วันที่ 7 ธันวาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ เสนอข่าว Italy tells China it is leaving Belt and Road Initiative ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่อิตาลีอาจยุติความร่วมมือในยุทธศาสตร์ “1 แถบ 1 เส้นทาง (Belt and Road Initiative - BRI)” กับจีน แม้จะกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ชาติ รวมถึงกระทบต่อเศรษฐกิจของอิตาลีเองก็ตาม โดยย้อนไปในปี 2562 อิตาลีเป็นประเทศแรกในโลกตะวันตกที่เข้าร่วมยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนขนาดใหญ่ดังกล่าว โดยไม่สนใจคำเตือนของ สหรัฐอเมริกา ว่าอาจทำให้จีนได้เข้าครอบครองโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและเทคโนโลยีที่มีความอ่อนไหว
รอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวของรัฐบาลอิตาลี ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของ จอร์จิอา เมโลนี (Giorgia Meloni) นายกรัฐมนตรีหญิงของอิตาลี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2565 ที่เคยกล่าวว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่ผลักดันโดย สีจิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีของจีน ไม่ได้นำผลประโยชน์ใดๆ มาสู่อิตาลีเลย ซึ่งข้อตกลงเดิมระหว่างจีนกับอิตาลีที่เริ่มต้นในปี 2562 จะสิ้นสุดลงในปี 2567 และแหล่งข่าวจากอิตาลีได้แจ้งว่า มีการส่งหนังสือแจ้งให้ทางการจีนทราบว่าอิตาลีจะไม่ต่อสัญญาออกไปอีก แต่เบื้องต้นยังไม่มีความเห็นจากฝ่ายจีน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในรัฐบาลอิตาลี ยืนยันว่า อิตาลียังคงต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับจีนต่อไป แม้จะไม่อยู่ในยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง แล้วก็ตาม นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม G7 ก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าอิตาลีเสียอีก ทั้งที่ไม่เคยเข้าร่วมยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยในปี 2567 อิตาลีจะเข้ารับตำแหน่งประเทศกลุ่ม G7 ซึ่งหมายถึงประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก คือ สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่นและแคนาดา
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า มากกว่า 100 ประเทศได้ลงนามข้อตกลงกับจีนเพื่อร่วมมือในโครงสร้างพื้นฐานในยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 นับตั้งแต่เปิดตัวโครงการในปี 2556 ขณะที่ในปี 2562 จูเซปเป คอนเต (Giuseppe Conte) นายกฯ ของอิตาลีในขณะนั้นได้ลงนามเข้าร่วมกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยหวังว่าอิตาลีจะได้รับผลตอบแทนมหาศาล แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่า บรรดาบริษัทสัญชาติจีนดูเหมือนจะ ผู้รับผลประโยชน์หลักเสียมากกว่า
มูลค่าการส่งออกของอิตาลีไปยังจีนมีมูลค่ารวม 1.64 หมื่นยูโร (1.77 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่ 2565 จาก 1.3 หมื่นล้านยูโรในปี 2562 ในทางตรงกันข้าม การส่งออกของจีนไปยังอิตาลีเพิ่มขึ้นเป็น 5.75 หมื่นล้านยูโร จาก 3.17 หมื่นล้านในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่คู่ค้าหลักของอิตาลีในยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ส่งออกไปยังจีนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 2565 แม้ว่าจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ BRI ซึ่งเป็นการฟื้นฟูเส้นทางสายไหมยุคโบราณที่เชื่อมโยงจีนกับโลกตะวันตก
เพื่อรักษาความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ อันโตนิโอ ทาจานี (Antonio Tajani) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิตาลี ได้เดินทางไปเยือนจีนเมื่อเดือน ก.ย. 2566 ขณะที่ ประธานาธิบดีอิตาลี เซอร์จิโอ มัตตาเรลลา (Sergio Mattarella) มีกำหนดการเยือนจีนในปี 2567 ด้านนายกฯ เมโลนี เองก็เคยกล่าวว่าตนอยากไปเยือนจีนเช่นกัน แต่ยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน
แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของ BRI แต่รัฐบาลอิตาลีก็ได้ส่งสัญญาณถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว โดยการยับยั้งข้อเสนอการเข้าซื้อกิจการบางส่วน หรือจำกัดอิทธิพลของบริษัทสัญชาติจีนเหนือบริษัทสัญชาติอิตาลี อาทิ ในเดือน มิ.ย. 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ของอิตาลี มีมติจำกัดอิทธิพลของผู้ถือหุ้นชาวจีน ซิโนเคม (Sinochem) ที่มีต่อ พิเรลลี (Pirelli) แบรนด์ยางรถยนต์ชื่อดังแดนมะกะโรนี โดยใช้กฎ “พลังทอง (Golden Power)” ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องทรัพย์สินเชิงยุทธศาสตร์
ทั้งนี้ นายกฯ เมโลนี เป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลสายอนุรักษ์นิยม มีความกระตือรือร้นที่จะปกปิดข้อมูลประจำตัวของเธอในฐานะผู้นำที่สนับสนุนนาโต อีกทั้งแหล่งข่าวของรัฐบาลกล่าวว่า เธอได้ให้คำมั่นกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน (Joe Biden) ของสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2566 ว่าอิตาลีจะออกจากยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง
-
ขอบคุณเรื่องจาก
https://www.reuters.com/world/china/italy-tells-china-it-is-leaving-belt-road-initiative-sources-2023-12-06/
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี