โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
ช่วงเวลาที่มีการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น สมาชิกของรัฐสภาส่วนใหญ่เป็นของพรรคคองเกรส ที่มีนายเหน์รู เป็นหัวหน้า และ ตระกูลของเขาก็มีฐานะเจ้าของพรรคไปโดยปริยายในเวลาต่อมา
สืบทอดอำนาจกันมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี
กลับมาพูดรายละเอียดของมาตรา370 กันต่อ
(แผนที่แสดงเขตจามมู เขตแคชเมียร์ และ เขตลาดัคห์)
การซื้อขายที่ดินในรัฐจามมู แคชเมียร์ โดยเฉพาะในบริเวณหุบเขาแคชเมียร์นั้น ถูกห้ามคนที่อาศัยอยู่ในรัฐอื่นๆของนอกเหนือจากรัฐจามมูแคชเมียร เข้ามาซื้อที่ดินในจามมูแคชเมียร
ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายนี้ยังห้ามไม่ให้คนที่อยู่ในเขตหุบเขาแคชเมียร เช่น ในเขตจามมู และ เขตลาดัคห์ เข้ามาซื้อที่ดินด้วย
แม้ว่าจะอยู่ในรัฐจามมูแคชเมียร์เดียวกัน
ต้องทราบก่อนว่า ในเขตจามมู นั้นประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวซิกห์ ในขณะที่ในเขตลาดัคห์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ
ดังนั้น กฎหมายมาตรา 370 จึงมีเจตนาตั้งแต่ต้นที่จะขจัดประชากรที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมออกไปจากพื้นที่หุบเขาแคชเมียร์
(ภาพการแต่งงานตามประเพณีของชาวแคชเมียร์-ภาพจากวิกิพีเดีย)
นอกจากนั้น มาตรา 370 ยังกำหนดว่า ผู้หญิงชาวแคชเมียร์ทุกคน จะต้องแต่งงานกับเฉพาะคนแคชเมียร์เท่านั้น ห้ามแต่งงานกับผู้ชายนอกรัฐเป็นอันขาด
หากฝ่าฝืนไปแต่งงานกับคนนอกรัฐ เธอจะถูกยึดทรัพย์สินทั้งหมดทันที
ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของอินเดียกำหนดให้ ทุกรัฐของอินเดียจะต้องให้สิทธิพิเศษในเรื่องตำแหน่งงานของรัฐให้แก่บุคคลที่มาจากวรรณะต่ำ เช่น วรรณะจัณฑาล เพราะโอกาสทางสังคมของคนวรรณะต่ำเหล่านี้น้อยกว่าคนในวรรณะอื่นๆอย่างมากจนเทียบไม่ได้
แต่เป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่ในมาตรา 370 ของอินเดีย สิ่งเหล่านี้ถูกตัดออกไป คงเหลือแต่สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่เหนือกว่าผู้คนที่นับถือศาสนาอื่นๆ
เป็นเจตนาบั่นทอนชาวฮินดู ชาวซิกห์ และ ชาวพุทธ ให้มีฐานะยากจนลง
ผมยกตัวอย่างเฉพาะที่สำคัญๆเท่านั้น เพราะรายละเอียดอื่นๆค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อน
ดูเหมือนว่า มาตรา 370 จะมีเจตนาจะทำให้รัฐจามมู และ แคชเมียร์ กลายเป็นพื้นที่บริสุทธิ์ของชาวมุสลิม เหมือนเจตนารมณ์ในการก่อตั้งประเทศปากีสถานของมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์
หลังการแยกประเทศอินเดียกับปากีสถานใหม่ๆ ปัญหากระทบกระทั่งระหว่างสองชาติไม่ค่อยมากนัก อาจเพราะทั้งสองประเทศต่างก็วุ่นอยู่กับเรื่องการจัดระเบียบภายในประเทศของตนเองอยู่
ยกเว้นการกระทบกระทั่งกันในเรื่องการแบ่งปันน้ำจากแม่น้ำสินธุ เพราะเขตปัญจาบตะวันออกไปปิดกั้นน้ำของแม่น้ำสินธุที่ไหลไปยังเขตปัญจาบจะวันตก ทำให้ปากีสถานไม่มีน้ำใช้
ปัญหาดังกล่าวยืดเยื้อนานประมาณ 5 สัปดาห์ จนทั้งสองฝ่ายยอมตกลงนั่งโต๊ะเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน
พบกับโปรแกรม เจาะลึกอียิปต์ 10 วัน 7 คืน ของฤดูกาลปลายปีนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป บรรยายชมโดยผู้เชียวชาญอียิปต์ และเป็นผู้เขียนหนังสือไกด์บุ๊ค 4 เล่ม รวมถึงไกด์บุ๊ค “อียิปต์-กรีซ-ตุรกี” สอบถามได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
จบความขัดแย้งนี้ไป แต่ความขัดแย้งอื่นๆที่รุนแรงกำลังจะตามมา
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี