ภายหลังการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ในช่วง ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา สื่อมวลชนทั้งในจีนและต่างประเทศได้กล่าวถึงคำว่า GDI (Global Development Initiative) หรือแผนริเริ่มการพัฒนาโลก ซึ่งบางท่านก็สันนิษฐานว่าจะเป็นนโยบายที่มาแทนที่ BRI (Belt and Road Initiative)
GDI เริ่มเป็นที่รู้จักในประชาคมโลกครั้งแรกเมื่อสี จิ้นผิง เสนอแผน GDI ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 76 ในช่วงกันยายน 2564 ที่ผ่านมา โดยจีนมีข้อเสนอเรื่อง การทำงานร่วมกันระหว่างโครงการ GDI และกลุ่มต่างๆ ในการแก้วิกฤตของโลก เช่น การรับมือกับวิกฤตด้านอาหาร พลังงาน การพัฒนาที่ยั่งยืน กลไกการทำงานเป็นการร่วมกันเชื่อมโยง GDI กับการพัฒนาที่แต่ละประเทศต้องการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ร่วมกัน ในครั้งนั้นสีจิ้นกล่าวว่า “เราต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจและไม่ละละที่จะพัฒนาประชมคมโลกที่แข็งแกร่ง , เขียวชอุ่ม และสมดุลยิ่งๆขึ้นไป”
ต่อจากนั้น GDI ก็ได้รับการเน้นย้ำในช่วงที่ท่านหวังอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียน 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนั้นนักวิชาการหลายท่านสันนิษฐานว่าเป็นการโยนหินถามทาง บ้างก็ว่าเป็นการนำเสนอภาพที่ยังไม่ชัดเจนของจีน แต่กระนั้นนโยบาย GDI ก็ได้รับการตอบรับจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
จนเมื่อการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ที่ผ่านมา ภาพของGDIเริ่มมีความชัดเจนขึ้นว่าเป็นนโยบายที่จะมีการผลักดันให้เป็นจริงในอนาคต
หากจะกล่าวว่า BRI มีขึ้นมาเพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายทางเศรษฐกิจการค้า GDIก็มีขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญา จึงน่าจะเรียกได้ว่าGDIมีขึ้นมาเพื่อสร้างความสมดุลให้BRIมีความครบเครื่องมากยิ่งขึ้น
หากBRIเป็นหยาง มีความเป็นศาสตร์ เน้นสิ่งที่จับต้องมองเห็นได้ เน้นตัวชี้วัดที่ชัดเจน มีความเข้มแข็งในการสื่อสารออกสู่โลกภายนอก GDI ก็คืออิน(หรือที่คนไทยรู้จักว่าหยิน) มีความเป็นศิลป์ เน้นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ มีความรู้สึกถึงการเดินไปด้วยกันเพื่อโลกที่ยั่งยืน
จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้นั้น GDI กับ BRI จะเติมเต็มซึ่งกันและกันได้มากน้อยเพียงไร ด้วยคำพูดทิ้งท้ายของจีนที่ว่า “จะไม่มีประเทศใดหรือผู้ใดถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลัง” นั้นเป็นการบันลือสีหนาทที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง.-008
เรียบเรียงโดย : อาจารย์เอกรัตน์ จันทร์รัฐิติกาล ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล(ฝ่ายไทย)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี