30 มิ.ย. 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ เสนอข่าว Exclusive: WHO's cancer research agency to say aspartame sweetener a possible carcinogen –sources ระบุว่า แอสปาร์เทม (Aspartame) ซึ่งถูกใช้เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลในน้ำอัดลม กำลังจะถูกขึ้นคำเตือนว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ซึ่งทำงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ภายในเดือน ก.ค. 2566
การพิจารณาของ IARC ซึ่งสรุปเมื่อต้นเดือน มิ.ย. 2566 หลังจากการประชุมของผู้เชี่ยวชาญภายนอกของกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่ามีบางสิ่งที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เผยแพร่ทั้งหมด ทั้งนี้ โดยไม่คำนึงถึงปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่บุคคลสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากคำแนะนำสำหรับแต่ละบุคคลนี้มาจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุเจือปนอาหารของ WHO ที่แยกออกมาต่างหาก หรือรู้จักกันในชื่อ JECFA (คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมของ WHO กับองค์การอาหารและเกษตรว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร หรือ FAO) ควบคู่ไปกับการพิจารณาจากหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศ
อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของ IARC ที่คล้ายคลึงกันในอดีตสำหรับสารต่างๆ ได้สร้างความกังวลในหมู่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้สารดังกล่าว นำไปสู่การฟ้องร้อง และกดดันให้ผู้ผลิตคิดค้นสูตรอาหารใหม่และเปลี่ยนไปใช้สารอื่นแทน นั่นนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ว่าการประเมินของ IARC อาจทำให้ประชาชนสับสนได้ ขณะที่ JECFA ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านสารเติมแต่งของ WHO ก็กำลังทบทวนการใช้แอสปาร์เทมในปีนี้เช่นกัน การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือน มิ.ย. 2566 และมีกำหนดจะประกาศผลการค้นพบในวันเดียวกับที่ IARC เปิดเผยการตัดสินใจต่อสาธารณชนในวันที่ 14 ก.ค. 2566
ย้อนไปในปี 2524 JECFA ได้กล่าวว่าแอสปาร์แตมปลอดภัยที่จะบริโภคภายในขีดจำกัดรายวันที่ยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 60 กก. (132 ปอนด์) จะต้องดื่ม Diet Soda (น้ำอัดลมแบบใช้สารอื่นให้ความหวานแทนน้ำตาล) ระหว่าง 12 ถึง 36 กระป๋อง ขึ้นอยู่กับปริมาณแอสปาร์เทมในเครื่องดื่ม และต้องดื่มทุกวันจึงจะมีความเสี่ยง มุมมองนี้ได้รับการแบ่งปันอย่างกว้างขวางโดยหน่วยงานกำกับดูแลระดับประเทศ รวมถึงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
โฆษกของ IARC กล่าวว่า การค้นพบของทั้งคณะกรรมการ IARC และ JECFA นั้นยังจะไม่ถูกเปิดเผยจนถึงเดือน ก.ค. 2566 แต่พวกเขาเสริมโดยข้อสรุปของ IARC แสดงถึงขั้นตอนพื้นฐานแรกในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อมะเร็ง คณะกรรมการสารเติมแต่งดำเนินการประเมินความเสี่ยง ซึ่งกำหนดความน่าจะเป็นของอันตรายเฉพาะประเภท (เช่น มะเร็ง) ที่จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและระดับของการสัมผัส อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมและหน่วยงานกำกับดูแลกลัวว่าการถือกระบวนการทั้งสองในเวลาเดียวกันอาจทำให้เกิดความสับสน ตามรายงานจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
โนโซมิ โทมิตะ (Nozomi Tomita) เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง ซุซซานนา จาคับ (Zsuzsanna Jakab) รองผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 เรียกร้องให้หน่วยงานทั้งสองประสานความพยายามในการตรวจสอบสารให้ความหวานเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนหรือความกังวลใดๆ ในหมู่สาธารณชน และให้มีการเปิดเผยข้อสรุปของทั้งสองร่างในวันเดียวกับที่กำลังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว
คำตัดสินของ IARC สามารถมีผลกระทบอย่างมาก ในปี 2558 คณะกรรมการสรุปว่าสารกำจัดศัตรูพืชอย่างไกลโฟเซต (Glyphosate) เป็นสารก่อมะเร็ง หลายปีต่อมา แม้ว่าหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์การความปลอดภัยอาหารแห่งยุโรป (EFSA) จะโต้แย้งเรื่องนี้ แต่บริษัทต่างๆ ก็ยังรู้สึกถึงผลกระทบของการตัดสินใจดังกล่าว อาทิ ไบเออร์ของเยอรมนี ในปี 2564 ได้แพ้การอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ต่อศาลสหรัฐฯ กรณีผู้บริโภคที่กล่าวโทษว่าเหตุที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเพราะใช้สารกำจัดวัชพืชที่มีส่วนผสมของไกลโฟเซต
การตัดสินใจของ IARC ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าก่อให้เกิดการเตือนโดยไม่จำเป็นเกี่ยวกับสารหรือสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก มีการจำแนกสี่ระดับที่แตกต่างกัน คือ เป็นสาเหตุของมะเร็ง , อาจเป็นสาเหตุของมะเร็ง (Probably) , มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นสาเหตุของมะเร็ง (Possibly) และไม่สามารถจำแนกประเภทได้ ระดับต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของหลักฐาน มากกว่าความเป็นอันตรายของสาร กลุ่มแรกที่ IARC ระบุ ประกอบด้วยสารจากเนื้อสัตว์แปรรูปไปจนถึงแร่ใยหิน ซึ่งล้วนมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
การทำงานข้ามคืน (Working Overnight : หามรุ่งหามค่ำ-พักผ่อนน้อย) และบริโภคเนื้อแดงจัดอยู่ในประเภทอาจเป็นเป็นสาเหตุของมะเร็ง ซึ่งหมายความว่ามีหลักฐานจำกัดว่าสารหรือสถานการณ์เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และมีหลักฐานที่ดีกว่าที่แสดงว่าก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ หรือหลักฐานที่ชัดเจนซึ่งแสดงว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับสารอื่นๆ ที่ก่อมะเร็งในมนุษย์
ขณะที่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุที่เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนั้น อยู่ในกลุ่ม มีความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นสาเหตุของมะเร็ง เช่นเดียวกับแอสปาร์เทม หมายความว่ามีหลักฐานจำกัดว่าสามารถก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ มีหลักฐานเพียงพอในสัตว์ หรือหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะ ส่วนกลุ่มไม่สามารถจำแนกประเภทได้ หมายถึงยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ
ฟรานเซส ฮันท์-วูด (Frances Hunt-Wood) เลขาธิการสมาคมสารให้ความหวานระหว่างประเทศ (ISA) กล่าวว่า IARC ไม่ใช่หน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหาร และการตรวจสอบแอสปาร์แตมของพวกเขาก็ไม่ครอบคลุมในทางวิทยาศาสตร์ และอิงจากงานวิจัยที่น่าอดสูอย่างกว้างขวาง องค์กรจึงมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการตรวจสอบของ IARC ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เช่นเดียวกับ เคท โลทแมน (Kate Loatman) ผู้อำนวยการบริหารของสภาระหว่างประเทศของสมาคมเครื่องดื่ม (ICBA) ให้ความเห็นว่า หน่วยงานด้านสาธารณสุขควรกังวลอย่างยิ่งกับความคิดเห็นที่รั่วไหล และยังเตือนด้วยว่า อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดโดยไม่จำเป็นให้บริโภคน้ำตาลมากขึ้น
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า แอสปาร์เทมได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางเป็นเวลาหลายปี ในปี 2565 การศึกษาเชิงสังเกตในฝรั่งเศสในกลุ่มผู้ใหญ่ 100,000 คนแสดงให้เห็นว่าผู้ที่บริโภคสารให้ความหวานเทียมในปริมาณมาก รวมถึงแอสปาร์เทม มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การศึกษาของสถาบันรามาซซินีในอิตาลีในช่วงต้นทศวรรษ 2000 (ปี 2543-2552) ซึ่งรายงานว่ามะเร็งบางชนิดในหนูและหนูแรทมีความเชื่อมโยงกับสารให้ความหวาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งแรกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสารให้ความหวานก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งเพิ่มขึ้น และมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับระเบียบวิธีของการศึกษาครั้งที่สอง รวมทั้งโดย EFSA ซึ่งเป็นผู้ประเมิน
แอสปาร์เทมได้รับอนุญาตให้ใช้ทั่วโลกโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่ได้ตรวจสอบหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด และผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ได้ปกป้องการใช้ส่วนผสมของพวกเขามานานหลายทศวรรษ ขณะที่ IARC กล่าวว่า ได้ประเมินการศึกษา 1,300 ชิ้นในการทบทวนเดือน มิ.ย. 2566 แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับ IARC กล่าวว่า การระบุแอสปาร์เทมเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นไปได้นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ผู้บริโภค และผู้ผลิตได้ข้อสรุปที่กระชับขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มที่จะจุดชนวนการถ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี