบรรจุลงในโลงไม้ที่ตกแต่งงดงาม จากนั้นนำไปบรรจุในสุสานหลวงที่ลักซอร์ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ที่โลงจารึกคำสาปแช่งเป็นภาษาไอยคุปต์โบราณความว่า
"ผู้ใดบังอาจรบกวนสถานซึ่งฝังร่างของข้าอันได้สถาปนาไว้ในอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำไนล์ มันผู้นั้นต้องพบกับภัยพิบัติน่าสยดสยองทุกวันและต้องตายทุกคน"
กลุ่มเศรษฐี 4 คน เป็นเพื่อนรักกัน เศรษฐีหนุ่มกลุ่มนี้ซื้อโลงพระศพมัมมี่เจ้าหญิงอาเมน-ราในราคาหลายพันปอนด์แล้วนำกลับมาเก็บไว้ที่โรงแรม
เศรษฐีหนุ่มรายแรกออกไปเที่ยวในทะเลทรายหลังจากนั้นอีก 2 ชั่วโมง และไม่ได้กลับมาอีกเลย หายสาบสูญอย่างไร้ร่องรอย วันรุ่งขึ้นหนึ่งในสามเศรษฐีที่เหลืออยู่ถูกคนรับใช้ชาวอียิปต์ยิง สุดท้ายต้องตัดแขนทิ้ง เพื่อนเศรษฐีหนุ่มคนที่สามถูกธนาคารยึดเงินฝากจนหมดสิ้นเมื่อเดินทางกลับถึงบ้าน ส่วนเศรษฐีคนสุดท้ายทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายและหมดเนื้อหมดตัว
อย่างไรก็ดีโลงพระศพย้ายมาสู่ประเทศอังกฤษตามคำสั่งซื้อของนักธุรกิจแห่งกรุงลอนดอน ระหว่างการขนส่งเกิดเหตุประหลาดที่เป็นอุปสรรคตลอดเส้นทาง หลังจากมัมมี่มาอยู่ในบ้าน นักธุรกิจรายนี้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนและบ้านถูกไฟไหม้ จึงตัดสินใจบริจาคโลงอาถรรพ์แก่พิพิธภันฑ์อังกฤษ
ขณะที่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ 2 คนกำลังย้ายพระศพขึ้นบันได คนหนึ่งพลาดตกลงมาขาหัก ส่วนอีกคนไม่เป็นอะไร แต่อีก 2วั นต่อมากลับเสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุ เมื่อมัมมี่เจ้าหญิงประทับในห้องแสดงอารยธรรมอียิปต์ในพิพิธภัณฑ์แห่งอังกฤษแล้ว เรื่องลึกลับอันหาคำอธิบายไม่ได้ก็เริ่มต้นขึ้น
ยามในพิพิธภัณฑ์ได้ยินเสียงกระทุ้งโลงอย่างรุนแรง และมีเสียงกุกกักๆ ในยามค่ำคืนโดยไร้สาเหตุ ยามคนหนึ่งเสียชีวิตระหว่างรักษาการณ์ เป็นเหตุให้ยามคนอื่นๆอยากลาออกเพราะความหวาดหวั่น แม้กระทั่งพนักงานทำความสะอาดยังไม่อยากจะเข้าใกล้โลงพระศพนั้นเลยแม้แต่น้อย
เคยมีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์นำผ้าขี้ริ้วไปวางปิดทับภาพใบหน้าที่วาดบนโลงด้วยความคะนอง หลังจากนั้นลูกของผู้เข้าชมรายนั้นก็สิ้นใจด้วยโรคหัด นอกจากนี้นักท่องเที่ยวคนหนึ่งขณะที่ถ่ายภาพหีบพระศพอยู่นั้น พลันล้มลงขาดใจตายคาที่โดยไม่มีท่าทีอาการป่วยมาก่อน นอกจากนี้นักอียิปต์วิทยาผู้แตะต้องหีบพระศพเพื่อการจัดแสดงก็นอนตายอยู่บนเตียงในห้องนอน คล้ายกับตกใจกลัวอะไรบางอย่างสุดขีดจนหัวใจวายกระทันหัน
เสียงร่ำลือหนาหูถึงความอาถรรพ์ของโลงพระศพนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ต้องเคลื่อนย้ายมัมมี่ไปเก็บไว้ที่ห้องใต้ดิน แต่หลังจากที่มัมมี่เจ้าหญิงอยู่ในชั้นใต้ดินได้เพียงอาทิตย์เดียว เจ้าหน้าที่คนหนึ่งที่มีส่วนช่วยเคลื่อนย้ายโลงพระศพก็ล้มป่วยลงอาการสาหัส รวมทั้งผู้ดูแลการเคลื่อนย้ายเสียชีวิตคาโต๊ะทำงาน
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่านักข่าวหนังสือพิมพ์ที่เคยถ่ายรูปโลงเพื่อประกอบการเผยแพร่ เมื่อนำรูปไปล้าง กลับกลายเป็นว่าภาพนั้นไม่ใช่ภาพที่ปรากฎอยู่บนฝาโลงศพ แต่เป็นภาพมัมมี่ซ้อนขึ้นมาแทน หลังจากนั้นช่างภาพรายยิงตัวตายโดยปราศจากมูลเหตุจูงใจใดๆ ทั้งสิ้นว่าอยากจะปลิดชีพตัวเอง
ทางพิพิธภัณฑ์จึงขายมัมมี่ให้แก่นักสะสมเอกชน หลังประสบเคราะห์ร้ายหลายหนติดต่อกันในครอบครัว ทำให้นักสะสมผู้นั้นนำโลงพระศพไปเก็บไว้ยังห้องใต้หลังคา และหาทางกำจัด แต่ไม่มีพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษแห่งไหนยอมรับมัมมี่เลย เนื่องจากข่าวที่แพร่สะพัดไปทั่วถึงความอาถรรพ์โลงบรรจุมัมมี่ของเจ้าหญิงพระองค์นี้
นักโบราณคดีอเมริกันผู้ไม่เชื่อถือเรื่องอาถรรพ์มัมมี่จ่ายเงินจำนวนมหาศาล เพื่อเคลื่อนย้ายมัมมี่มาที่นิวยอร์ก สั่งให้ขนส่งสมบัติชิ้นใหม่นี้มาให้ในเดือนเมษายนปี ค.ศ.1912 เรือโดยสารของบริษัทไวท์สตาร์ลำใหม่แสนหรูหราสมพระเกียรติในการนำเจ้าหญิงอาเมน-รามาสู่นิวยอร์ก และเรือโดยสารลำนี้มีชื่อว่าเรือไททานิก
หากขนย้ายหีบพระศพไปกับเรืออย่างเปิดเผยก็เกรงว่าผู้คนจะแตกตื่น เลยจำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ ทางฝ่ายขนส่งจัดการบรรจุหีบพระศพใส่ลังอย่างดี แล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ท้องเรือ ไม่มีผู้โดยสารทราบเลยแม้แต่คนเดียวว่า มีหีบพระศพอียิปต์โบราณบรรทุกมากับเรือด้วย ผู้รู้เรื่องนี้ดีคือบริษัทผู้จัดส่งเท่านั้น
เรือไททานิกเที่ยวแรกออกเดินทางจากอังกฤษ มู่งสู่นิวยอร์กกระทั่งถึงวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1912 กลางดึกของคืนวันที่ 15 เมษายน คศ.1912 นั้นเองที่เจ้าหญิงแห่งอาเมน-รานำผู้โดยสารอีก 1500 คนไปสู่ความตาย ใต้ก้นบึ้งมหาสมุทรแอตแลนติก
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี