On the way with Chom สัปดาห์นี้พบกับ หมออ้อม แพทย์หญิงพักตร์พิไล ทวีสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งวันนี้จะมาแชร์ความรู้เรื่อง กินวิตามินต่อเนื่องป้องกันโรคได้ดีกว่าวัคซีน? ซ่อมอวัยวะที่พังให้กลับมาใช้งานได้! สายวีแกนต้องรู้ โปรตีนพืชกินแล้วเสี่ยงโลหิตจาง ทดแทนโปรตีนสัตว์ไม่ได้? คนไข้มะเร็ง 100% ขาดวิตามิน D3 เรื่องอาหารเสริมที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน
อาหารเสริมเริ่มทานได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วอะไรที่เราขาดกันเยอะมาก ?
หมออ้อม : จริง ๆ ทานได้เลย ตั้งแต่ลูกหมอเล็กๆก็จัดให้ทานวิตามินแล้ว เพราะว่าโอกาสที่เราจะได้วิตามินแร่ธาตุสารอาหาร ที่ครบถ้วนจากอาหารในยุคปัจจุบันต้องบอกว่ายากมาก เพราะว่าวิตามิน เกลือแร่ทั้งหลายอย่างจะอยู่ในพืช อยู่ในผัก อยู่ในผลไม้เปรี้ยว ถ้าตามตำราที่ว่าเราจะกินยังไงให้ได้สารอาหารแร่ธาตุครบถ้วน ต้องทานผักหรือผลไม้เปรี้ยวให้ครบ 7 สี ต้องมีสีม่วง เขียวแก่ เขียวอ่อน สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีขาวนะคะ ซึ่งสีขาวไม่ใช่มังคุด ไม่ใช่เนื้อเงาะ สีขาวคือกระเทียม หอมใหญ่ หรือขิง ซึ่งพวกนี้เขาจะมีวิตามิน มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ไม่ซ้ำกัน แล้วก็ต้องทานให้ได้ไม่ต่ำกว่า 60% ของอาหารทุกมื้อ ซึ่งยากมาก ในชีวิตประจำวันเราทานอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูปเยอะ ชานมไข่มุก น้ำอัดลม กาแฟ คาปูชิโน เหล่านี้มีส่วนทำให้เราขาดวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารได้ค่ะ
ส่วนมากคนไทยขาดวิตามินอะไร ?
หมออ้อม : คนไทยขาดอะไรเหรอ จริง ๆ ขาดทุกตัวนะคะ ถ้าถามว่าเสริมอะไรก่อน หมอว่าเบสิคเลยคือวิตามินซี ซึ่งวิตามินซีเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็ทานอยู่ บางคนอาจจะทานทุกวัน บางคนอาจจะทานเวลาเป็นหวัด แต่ก็จะมีปัญหาว่าต้องกินเท่าไหร่ บางคนบอกดูดซึมได้อย่างมากที่สุด 500 มิลลิกรัม งั้นฉันกินแค่ 500 มิลลิกรัมก็พอ ไม่พอนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วการดูดซึมของร่างกาย 500 มิลลิกรัมจริงแต่คือ 50% ถ้าคุณกิน 500 มิลลิกรัม คุณจะได้แค่ 250 เพราะฉะนั้นเลยบอกว่าให้กินไปเลย 1,000 แต่เรื่องของวิตามินซีมันยังมีรายละเอียดปลีกย่อย ควรจะกินเท่าไหร่ จริง ๆ แล้วโดยส่วนตัวหมอเริ่มต้นรู้จักวิตามินตอนอายุ 20 กว่า ๆ ก็ทานวิตามินซีตัวแรก ทาน 1,000 มาตลอด เช้าเย็น วันละ 2,000 ตอนช่วงโควิดหมอก็ไปค้นเปเปอร์ว่าตอนนั้นยังไม่มีวัคซีนแล้วเราจะทำยังไงล่ะที่จะเสริมภูมิคุ้มกันเราได้ มันมีเปเปอร์ study ตีพิมพ์ในอเมริกาเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ทำตั้งแต่ปี 1990 ต้น ๆ เก็บตัวเลข 5 ปีเต็ม โดยไปทำในนักศึกษามหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนียข้างละ 7-800 คน คือกลุ่มหนึ่งก็ไม่ต้องกินวิตามินมีชีวิตปกติ แต่เป็นเด็กมาในมหาวิทยาลัยเดียวกันก็น่าจะมีไลฟ์สไตล์คล้าย ๆ กัน อีกกลุ่มหนึ่งให้กินวิตามินซีครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งคือ 3,000 แล้วเก็บตัวเลขดูว่าตลอด 5 ปีกลุ่มที่กินวิตามินซีเป็นหวัดน้อยกว่าไหม อันนี้เขาไม่นับ Common cold เขานับเป็น influenza คือเป็นไข้หวัดใหญ่ประเภทไข้ขึ้นสูงต้องลาเรียนต้องต้องพัก เชื่อไหมว่ากลุ่มที่กินวิตามินซีเป็นไข้หวัดใหญ่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่กินวิตามินซี 84% ขณะที่วัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่งมาโปรโมทให้ฉีดใน ปี 2004-2029 ก่อนโควิดอาละวาด อันนี้เป็นตัวเลขที่ ดร. Anthony Fauci ผู้อำนวยการ CDC Center of Disease Control ทำออกมาเลย 2004-2029 Average กันได้แค่ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ สรุปวิตามินซีวันละ 3,000 กันได้มากกว่านั้นเท่าตัว เวิร์คกว่าวัคซีน แล้วก็ยังมีอีกเปเปอร์หนึ่งออกมานานแล้วนะคะ อันนี้บอกเลยว่าคนที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุก ๆ ปี พอติดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น เช่น ปีนี้คุณฉีด ABC แล้วคุณไปติด XYZ โอกาสเป็นปอดบวมตายสูงมากกว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนเลย หมอไม่เคยฉีดวัคซีนค่ายหวัดใหญ่ แล้วก็ไม่คิดว่าจะฉีด
จริง ๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยฉีดวัคซีนประจำปี แต่ก็มาโดนแนะนำให้ฉีดตอนท้อง จะสังเกตว่าป่วยบ่อย คือเวลาที่ลูกไปโรงเรียนก็จะเอาเชื้อมาให้เรา แต่คุณหมอว่าไม่ฉีดดีกว่า ?
หมออ้อม : ไม่ฉีดดีกว่า อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ต้องเชื่อตามนะคะ แต่หมอไปอ่านหลาย ๆ เปเปอร์ จริง ๆ แล้วการที่เราจะปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บคือการที่ทำให้เรามีสุขภาพดีไปนาน ๆ เพิ่งได้ line มาว่าคนไทยเราอายุยืนยาวมากขึ้นถึง 12 ปี แต่ 10 ปีสุดท้ายคือป่วยแทบจะนั่งรถเข็นแทบจะติดเตียงไม่เอา คนเรามันอายุยืนยาวมากขึ้นเพราะว่าวิทยาศาสตร์อะไรก็ตามสมัยใหม่ยาเยอะมันก็ทำให้เราอายุยืนมากขึ้น แต่ถามว่าคุณภาพชีวิตมีไหม คุณภาพชีวิตมันอาจจะไม่ใช่ แทนที่เราจะไปเพิ่ม lifespan คืออายุยืนยาว เราควรจะต้องเพิ่ม Health Span นะคะ คือสมมุติเราตายอายุ 80 แทนที่จะป่วยตั้งแต่ 70 ทำไมเราไม่ป่วยเอาตอน 79 ทำให้ health span เรายาวที่สุด ก็ถึงเรียกว่าเป็น healthy longevity ซึ่งทำได้ จริง ๆ แล้วการมีสุขภาพดีหนีไม่พ้น อาหาร ออกกำลังกาย การนอน และอารมณ์จิตใจ Balance 4 ข้อนี้ได้จบแล้ว จะมีสุขภาพดีไปถึงนาทีสุดท้ายของชีวิต ซึ่งมันต้อง มันต้องมีวินัย ต้องไม่อยากป่วย ไม่ใช่ตามใจปากเราไปเรื่อย ๆ
เรื่องวิตามินซี คุณหมอทานเช้าเย็น เราควรทาน 2000 ?
คุณหมออ้อม : มันอยู่ที่ชนิดของวิตามินด้วยนะคะ จริงๆแล้วควรจะปรับแยกเพราะว่าวิตามินซีโดยทั่วไป ทานปุ๊บมันดูดซึมทันที แล้วจริงๆทานทีเดียว 2,000 มันดูดซึมได้ maximum แค่ 500 มันก็ควรจะต้องกระจายแยก คราวนี้สมัยใหม่มันจะมีวิตามินซีที่เราเรียกว่า slow release เขาจะใส่อาจจะเป็นแป้งเป็นอะไรบางอย่าง ทำให้มันไม่ดูดซึมเข้าไปเลย เพราะไม่งั้นทานปุ๊บดูดซึมเข้าเลือดภายใน 1 ชั่วโมงพุ่งปรี๊ดเลย 3-4 ชั่วโมงหายหมดแล้วเราควรจะกระจาย อย่างในงานวิจัยก็ถึงกระจายให้ทานวันละ 3 รอบ ตอนนั้นก่อนปี 2000 มันยังไม่มีชนิด slow release แต่สมัยใหม่มีชนิด slow release ขึ้นมา มันอาจจะขึ้นมาแล้วมันก็ค่อยๆ ออกมาทีละนิดๆ ตามทั่วไปเขาจะเคลมว่าอยู่ได้ 8-12 ชั่วโมง ถ้าเราทานเป็นประเภท slow release มันไม่พุ่งกระฉูด ปัสสาวะเราก็ไม่ได้เป็นกรดอะไรมากมาย มันก็ค่อยๆปลดปล่อยออกมา ทานเช้าเย็นมันก็จะ cover ให้เรามีวิตามินซี เสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงเทั้งวัน
แปลว่าคีย์เวิร์ดสำหรับวิตามินซีก็คือ slow release ?
คุณหมออ้อม : slow release แล้วก็ควรจะเป็นวันละ 2 ครั้ง
อีกอันหนึ่งที่เชื่อว่าน่าจะขาดกันเยอะมากๆ แล้วก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเป็นพิเศษตอนช่วงโควิดก็คือ วิตามิน D ทีนี้ วิตามินมันจะมี D2 ใช่ไหมคะ ต่างกันยังไง ?
คุณหมออ้อม : คือโดยธรรมชาติ สมมุติเราไปโดนแดดตากแดด แล้วเราจะมีวิตามิน D ที่ผิวหนังเราจะช่วยสร้าง มันจะสร้างเป็น D2 ซะเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็ต้องไปเปลี่ยนที่ไตให้กลายไปเป็น D3 อันนี้คือตามทฤษฎีท่องมาตั้งแต่เด็กๆละ เราไม่ควรจะขาดวิตามิน D เราแค่เดินตากแดด 15 นาทีก็ได้ แต่เพราะเรากลัวฝ้าก็เลยไม่อยากจะตากแดดจัดๆใช่ไหมคะ แต่ทุกท่านต่อให้กินวิตามิน D2 ซึ่งตามตำราไตมันควรจะเปลี่ยนเป็น D3 คือตัว active นอกจากจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงแล้ว เขาเรียกว่าไปติดอาวุธให้เม็ดเลือดขาวเพชรฆาต ช่วยให้ NK cell Natural Killer Cell ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวที่ช่วยกำจัดศัตรู ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าไวรัส ฆ่ามะเร็ง ให้เขาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมันต้องเป็น D3 อีกนั่นแหละ คนไข้ทาน D2 มา จะบอกทานตั้ง 20,000 IU อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง แต่เจาะเลือดมาดีคือดีทั้งหมดขึ้นไป 50 60 ได้ แต่ถ้าคุณได้เจาะเลือดแยกเป็น D2 กับ D3 แต่ 50 นั้นน่ะคุณเป็น D2 ซัก 45 นะคะ เหลือ D3 ไม่ถึง 10 เจอมาเยอะ ใครที่ D3 ไม่ถึง 10 หมอบอกเลย ขออนุญาตไม่ให้ออกจากโรงพยาบาลจนกว่าจะยอมฉีดเข้ากล้าม
ปัจจัยที่จะทำให้เขา convert เป็น D3 ได้คืออะไร ?
หมออ้อม : อันนี้ตอบยากนะคะ คือโดยทฤษฎีมันคือไต แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าไตเราทำงานได้ไม่ดี หรือภาวะที่ร่างกายเราเป็นกรด เพราะคนไข้ไม่ได้กินผักวันละ 60% แค่ดื่มน้ำอัดลมอย่างก็เป็นกรดกันไป 3 วัน 3 คืนแล้ว ดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง เพราะการที่เราจะดื่มน้ำได้ 32 ลิตรมันต้องมี 4 วันนะ แล้วก็ไม่ใช่น้ำ pH 10 ด้วยนะ ถ้าเป็น pH 7 ธรรมดาน้ำแร่ทั่วๆไป 7 กว่าๆหรือ 8 คุณอาจจะต้องดื่มน้ำกันทั้งอาทิตย์เพื่อจะล้างความเป็นกรดจากน้ำอัดลม 1 กระป๋อง ย้อนกลับมาดูตรงนี้ ร่างกายมนุษย์เราคือต้องเป็นด่าง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเราวัดด้วยค่า pH นะในหลอดเลือดดำแล้วเนี่ย pH คือ 7.35-7.45 ซึ่งถ้ามันเบี่ยงเบนนิดเดียว ลดลงมาเหลือ 7.3 เนี่ยเริ่มป่วยแล้วนะคะ ถ้ดลดลงไปเหลือ 7.2 คราวนี้คืออาจจะล้มแล้วล่ะ 7.1 เข้าโรงพยาบาล เหลือ 7.0 เนี่ยอาจจะอยู่ ICU คือการปรับสมดุลกรดด่าง ถ้าถามหมอนะเป็นอะไรที่มันเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพอย่างมาก ไตมีหน้าที่ขับของเสีย กรดคือของเสีย ไตมีหน้าที่ขับกรด เก็บด่างนะคะ เพราะฉะนั้นถ้าร่างกายยังมีกรดอยู่เยอะ ไตมันทำงานหนักอยู่แล้วมันก็อาจจะไม่พร้อมที่จะไปเปลี่ยน D2 ไปเป็น D3 ให้กับเรา
D3 ควรทานทุกๆท่าน ?
หมออ้อม : ทุกท่าน ตั้งแต่เด็กๆ D3 เราท่องมาตั้งแต่เด็กๆว่า ละลายในน้ำมันแล้วก็ช่วยให้กระดูกแข็งแรงใช่ไหมคะ แต่จริงๆแล้ว ตอนหลังมันมีงานวิจัยที่น่าสนใจพบว่าคนไข้มะเร็ง 100% ขาดวิตามิน D3 ก็เลยเข้ามาศึกษาต่อว่า D3 มันทำอะไร ก็อย่างที่บอกมันติดอาวุธให้ NK cell Natural Killer Cell ทำงานได้ดียิ่งขึ้น แล้วมันก็มีความน่าสนใจ เพราะเขาพบว่าทำไมคนแก่อายุเกิน 60-65 ติดโควิดแล้วอัตราการเสียชีวิตสูงมาก สูงกว่าคนหนุ่มสาวถึง 700% ถึง 7 เท่า แต่ทำไมหนุ่มสาวบางคน ติดโควิดแล้วแป๊บเดียวโคม่าเสียชีวิต เค้าก็พบว่าใครก็ตามที่ขาดวิตามิน D3 แบบรุนแรงคือต่ำกว่า 13 นะคะ 13 นาโนกรัมเปอร์ดีแอล เวลาเจาะเลือดมา ใครที่ขาดวิตามิน D3 รุนแรง ถ้าติดโควิด โอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 14 เท่า มากกว่าผู้สูงอายุ 7 เท่า
เราต้องทานพร้อมมื้ออาหารหรือเปล่า ?
คุณหมออ้อม : ทุกตัวเลยค่ะ จริงๆ อาจจะมี B กับ C ที่เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งทานตอนท้องว่างได้ แต่ทานท้องว่างถ้าเป็นซีปกตินะ ไม่ slow release จะแสบกระเพาะเพราะว่าวิตามินซีมันเป็นกรดไงคะ แล้ววิตามินบี ถ้าทานตอนท้องว่างมันคลื่นไส้ วิตามินคืออาหารนะคะ อาหารธรรมชาติเรามีวิตามินอยู่แล้วงั้นการทานวิตามินทุกตัว เกลือแร่ด้วย ควรจะทานพร้อมอาหาร เพราะฉะนั้นบางวันหมอ IF หมอก็เอาวิตามินมาทานมื้อแรก แต่จริงๆเราจะไม่เรียกว่าทานหลังอาหารเช้าแล้วค่ะ เราจะบอกคนไข้ว่าทานหลังอาหารมื้อแรกของคุณ มื้อแรกเที่ยงก็ทานตอนนั้น มื้อแรก 14:00 น. คุณก็ไปทานตอนนั้นนะคะ เพราะมันต้องมีอาหาร
สามารถติดตาม "On the way with Chom" ได้ที่ช่องทาง Podcast : Life Dot , Facebook: Life Dot , Youtube : Life Dot วันจันทร์ (สัปดาห์เว้นสัปดาห์) เวลา 18.00 น.
คลิกชมรายการย้อนหลัง : https://www.youtube.com/watch?v=ScB9c6KaC8o
014
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี