ในช่วงต้นของการรุกราน กองทัพของปากีสถานสามารถรุกเข้ามาในพื้นที่ของรัฐจามมูและแคชเมียร์ ได้มากทีเดียว แต่เมื่ออินเดียส่งกองทัพเข้ามาช่วยมหาราชา ฮารี ซิงห์ ขับไล่ทหารของปากีสถาน
ทหารปากีสถานไม่อาจต้านทานได้ ต้องถอยร่นกลับไป
ความขัดแย้งทางทหารของสองประเทศถูกนำเข้าไปหารือในที่ประชุมสหประชาชาติ ในที่สุดวันที่ 22 เมษายน 1948 หรือ ประมาณ 6 เดือนหลังจากเกิดเหตุการสงคราม สมัชชาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ออกคำตัดสินที่เรียกว่า RESOLUTION 47 ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาในภูมิภาคนี้เพื่อช่วยให้ทั้งสองประเทศยุติสงครามต่อกัน พร้อมด้วยมาตรการอื่นๆอีกหลายข้อ
กองทัพของทั้งสองฝ่ายหยุดยิงชั่วคราว และ ตั้งมั่นในแนวสุดท้าย ทั้งสองฝ่ายนั่งโต๊ะเจรจาร่วมกับสหประชาชาติ ในที่สุด ในคืนวันที่ 1 มกราคม 1949 ก็มีประกาศการหยุดยิงอย่างเป็นทางการ
แนวเขตที่มั่นสุดท้ายตอนหยุดยิงถูกเรียกว่า แนวเส้นหยุดยิง (LINE OF CONTROL)
(อาณาเขตของอินเดียและปากีสถานในวันหยุดยิง)
อินเดียควบคุมพื้นที่สองในสามของรัฐแคชเมียร์ คือ หุบเขาแคชเมียร์(KASHMIR VALLEY) , เขตจามมู(JAMMU) และ เขตดาลัคห์(LADAKH) ในขณะที่ปากีสถานควบคุมพื้นที่หนึ่งในสามของแคชมียร์ คือ อาซาด แคชเมียร์(AZAD KASHMIR) และ กิลกิต-บัลติสตาน (GILGIT - BALTISTAN)
พื้นที่ภายใต้การยึดครองของปากีสถาน ต่อมาเรียกว่า เขตแคชเมียร์ภายใต้การปกครองของปากีสถาน (PAKISTAN ADMINISTERD KASHMIR) ซึ่งอินเดียยังถือว่า เป็นดินแดนของตัวเองที่ถูกปากีสถานยึดไป
หรือเรียกว่า POK ย่อมาจาก PAKISTAN OCCUPIED KASHMIR
ขณะเดียวกัน นับตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 เป็นต้นมา รัฐบาล(ชั่วคราว)อินเดียก็เริ่มการวางแผนร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญขึ้นในเมืองหลวงเดลี เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
(อาคารรัฐสภาแห่งแรกของอินเดีย ที่สร้างในสมัยอังกฤษ) -ภาพจากวิกิพีเดีย
บรรดารัฐเจ้าชายทั้งหลาย ต่างก็ได้รับเชิญให้ส่งตัวแทนเข้ามาร่วมประชุมเพื่อร่วมกันร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย
กฎหมายรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินเดียฉบับแรกที่ร่างเสร็จและได้รับการลงมติเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ปี 1949 และนำไปสู่การบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 26 มกราคม ปีถัดมา
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก และ รัฐธรรมนูญฉบับเดียวของอินเดียที่ใช้งานต่อเนื่องมากว่า 70 ปี เพราะอินเดียไม่มีการปฎิวัติรัฐประหาร และ ฉีกรัฐธรรมนูญ
ขณะนั้น รัฐเจ้าชายแห่งจามมูและ แคชเมียร์ ของมหาราชา ฮารี ซิงห์ แม้จะมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของอินเดียแล้วก็ตาม แต่ยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งของชาวฮินดู และ มุสลิม โดยเฉพาะมุสลิมที่ได้รับการหนุนหลังจากปากีสถาน
ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การต่อรองหลายประการ ระหว่างกลุ่มมุสลิมได้ที่ได้รับแรงหนุนจากปากีสถาน กับ รัฐบาลอินเดีย จนในที่สุดก็มาสู่การเพิ่มมาตรา 370 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากทั้งชีวิตและทรัพย์สินของชาวอินเดียฮินดูโดยเฉพาะเป็นเวลายาวนานร่วม 70 ปี
มาตรา 370 คืออะไร ทำไมจึงสร้างความเสียหายแก่อินเดียเป็นอย่างมาก
รอพบกับโปรแกรม เจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน ของฤดูกาลปลายปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป บรรยายชมโดยผู้เชียวชาญอียิปต์ และเป็นผู้เขียนหนังสือไกด์บุ๊ค 4 เล่ม รวมถึงไกด์บุ๊ค “อียิปต์-กรีซ-ตุรกี” สอบถามได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
ติดตามต่อในสัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี