บาสมาติ [Basmati] ในภาษาฮินดูแปลว่า “ราชินีแห่งความหอม” บ่งบอกถึงความหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของข้าวชนิดนี้นั่นเอง ต้นกำเนิดของข้าว Basmati มีประวัติย้อนกลับไป 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชในอนุทวีปอินเดีย ซึ่งในอดีตมีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลายบริเวณเชิงเขาหิมาลัยซึ่งเป็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคปัญจาบครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน เป็นข้าวหอมชนิดเมล็ดยาวเรียว ซึ่งปลูกตามประเพณีโบราณในอนุทวีปอินเดีย ส่วนใหญ่ปลูกในอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และเนปาล เชื่อกันว่าข้าวบาสมาติมีการปลูกเก็บเกี่ยวในอนุทวีปอินเดียมานานหลายศตวรรษ พบหลักฐานการอ้างถึงข้าวบาสมาติในยุคแรกสุดจากมหากาพย์ Heer Ranjha แต่งโดยกวีชาวปัญจาบ วาริส ชาห์ (Waris Shah) ในบทกวีนี้กล่าวว่าข้าว Basmati ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มราชวงศ์อินเดีย โดยเฉพาะในยุคจักรพรรดิโมกุลเมื่อปี พ.ศ. 2309
เดห์ราดูนีบาสมาติ
การที่อินเดียพบข้าวบาสมาติพันธุ์ดั้งเดิม (Dehradun Basmati) อันเป็นกลุ่มข้าวบาสมาติพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดยังคงรักษาพันธุ์ข้าวถึงยุคปัจจุบันที่เขต Dehradun ของรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย ต่อมาพันธุ์ข้าวนี้ได้แพร่ขยายส่งต่อไปปลูกในภูมิภาคอื่นๆ จากอุตตราขัณฑ์ อย่างเช่นพันธุ์บาสมาติที่เรียกรวมๆ กันว่าเดห์ราดูนีบาสมาติ มีเมล็ดข้าวคุณภาพสูงกว่าจากแหล่งอื่นมีทั้งกลิ่นและรสชาติของ ‘ข้าวโพดคั่ว' อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ นอกจากที่รัฐอุตตราขัณฑ์พิหาร ยังมีปลูกที่รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา หิมาจัลประเทศ-เดลี รัฐอุตตรประเทศตะวันตก รัฐโอริสสา และชัมมูแคชเมียร์ อย่างไรก็ดีถือว่าพันธุ์ข้าวอุตตราขัณฑ์ได้รับการจัดอันดับในอดีตว่าเป็นพันธุ์บาสมาติที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก
ในช่วงปี พ.ศ.2533 เกิดข้อพิพาทระหว่างอินเดียและปากีสถานเกี่ยวกับสถานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของข้าว Basmati เนื่องจากทั้งสองประเทศต่างก็อ้างว่าภูมิภาคของตนเป็นผู้ผลิตข้าว Basmati แต่ในที่สุดข้อพิพาทก็ยุติลง โดยทั้งสองประเทศได้รับสถานะ GI สำหรับข้าว Basmati ร่วมกัน
ในช่วงปีการเพาะปลูกเดือนกรกฎาคม 2554 ถึงมิถุนายน 2555 ผลิตได้ 5 ล้านตันในปี 2558-2559 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติจำนวน 4.4 ล้านเมตริกตัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 สถิติของการค้าข้าวบาสมาติระหว่างประเทศที่มาจากอินเดียมีสัดส่วนมากกว่า 65% ของการผลิตข้าวบาสมาติทั่วโลก ขณะที่ปากีสถานผลิตได้ 35% ที่เหลือจำนวนเล็กน้อยจากหลายประเทศใกล้เคียง ทั้งนี้บาสมาติเป็นพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของอินเดียและปากีสถาน ไปยังซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การส่งออกไปยังทั้งสามประเทศนี้คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกข้าวบาสมาติทั้งหมดของอินเดีย
สำหรับประเทศปากีสถานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุถึงพื้นที่ปลูกข้าวบาสมาติพันธุ์ดั้งเดิมของปากีสถานตั้งอยู่ในรัฐโถกะลาร์อยู่ระหว่างแม่น้ำราวีและแม่น้ำเชนับ การเพาะปลูกบาสมาติเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในจังหวัดปัญจาบซึ่งมีผลผลิตรวม 2.47 ล้านเมตริกตัน (ชนิดเมล็ดยาว 2,430,000 ตัน เมล็ดสั้น 2,720,000 ตัน) ในปีพ.ศ.2563 ปากีสถานส่งออกข้าวบาสมาติ 890,207 ตัน มูลค่า 790 ล้านดอลลาร์โดยส่งออกโดยรวมไปยุโรปเป็น 40% ขณะที่ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศอ่าวเปอร์เซีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
Brown Basmati Rice
ในประเทศอินโดนีเซียมีการผลิตข้าวบาสมาติพันธุ์ท้องถิ่นของตนเองในชวาตะวันตกและกาลิมันตันกลาง โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 8.2 ตันต่อเฮกตาร์โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวถูกนำมาจาก ปากีสถานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามไม่สามารถปลูกได้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและธาตุในดินไม่เข้ากัน แต่กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียก็สามารถปรับปรุงพันธุ์จนผลิตและปลูกข้าวลูกผสมระหว่างข้าวบาสมาติกับข้าวท้องถิ่นได้ในปีพ.ศ. 2560
ข้าวป่าสกุล Zizania
ในประเทศอื่นเช่นที่ประเทศเนปาลข้าวบาสมาติส่วนใหญ่ผลิตในภูมิภาค Terai ของประเทศเนปาลและบางส่วนของหุบเขากาฐมาณฑุ ส่วนในประเทศศรีลังกา ปลูกได้จำนวนไม่มาก โดยเฉพาะข้าวบาสมาติสีแดง แต่กำลังทดลองปลูกในพื้นที่เขตร้อนชื้นของศรีลังกา
กลิ่นและรสชาติข้าวบาสมาติเป็นข้าวเมล็ดยาวที่ขึ้นชื่อเรื่องกลิ่นหอมเฉพาะตัว และเนื้อสัมผัสที่นุ่มเมื่อปรุงสุกรสชาติมีรสถั่วเล็กน้อย ซึ่งช่วยเสริมเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้ในอาหารเอเชียใต้และตะวันออกกลางโดยรวมแล้วข้าวบาสมาติเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และเหมาะกับการรับประทานร่วมกับอาหารหลากหลายประเภท ทำให้ข้าวบาสมาติเป็นอาหารหลักในอาหารหลายประเภททั่วโลก
อาหารยอดนิยมที่ใช้ข้าวบาสมาติ
ข้าวหมกบริยานี (Biryani): ข้าวหมกที่คุ้นเคยมีกลิ่นหอมเครื่องเทศหุงจากข้าวบาสมาติโดยการอบข้าวสุกกับเนื้อสัตว์หรือผัก Pulao (Pilaf ปูเลา) ใช้ข้าวเมล็ดยาวหุงในน้ำซุปปรุงรส โดยทั่วไป Pulao จะใช้เครื่องเทศน้อยกว่าข้าวหมกบริยานี
ข้าวหมกไก่ทั่วไป
มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนถึงคำว่า “ข้าว” หมายถึงอาหารที่กินแต่ละมื้อ เพื่อยังชีวิต เมื่อทักถามกันว่ากินอาหารหรือยัง ก็ถามว่า “กินข้าวหรือยัง” ในทางโบราณคดีมีการค้นพบข้าวในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แสดงว่าอายุ 5 พันปี ถึงหนึ่งหมื่นปี หล่อเลี้ยงมนุษย์เรามานมนานแต่ก่อนกาลโดยข้าวทั่วโลกนั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์เป็นธัญพืชซึ่งประชากรชาวโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย โดยแต่ละชนชาตินำไปปรุงตามความชอบและรสนิยมแตกต่างกันไป
Biryani
ข้าวหมกไก่จากแคว้นละฮอร์
ข้าวเดห์ราดูนีบาสมาติ จาก ไฮเดอราบัด
ข้าวหมกสินธุ
อ้างอิง
7/11 All Mag./กินแกล้มเล่า/สิงหาคม 2567
พลตรี.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช “พ่อครัวหัวป่าก์” พ.ศ.2522
ChatGPT
"ProdSTAT". FAOSTAT. 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ December 26, 2006.
Smith, Bruce D. (1998) The Emergence of Agriculture. Scientific American Library, A Division of HPHLP, New York, ISBN 0-7167-6030-4.
มนุษย์ทำนาเกือบ 10,000 ปีมาแล้ว. "ทันโลก". ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21342
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี