เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 สำนักข่าว The Irrawaddy ของเมียนมา เสมอข่าว Thailand Can Take Lead on Restoring Stability in Myanmar: Election-Winning MFP อ้างการให้สัมภาษณ์ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (Pita Limjaroenrat) หัวหน้าพรรคก้าวไกล กับสื่อท้องถิ่นของไทย ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีความสามารถและโอกาสที่จะทำให้เสถียรภาพในเมียนมาเกิดขึ้น ผ่านการสามารถแนะนำผู้นำของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้ร่วมมือกันช่วยเหลือเมียนมาได้ ซึ่งพรรคก้าวไกลเพิ่งชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งเล่าสุดในประเทศไทย
หัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของไทย ชี้ว่า เมียนมาเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางอาวุธมาตั้งแต่ปี 2564 เนื่องจากรัฐบาลทหารดำเนินการปราบปรามอย่างโหดร้ายต่อการที่ชาวเมียนมาลุกขึ้นต่อสู้เพื่อต่อต้านการปกครองของทหาร จีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา ขณะที่ไทยมีพรมแดนร่วมกับเพื่อนบ้านซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญยาวกว่า 2,400 กิโลเมตร ส่วนการพูดคุยของตนกับ 2 ประเทศมหาอำนาจ คือสหรัฐอเมิรกาและจีน แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 ชาติต้องการให้เสถียรภาพในพม่ากลับคืนมา
ความใกล้ชิดของไทยกับเมียนมายังทำให้ได้เปรียบที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ไทยสามารถเชิญผู้นำอาเซียนเพื่อหารือโต๊ะกลมเกี่ยวกับเมียนมาที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ซึ่ง พิธา ย้ำว่า ไทยกับเมียนมาเป็นเพื่อนบ้านกัน หากเพื่อนบ้านมีปัญหาเราก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา รวมถึงการสู้รบระหว่างกองทหารของรัฐบาลทหารและกองกำลังติดอาวุธของฝ่ายต่อต้านที่บริเวณชายแดน ตลอดจนการหยุดชะงักของการค้าชายแดน
พิธา ยังกล่าวด้วยว่า แม้จะเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายแต่ต้องดูแลพวกเขาในฐานะที่เป็นมนุษย์และไทยกำลังแบ่งปันพรมแดน ซึ่งที่ผ่านมา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของไทยที่มีต่อเมียนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลทหารเมียนมาได้โจมตีเป้าหมายทั้งกองกำลังต่อต้านและพลเรือน ด้วยการวางระเบิดหมู่บ้าน โรงเรียน และคลินิก
ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566 หรือ 1 วันหลังการเลือกตั้งใหญ่ของไทย พิธา ระบุว่า ต้องการผลักดันไปข้างหน้าเพื่อให้แน่ใจว่าบรรลุฉันทามติ 5 ประการอย่างแท้จริง ซึ่งฉันทามติดังกล่าวเป็นแผนสันติภาพสำหรับเมียนมาที่อาเซียนนำมาใช้หลังจากเกิดรัฐประหารในปี 2564 และการปราบปรามอย่างนองเลือด แต่รัฐบาลทหารเพิกเฉยต่อแผนดังกล่าวและยังคงสังหารพลเรือนต่อไป
“รัฐบาลไทยที่นำโดยพรรคก้าวไกล จะฟื้นฟูบทบาทผู้นำของไทยในอาเซียนและทำงานเพื่อระงับความรุนแรงในเมียนมา เราจะเริ่มต้นการเดินทางเพื่อมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกฎหมายเมียนมาที่ผ่านโดยรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่าเราสามารถเริ่มงานดังกล่าวร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่ามีแรงกดดันและแรงจูงใจในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้คนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของพวกเขา” พิธา กล่าว
สื่อเมียนมา รายงานต่อไปว่า กฎหมายของสหรัฐฯ ว่าด้วยเมียนมา อนุญาตให้สหรัฐฯ ระดมทุนสนับสนุนอย่างไม่รุนแรง (non-lethal) กับกองกำลังต่อต้านในเมียนมาได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่คำประกาศนโยบายของหัวหน้าพรรคก้าวไกลเกี่ยวกับเมียนมา กลายเป็นการส่งสัญญาณเตือนกับรัฐบาลทหารเมียนมา อาทิ Soe Win รองนายพลอาวุโสลำดับที่ 2 ของรัฐบาล ได้ออกคำสั่งไปยังผู้บัญชาการระดับภูมิภาคของเขาให้เฝ้าระวังชายแดน โดยกล่าวว่า “พรรคก้าวไกลสนับสนุนตะวันตกและพวกเขาจะช่วยเหลือผู้ก่อการร้ายชายแดน จึงต้องเฝ้าระวังชายแดนและรับข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขา การเคลื่อนไหวและกิจกรรมของพวกเขา
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี