13 พ.ค. 2567 สถานีโทรทัศน์ SAMAA TV ของปากีสถาน รายงานข่าว Nepal restricts number of permits available for Everest climbing ระบุว่า เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ศาลฎีกาของเนปาล เผยแพร่คำสั่งให้รัฐบาลเนเปาล จำกัดการออกใบอนุญาตการปีนเขา ซึ่งรวมถึงยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกอย่างเอเวอเรสต์ด้วย โดยศาลนั้นได้วินิจฉัยเรื่องนี้ตั้งแต่ปลายเดือน เม.ย. 2567 แต่เพิ่งจะเผยแพร่คำสั่งอย่างเป็นทางการ
ประเทศเนปาลนั้นตั้งอยู่ใกล้เทือกเขาหิมาลัย และยอดเขาที่สูงที่สุด 8 ใน 10 ของโลกตั้งอยู่ที่นี่ จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายร้อยคนในแต่ละฤดูใบไม้ผลิของทุกปี เมื่ออากาศดีและลมมักจะสงบ ขณะที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ความสูง 8,849 เมตร (29,032 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล บรรดานักปีนเขาพร้อมที่จ่ายเงิน 11,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 4 แสนบาท เพื่อเป้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีนเขา
ดีปัก บิกรัม มิชรา (Deepak Bikram Mishra) ทนายความที่ทำคดีนี้ ให้ความเห็นว่า คำสั่งศาลนั้นดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อข้อกังวลของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและภูเขาของประเทศ นำมาสู่มาตรการจำกัดจำนวนนักปีนเขา และยังกำหนดมาตรการในการจัดการขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมของภูเขาด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเราสร้างแรงกดดันให้ภูเขามากเกินไป ถึงเวลาต้องผ่อนปรนให้ภูเขาได้พักบ้าง
อย่างไรก็ตาม คำสั่งศาลไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะจำกัดจำนวนใบอนุญาตปีนเขาไว้ที่ที่เท่าใด และไม่ได้เผยแพร่คำตัดสินฉบับเต็มออกสู่สาธารณะ โดยในปี 2566 มีการออกใบอนุญาต 478 รายการสำหรับยอดเขาเอเวอเรสต์ ส่วนในปี 2567 ล่าสุดมีรายงานว่า เนปาลได้อนุญาตให้นักปีนเขา 945 คนขึ้นไปบนภูเขา ในจำนวนนี้รวมถึง 403 คนสำหรับยอดเขาเอเวอร์เรสต์
ขณะที่เมื่อย้อนกลับไปในปี 2562 ทีมต่างๆ ถูกบังคับให้รอเป็นเวลาหลายชั่วโมงในช่วงจุดสูงสุดท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เนื่องจากการสัญจรที่ติดขัดอย่างรุนแรงบนเอเวอเรสต์ ส่งผลให้เสี่ยงต่อระดับออกซิเจนต่ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและเจ็บป่วยได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวยังนำไปสู่การเสียชีวิตของนักปีนเขาอย่างน้อย 4 ราย จาก 11 ราย ในช่วงพีคของฤดูการปีนเขาในปีนั้น
คำสั่งศาลยังระบุถึงข้อจำกัดในการใช้เฮลิคอปเตอร์เพื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากการช่วยเหลือฉุกเฉิน ทีมนักปีนเขาถูกส่งทางอากาศไปยังค่ายฐานและข้ามภูมิประเทศที่เป็นอันตรายเป็นประจำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากเฮลิคอปเตอร์ ด้าน นิมา นูรู เชอร์ปา (Nima Nuru Sherpa) ประธานสมาคมการปีนเขาแห่งเนปาล ให้ความเห็นว่า ทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย
เชอร์ปา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างไร ยังไม่รู้ว่าขีดจำกัดนั้นถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานอะไร และจะแบ่งขีดจำกัดนี้ให้กับเจ้าหน้าที่สำรวจอย่างไร ซึ่งควรมุ่งเน้นที่วิธีที่เราสามารถทำให้ภูเขาปลอดภัยยิ่งขึ้น
ขอบคุณที่มา samaa.tv
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี