คำนี้ฮิตมา 20 ปีแล้ว เป็นคำที่ใช้ในองค์กรธุรกิจและหน่วยราชการกันแพร่หลาย นักการเมืองและพรรคการเมืองก็ใช้ด้วย
องค์กรธุรกิจและหน่วยงานราชการก็ใช้แตกต่างกัน องค์กรธุรกิจใช้สำหรับกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์และแผนกลยุทธ์เพื่อไปสู่วิสัยทัศน์นั้นแต่หน่วยงานราชการกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับองค์กรที่เหนือกว่าขึ้นไปตามลำดับชั้น จนถึงวิสัยทัศน์และนโยบายระดับประเทศ
เฉพาะนโยบายระดับประเทศนั้น จะไปรับใช้นโยบายพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลหรือไม่ ผมไม่ทราบ ถ้าดูจากข่าวส่วนมากก็รับใช้ในระดับนโยบายเท่านั้น
เพราะนโยบายของแต่ละพรรคที่เป็นรัฐบาลนั้นไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ที่เหมือนกันแทบทุกพรรคก็คือ “นโยบายคอร์รัปชั่น”
ความสับสนของคำว่าวิสัยทัศน์นั้นมีมาก จนพวกนักการเมือง แม้กระทั่งนักธุรกิจเองก็สับสน สื่อที่ทำข่าวของนักการเมืองและนักธุรกิจก็สับสนตาม สับสนกับความหมายของคำเหล่านี้ ได้แก่ นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ดีเบต กระทั่ง วาทกรรม! (ชุดความคิด)
ดังนั้น เมื่อนักธุรกิจและนักการเมืองแสดงความคิด - ความเห็นในเรื่องนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ การดีเบต กระทั่ง วาทกรรม ก็เรียกกันว่าแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งก็ต้องแยกเป็นเรื่องและเป็นคนไป เพราะเขาอาจพูดเรื่องวิสัยทัศน์ปนอยู่ด้วยก็ได้
การเมืองยุคแบ่งฝ่ายโดยมีพรรคการเมืองเป็นศูนย์กลางและเป็นทัพใหญ่ใน “สงครามระบอบ” นั้น พวกลิ่วล้อกองเชียร์ก็จะอวย – ยกย่องพรรคการเมืองและนักการเมือง
คนโปรดของตนให้เท่และสูงส่งกว่าพรรคอื่นและคนอื่นว่า “มีวิสัยทัศน์” !
ผมเห็นเยอะและบ่อยมาก แม้แต่คอมเมนต์ในเฟซบุ๊กของผม
ไม่ใช่ใครที่ไหน พวกด้อมส้มนั่นเอง
ด้อมแดงนั้นไม่พูดคำว่าวิสัยทัศน์แต่จะพูดถึง “ความเก่ง ฉลาด รอบรู้ มีประสบการณ์” ของนักการเมืองและพรรคที่ตนเป็นลิ่วล้อกองเชียร์ ซึ่งในปัจจุบันก็มีอยู่คนเดียวคือคุณทักษิณ!
ส่วนพรรคอื่นๆ พวกลิ่วล้อกองเชียร์ไม่ค่อยพูดถึง “ทุกคำ”ที่ผมกล่าวมาข้างต้น ส่วนมากก็เชียร์นักการเมืองเป็นคนคน และเป็นเรื่องๆไป เช่น เชียร์คน คือ คุณพีระพันธุ์สาลีรัฐวิภาค และเชียร์เรื่องก็คือพลังงาน
ส่วนผมไม่ได้สนใจว่าใครจะมีวิสัยทัศน์หรือไม่ เพราะเอาแต่บ่นปนด่านักการเมืองส้มกับแดงเป็นหลัก!
แต่เมื่อเห็นผู้คนในสังคมออนไลน์ใช้คำกันสับสน จึงเขียนถึงนิยามหรือความหมายของคำนี้สักหน่อย
“วิสัยทัศน์” ถ้าแปลตรงคำก็คือ การเห็นการณ์ไกลหรือเห็นไปในอนาคต ณ เวลาหนึ่ง อาจจะ 5 ปี 10 ปี 20 ปี หรือมากกว่านั้น คือเห็นจากปัจจุบันว่าจะส่งผลต่อไปในอนาคตอย่างไรและเป็นอะไร และเราจะทำอะไรและอย่างไรในอนาคตที่เราเห็น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเรา
มันคล้ายการหยั่งรู้ แต่ไม่ใช่
มันคล้ายจินตนาการ แต่ไม่ใช่
ไม่ใช่การตั้งเป้าหมายไว้ในอนาคต เพราะเป้าหมายเป็นสิ่งที่ตามมาหลังจากมีวิสัยทัศน์
มันเหมือนกับความเห็นของ “นักอนาคตวิทยา” มากกว่า
เมื่อเห็นตรงนั้นแล้วก็ตั้งเป้าหมาย วางยุทธศาสตร์ วางกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ วิธีการ เพื่อเราจะได้เดินจากปัจจุบันไปสู่อนาคตที่เราเห็นนั้น
การใช้คำให้ “ถูกตรงกับความหมาย” ของแต่ละคำนั้น สื่อมีบทบาทสำคัญมาก มากกว่าการศึกษาในสถาบันการศึกษา เพราะเป็นผู้ส่งสารไปสู่สาธารณะทุกวัน วันละ 24 ชั่วโมงตอนพาดหัวข่าวและเขียนข่าวหรือพูดก็จะได้ส่งสารที่ถูกต้องออกไป จนผู้รับสารเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ อย่างแท้จริง
ส่วนนักการเมืองกับลิ่วล้อกองเชียร์จะพูดจะอวยกันอย่างไรก็ห้ามไม่ได้ เมื่อใดที่พวกเขาเปิดใจยอมรับความหมายของคำนี้ (วิสัยทัศน์)โดยไม่ยึดติดกับนักการเมืองของตน ก็อาจจะเลิกพูดเลิกอวยอย่างผิดๆ เอง
วิมล ไทรนิ่มนวล
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี