แนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลอินเดียที่มีนายเนห์รู เป็นนายกรัฐมนตรีแตกออกเป็นสองสาย คือ สายพิราบ และ สายเหยี่ยว
เนห์รู เน้นแนวทางการเจรจาเพื่อต่อรองหาทางออกร่วมกัน ส่วนหนึ่งคงจะเกรงว่า เรื่องจะบานปลายออกไปเป็นประเด็นนานาชาติ และ อาจถูกนำเรื่องเข้าสู่องค์การสหประชาชาติได้
แต่ข้อสงสัยอีกส่วนหนึ่งต่อแนวคิดของเนห์รูที่มักจะเอนเอียงไปทางพวกมุสลิมนั้น ผมจะพูดในโอกาสต่อไป
(เนห์รู และ คานธี-ภาพจากวิกิพีเดีย)
ขณะที่ซาร์ดาร์ พาเทล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ผู้ได้รับฉายาว่า “บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย” เป็นสายเหยี่ยว เขาต้องการผลที่รวดเร็ว แน่นอน และ ปลอดภัยต่อประเทศ
แต่ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นเหมือนกันว่า หากปล่อยให้ไฮเดอร์ราบาดเป็นอิสระแบบนี้ จะเป็นอันตรายต่ออินเดียอย่างใหญ่หลวงในอนาคต
เหมือนกับอินเดียจะมีสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอาการท้องเฟ้อ แน่นท้อง และแน่นหน้าอก จนทำให้ถึงตายได้
(ซาร์ดาร์ พาเทล - ภาพจากวิกิพีเดีย)
สิ่งสำคัญที่ซาร์ดาร์ พาเทล ตระหนักถึงอันตรายของไฮเดอร์ราบาดต่ออินเดียอย่างยิ่งถูกยืนยันด้วยข้อมูลในประวัติศาสตร์ กล่าวคือ นิซามแห่งไฮเดอร์ราบาด ถือเป็นรัฐเจ้าชายรัฐแรกของอินเดียที่ยอมทำสัญญาพันธมิตรแบบไม่เท่าเทียมกัน (SUBSIDIARY ALLIANCE) กับบริษัทอีสต์ อินเดีย ซึ่งก็คือรัฐบาลอังกฤษนั่นเอง ในปี 1798
สาระของสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่เอาเปรียบรัฐไฮเดอร์ราบาดอย่างมากมาย เพราะสนธิสัญญาระบุว่า รัฐที่เป็นพันธมิตรจะสูญเสียความเป็นอิสระของตนเอง และตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษอย่างสิ้นเชิง
จะว่าไป ณ.เวลานั้นไฮเดอร์ราบาดก็คือเมืองขึ้นของบริษัท อีสต์ อินเดียไปแล้ว
ขณะเดียวกัน บริษัทก็จะจัดตั้งกองทัพขึ้นมา อ้างว่าเพื่อช่วยดูแลปกป้องรัฐไฮเดอร์ราบาด แต่รัฐไฮเดอร์ราบาดจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดูแลกองทัพ ทั้งเงินเดือน อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ
ทำให้ผมอดที่จะนึกถึง สนธิสัญญานาโต้ไม่ได้
ค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินทองแล้ว อังกฤษยังเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่รัฐไฮเดอร์ราบาดจะต้องจ่ายให้แก่อังกฤษเป็นดินแดนที่มีคุณค่า ราคา และ มีผลประโยชน์มากๆอีกด้วย
ในสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้อังกฤษสามารถกีดกันการแทรกตัว หรือ เสนอตัวเข้ามาของชาติยุโรปอื่นๆที่จะเข้ามาติดต่อค้าขายกับรัฐไฮเดอร์ราบาดด้วย
ข้อตกลงดังกล่าวยังระบุว่า หากฝ่ายบริหารของรัฐไฮเดอร์ราบาดไม่สามารถส่งเงิน หรือ เครื่องบรรณาการครบตามจำนวนที่อังกฤษต้องการเมื่อใด อังกฤษสามารถยึดครองรัฐนั้นๆได้ทันที
ที่สำคัญก็คือ อังกฤษสามารถโค่นล้มการปกครองของผู้ปกครองอินเดีย และยึดดินแดนนั้นๆมาเป็นของตนเองเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว สนธิสัญญานี้จึงเป็นที่เรียกขานกันว่า การเป็นพันธมิตรแบบไม่เท่าเทียมกัน หรือ พันธมิตรแบบเมืองขึ้น
ด้วยหลักฐานดังกล่าว จึงสามารถยืนยันชัดเจนว่า รัฐเจ้าชายแห่งไฮเดอร์ราบาด ไม่อยู่ในสถานะที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ไฮเดอร์ราบาดยังแอบติดต่อกับปากีสถาน เพื่อขอการสนับสนุนทางอาวุธ และ มีการสะสมอาวุธอย่างเป็นระบบ
นี่คือสิ่งที่ นายซาร์ดาร์ พาเทล มองเห็นอันตรายในอนาคต หากว่าอังกฤษอาศัยข้ออ้างตามสนธิสัญญานี้เข้ามาแทรกแซงต่อกรณีของรัฐไฮเดอร์ราบาด
อินเดียจะตกอยู่ในฐานะลำบาก แล้วจะทำอย่างไร
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี