มีช่วงเวลาที่สำคัญหลายช่วงในประวัติศาสตร์ซึ่งบ่งชี้อนาคตของโลก สำหรับโปแลนด์และยุโรป หนึ่งในช่วงเวลานั้นในศตวรรษที่ 20 คือวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) ในเวลานั้น โปแลนด์ที่เพิ่งจะฟื้นตัวในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) ได้ถูกทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์และได้รับความสูญเสียอย่างมากมายจากมหาสงครามในการต่อสู้กับสงครามขั้นแตกหักและได้รับชัยชนะเหนือกองกำลังบอลเชวิค ซึ่งมุ่งจะแผ่อำนาจในการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ไปทั่วยุโรปตะวันตก
ตามคำบอกเล่าของทูตอังกฤษเอ็ดการ์ ดาเบอร์นอน มันเป็นการสู้รบอันดุเดือดครั้งที่ 18 ในประวัติศาสตร์โลก การรบที่กรุงวอร์ซอ (ยุทธการวอร์ซอ) สมควรได้รับการจัดอันดับให้เท่าเทียมกับ ดี-เดย์ ว่าเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญในการต่อสู้กับลัทธิเผด็จการในยุโรป
เนื่องจากม่านเหล็กที่แบ่งแยกยุโรปนั้นเป็นผลมาจากการประชุมยัลตา ความสำคัญของเหตุการณ์ที่เป็นกรณีเฉพาะต่อประวัติศาสตร์ของยุโรปนี้จึงไม่ได้รับการจารึกในความทรงจำของโลกว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่อย่างที่สมควรจะได้รับการจารึกไว้ นี่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมมวลชนและตำราประวัติศาสตร์ จึงถึงเวลาที่ต้องปิดช่องว่างต่างๆ เหล่านั้นในความทรงจำร่วมของชาวยุโรปในท้ายที่สุดนี้
วาระครบรอบแห่งยุทธการวอร์ซอไม่ควรจะเฉลิมฉลองกันแต่ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์เท่านั้น แต่ควรจะเฉลิมฉลองทั่วทั้งยุโรป แม้ว่าประเทศโปแลนด์เองคือผู้ชนะที่แม่น้ำวิสตุลา แต่ชัยชนะครั้งนั้นเกี่ยวกับอิสรภาพในวงกว้างของชนชาติยุโรปที่พ้นจากความมืดมนของลัทธิคอมมิวนิสต์
จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ ปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) ได้ยุติเหตุการณ์ ต่อเนื่องซึ่งเริ่มตั้งแต่การแบ่งแยกโปแลนด์โดยปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย ในปลายศตวรรษที่ 18 ยุทธการวอร์ซอเป็นหนึ่งในฉากการรบที่มีชื่อเสียงที่สุดในการสร้างชาติสมัยใหม่ของประวัติศาสตร์ยุโรปและประวัติศาสตร์โลก ชาติซึ่งปราศจากรัฐและเกิดขึ้นบนความย่อยยับของกองทัพและการพ่ายแพ้ทางการเมือง (รวมทั้งการจลาจลและการล่มสลายของตัวแทนรุ่นหลังของรัฐ) ส่งผลให้โปแลนด์ถูกลบออกจากแผนที่ยุโรป ซึ่งยืดเยื้อจากปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1
ปรากฏการณ์ครั้งแรกของชาวโปแลนด์ที่คุ้มค่าที่จะกล่าวถึงคือ ขนาดของการปฏิรูปของสังคมชาวโปแลนด์ ตลอดศตวรรษที่ 19 จากสังคมศักดินาไปสู่หนึ่งในสังคมที่ทันสมัยที่สุดของยุโรป ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วปราศจากสถาบันรัฐเครือข่ายที่ใหญ่โตกว้างขวางของสถาบันสังคม วัฒนธรรม และกีฬา เช่น สมาคมยิมนาสติก “Sokol” สหภาพการเงิน สังคมวิทยาศาสตร์ และสังคมโรงเรียนที่เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น สามารถเปรียบเทียบกับการปฏิรูปในยุคเมจิซึ่งกระทำการโดยศูนย์กลางแห่งอำนาจที่แข็งแกร่งในประเทศญี่ปุ่น
ไม่นานหลังจากได้รับอิสรภาพอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) โปแลนด์รับเอาสังคมที่ทันสมัยที่สุด และกฎหมายเลือกตั้งบางส่วนของโลกตะวันตกความรู้สึกร่วมในการได้รับอิสรภาพกลับคืนมาอยู่เหนือกว่าการลำเอียงและแรงกระตุ้นให้เกิดการแบ่งแยกสังคมในส่วนที่กว้างกว่า โปแลนด์ต้องสร้างความเป็นเอกภาพ และความกลมเกลียวกันทั้งหมดในชาติ งานในเชิงสติปัญญาที่ได้รับการยอมรับในปลายศตวรรษที่ 19 พบว่ามีการสืบทอดความพยายามสร้างรัฐทันทีที่ได้รับสถาบันประชาชนคืนมาหลังจากปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461)
ดังนั้น ปรากฏการณ์ของโปแลนด์จึงเป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แตกต่างจากทางยุโรปตะวันตก นี่เป็นเรื่องของการสร้างประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นควบคู่กับกระบวนการของการได้รับอิสรภาพ และความยิ่งใหญ่คืนในฐานะเป็นองค์กรทางสังคมและการเมืองที่แท้จริง
เรื่องนี้เป็นเรื่องของความสมัยใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และอำนาจเผด็จการ ซึ่งครอบงำยุโรปในศตวรรษที่ 19 เป็นเรื่องที่พบว่าจุดสำคัญในการเรียกร้องให้มีการทดสอบความพร้อมของรัฐ-ไม่ถึงสองปีหลังจากประเทศได้รับอิสรภาพคืน-โปแลนด์ต้องเผชิญกับการคุกคามของระบอบเผด็จการจากพวกบอลเชวิค
สงครามกับพวกบอลเชวิคเป็นการแสดงให้เห็นความเป็นเอกภาพทางการเมืองที่ไม่ธรรมดาของชนชาติโปแลนด์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) รัฐบาลแห่งการป้องกันชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยมี วินเซนตี วิโตส ผู้นำขบวนการชาวนา เป็นนายกรัฐมนตรี และ อิกเนซี เดซซินสกี หนึ่งในบรรดาผู้นำฝ่ายซ้ายของโปแลนด์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากความต้องการที่มีอยู่ล้นหลามเพื่อปกป้องมาตุภูมิซึ่งเพิ่งได้คืนมาใหม่ ความเห็นต่างทางการเมืองระหว่างบิดาแห่งอิสรภาพของชาวโปแลนด์ได้ลดน้อยถอยลงไป ชนชั้นหัวกะทิของโปแลนด์ได้ผ่านการทดสอบความพร้อมในช่วงที่วิกฤติที่สุด ชาวโปแลนด์สนับสนุนการทำสงครามอย่างเนืองแน่นด้วยความร่วมมือของคริสต์จักรนิกายคาทอลิกอย่างมากมายมหาศาล หนังสือพิมพ์เรียกชัยชนะของชาวโปลว่า “ปาฏิหาริย์เหนือวิสตุลา” อันเป็นการอ้างอิงให้เห็นชัดเจนถึง “ปาฏิหาริย์แห่งมาร์น” ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อกองกำลังฝรั่งเศส-อังกฤษสยบกองทัพเยอรมันได้
การครบรอบหนึ่งศตวรรษของการรบที่กรุงวอร์ซอเป็นหนึ่งในวาระครบรอบที่สำคัญที่สุดของการปลดปล่อยยุโรปในปัจจุบัน ชาวโปลช่วยชาวตะวันตกจากการที่ต้องประสบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของระบอบเผด็จการ ดังที่บรรยายไว้โดยนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้โดดเด่นในหนังสืออันเลื่องชื่อ บันทึกลับของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Black Book of Communism) ประสบการของชาวโปแลนด์จากลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าและผลที่ตามมาในระยะยาวต่อประเทศและพลเมืองมักจะถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง
ตำนานของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นปัญหาอย่างแท้จริง และเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำลายความเป็นจริงทางสังคมและสถาบันของประเทศต่างๆที่กำลังปฏิรูประบอบประชาธิปไตย วลาดิสลอว์ เรย์มอนท์ นักเขียนนวนิยายผู้ยิ่งใหญ่ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ได้เขียนไว้ในหนังสือ เดอะรีโวลท์ (ภาษาโปแลนด์ : Bunt) ซึ่งเขาเขียนหลังจากเรื่องการรบที่กรุงวอร์ซอ โดยเขาแสดงการเปรียบเปรยเกี่ยวกับการก่อกบฏซึ่งกระทำโดยสัตว์ต่างๆ เพื่อต่อต้านมนุษย์ พร้อมแสดงให้เห็นกลไกของลัทธิคอมมิวนิสต์คู่ขนานไปกับเรื่องนี้
ยุทธการวอร์ซอเป็นสุดยอดการปฏิวัติประชาธิปไตยในระดับรากหญ้าของโปแลนด์ที่ยาวนานกว่าห้าทศวรรษ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกและไม่ได้เขียนไว้ในประวัติศาสตร์ของยุโรปในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
มันคือเรื่องราวของความรักชาติที่ยิ่งใหญ่ การอุทิศตนให้ศาสนา อัจฉริยะทางการทหาร และความสำคัญของรหัสลับ
สงครามระหว่างโปแลนด์กับพวกบอลเชวิคเป็นช่วงเวลาแห่งการวางรากฐานสำหรับโปแลนด์สมัยใหม่และช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับทั่วทั้งยุโรป ถึงแม้จะมีความตระหนักในเรื่องนี้อาจไม่เพียงพอก็ตาม มันเป็นจุดปะทะของสองอารยธรรมที่ต่างขั้ว และไม่มีใครรู้ดีไปกว่า คาโรล วอยทีลา เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) ซึ่งต่อมาได้เป็น จอห์น พอล ที่ 2 : “ตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าเกิดมา ข้าพเจ้าเป็นหนี้อย่างท่วมท้นต่อผู้ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผู้บุกรุกและมีชัยชนะ ซึ่งเป็นราคาที่แพงสุด” หน้าที่ที่จะต้องจ่ายคืนหนี้ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน วันนี้ครบ 100 ปี หลังยุทธการวอร์ซอที่ประสบชัยชนะ เป็นโอกาสที่เหมาะสมที่สุดที่จะเตือนตัวเราเองและทั้งยุโรปเกี่ยวกับเรื่องนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี