วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 Novye Izvestia นสพ.ท้องภิ่นในกรุงมอสโกของรัสเซีย เสนอข่าว Tropical diseases are wiping out our tourists in Asia. What you need to know about Dengue Fever ระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงอย่างผิดปกติ โดยกระทรวงสาธารณสุขของไทยเปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-21 มิ.ย. 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด 24,090 คน เสียชีวิต 20 ราย
อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกสูงผิดปกติตั้งแต่ต้นปี และตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สถิติก็พุ่งสูงขึ้นไปอีก เนื่องจากจุดสูงสุดของการแพร่ระบาดของโรคจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ไข้เลือดออกแพร่กระจายโดยยุงที่แพร่พันธุ์อย่างแข็งขันใน น้ำ การเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 คือร้อยละ 500 มีรายงานว่านักท่องเที่ยวมากกว่า 7,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียต้องเข้าโรงพยาบาล ไวรัสที่อันตรายอีกชนิดหนึ่งคือชิคุนกุนยา ในเดือนมิถุนายนเพียงเดือนเดียว มีคนล้มป่วยราว 500 คน ซึ่งมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 2.5 เท่า
สำหรับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย โรคเหล่านี้มักถูกเปรียบเทียบกับโรคซาร์สและไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล พวกเขากล่าวว่ามีการระบาดทุกปีและทุกคนป่วยทุกปี แต่ก็ยังมีความแตกต่าง โรคในพื้นที่เขตร้อนอาจรุนแรงกว่าในพื้นที่ทางตอนเหนือมาก โดยชาวรัสเซียคนหนึ่งที่พักอาศัยในไทยมานาน เล่าว่า ตนเคยเป็นไข้เลือดออก อาการรุนแรงในระดับที่ต้องคลานไปที่ห้องน้ำเป็นเวลา 3 วัน แต่หลังจากนั้นอาการก็ดีขึ้นและหายป่วย ซึ่งอาจเป็นเพราะตนมีร่างกายแข็งแรง ในขณะที่เพื่อนของคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ ในช่วงที่ป่วยผิวของพวกเขาเหมือนกระดาษในสำนักงาน คือขาวซีดจากความเหนื่อยล้า
มารินา เชอร์เรตนิโควา (Marina Cherednikova) อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ กล่าวว่า ชิคุนกุนยา (Chikungunya-ไข้ปวดข้อยุงลาย) และเดงกี่ (Dengue-ไข้เลือดออก) เป็นโรคที่มีลักษณะและอาการคล้ายคลึงกันมาก และคล้ายกับโรคซาร์ส ผู้ป่วยจะมีอาการอุณหภูมิสูงขึ้น ปวดข้อ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อ่อนแรง โดยโรคทั้ง 2 เกิดจากไวรัสที่ติดต่อจากการกัดของยุงที่มีเชื้อต่างชนิดกันซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศที่มีภูมิอากาศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
“จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคทั้ง 2 เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ของเอเชีย แอฟริกา หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้ แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีการตรวจพบกรณีแยกในประเทศยุโรป ระยะฟักตัวสามารถอยู่ได้นานถึง 12 วัน ดังนั้นโรคมักไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและตรงเวลาเสมอไป ในขณะเดียวกันอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหัวใจ” เชอร์เรตนิโควา กล่าว
แพทย์ในประเทศไทยระบุว่าโรคนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งของไข้เลือดออกคือรูปแบบเลือดออก อีกทั้งระดับความรุนแรงของผลกระทบต่อร่างกายยังมีความเกี่ยวข้องกับไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ เชอร์เรตนิโควา ยังกล่าวด้วยว่า ไม่มีวัคซีนใช้เป็นการเฉพาะกับชิคุนกุนยา มีแต่วัคซีนสำหรับไข้เลือดออก (เดงกี่) เท่านั้น อย่างไรก็ตาม วัคซีนไข้เลือดออกไม่มีในรัสเซีย ส่วนที่ประเทศไทยมีไว้จำหน่ายสำหรับผู้ที่ต้องการฉีด ซึ่งวัคซีนไข้เลือดออกให้ผลแบบเดียวกับวัคซีนโควิด-19 คือฉีดเพื่อช่วยลดโอกาสมีอาการป่วยรุนแรงหากติดเชื้อ
ทั้งนี้ หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีไข้โดยกะทันหัน แพทย์มักจะสั่งการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดรวมถึงข้อต่อ ด้วยการจ่ายยาพาราเซตามอล, นาพรอกเซน ไม่มียาต้านไวรัสชนิดพิเศษในการรักษา อย่าลืมสั่งเครื่องดื่มในปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีไข้ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ความผิดปกติของลำไส้หรือท้องร่วงไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของโรคเหล่านี้ ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าที่จะปรึกษาแพทย์ อย่ารักษาเเอง เป็นไปได้ว่ามีการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นที่มีอาการคล้ายกัน และอาจต้องรักษาด้วยวิธีอื่น
ส่วนวิธีหลักในการป้องกันการติดเชื้อคือสารขับไล่ยุง ในช่วงฤดู ขอแนะนำให้ใช้ขี้ผึ้งและสเปรย์ฉีดกันยุง ปิดผิวหนังไม่ให้ถูกสัตว์กัด ซื้อกับดักแมลง มุ้งกันยุง ฯลฯ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นจะแยกดูแลสถานที่ที่น่าสงสัยเป็นพิเศษ และแนะนำไม่ให้เก็บภาชนะบรรจุน้ำไว้ในที่ บริเวณใกล้เคียง เพราะยุงจะแพร่พันธุ์ในน้ำนิ่ง ดังนั้น ขอแนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีภาชนะบนระเบียงหรือในสวนที่สามารถรับน้ำฝนได้
สำหรับชาวรัสเซียที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศไทย ขอให้ตรวจสอบการทำประกันภัยด้วยว่าครอบคลุมการรักษาโรคไข้เลือดออกหรือไม่ นักท่องเที่ยวที่เคยมีประสบการณ์ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในคลินิกอยู่ที่ประมาณ 2.4 แสนรูเบิล หรือประมาณ 1 แสนบาท ทั้งนี้ ดมิทรี กอร์เยฟ (Dmitry Goryaev) ผู้อำนวยการประจำดินแดนครัสโนยาสค์ กรมคุ้มครองผู้บริโภคและคุณภาพชีวิต (Rospotrebnadzor) ของรัสเซีย เปิดเผยว่า มีกรณีชาวรัสเซียตรวจพบว่าติดเชื้อไข้เลือดออกเมื่อเดินทางกลับมาถึงรัสเซีย โดยผู้ติดเชื้อมีประวัติเพิ่งเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศไทย
“นักท่องเที่ยว 3 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกเมื่อกลับบ้าน ยิ่งกว่านั้น ในบรรดาคนป่วยยังมีเด็กที่อายุครบหนึ่งขวบด้วย รวมตั้งแต่ต้นปี มี 5 กรณีนำเข้าไข้เลือดออกได้รับการลงทะเบียนในดินแดนครัสโนยาสค์ ผู้ป่วยทั้งหมดกลับมาจากประเทศไทย นักท่องเที่ยวป่วยเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่าย ตัวอย่างเช่น การใช้ยากันยุงซึ่งจะช่วยป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด” กอร์เยฟ กล่าว
-
ขอบคุณเรื่องจาก
https://en.newizv.ru/news/2023-06-30/tropical-diseases-are-wiping-out-our-tourists-in-asia-what-you-need-to-know-about-dengue-fever-412048
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
https://www.naewna.com/local/736381 หนักสุดรอบ3ปี สธ.เตือน‘ไข้เลือดออก’ ปีนี้ป่วยแล้ว1.8หมื่น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี