โพลเผยชาวเยอรมัน1ใน5อยากเห็นทีมชาติมีแต่คนผิวขาว สะท้อนปัญหาการเหยียดยังฝังรากลึก
วันที่ 7 มิถุนายน 2567 สถานีโทรทัศน์ TRT World ของตุรกี รายงานข่าว Survey: 21% Germans prefer 'more players with white skin' in national team อ้างผลสำรวจความคิดเห็นแฟนฟุตบอลเยอรมัน ของ ARD ซึ่งเป็นเครือข่ายสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของเยอรมนี ซึ่งพบว่า ชาวเยอรมันร้อยละ 21 ต้องการเห็นผู้เล่นผิวขาวในทีมชาติของตน และร้อยละ 17 รู้สึกไม่สบายใจที่กัปตันทีมชาติเยอรมนีคนปัจจุบันมีเชื้อสายตุรกี
รอนนี บลาสช์เก (Ronny Blaschke) ผู้เชี่ยวชาญด้านแวดวงลูกหนังเมืองเบียร์ กล่าวว่า ผลสำรวจนี้ไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากการเหยียดเชื้อชาติในฟุตบอลเป็นปัญหาร้ายแรงมานานแล้ว และยิ่งเลวร้ายลงอีกเมื่อพรรค AFD ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวขวาจัดในเยอรมนี ที่มีนโยบายต่อต้านผู้อพยพ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากประสบการณ์ 20 ปีในการศึกษาความเป็นไปของที่นี่ ปัญหาเหยียดเชื้อชาติเกิดขึ้นอย่างเปิดเผยมานานหลายทศวรรษแล้ว
“เรามีการเหยียดเชื้อชาติที่รุนแรงมากในช่วงทศวรรษที่ 80 ในยุค 90 เมื่อผู้เล่นถูกโจมตี และเรามีแฟนบอลนาซีอยู่บนอัฒจันทร์ ดังนั้นการเหยียดเชื้อชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ฟุตบอลเยอรมัน แม้จะมีการรณรงค์ต่างๆ มากมายโดยสหพันธ์ฟุตบอลเยอรมัน และองค์กรภาคประชาสังคมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเหยียดเชื้อชาติในหมู่แฟนบอล และเหตุการณ์การเหยียดเชื้อชาติในสนามกีฬาก็ไม่ได้หายไป มีกลุ่มแฟนบออลที่ต่อสู้กันอยู่เสมอ พวกเขาต้องการยั่วยุกัน ทีมของพวกเขา มีการคิดว่านี่คือศัตรูของคุณ และบางครั้งผู้คนก็ใช้ทัศนคติแบบเหมารวมในการเหยียดเชื้อชาติเพื่อยั่วยุกลุ่มแฟนบอลของพวกเขา และนี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง” บลาสช์เก กล่าว
จากการสำรวจโดยแอปฟุตบอล FanQ การเหยียดเชื้อชาติกลายเป็นความจริงในชีวิตประจำวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสำหรับผู้เล่นสมัครเล่นและมืออาชีพจำนวนมากในเยอรมนี ในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถาม 2,000 คน มากกว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าพวกเขารู้สึกว่ามีการเหยียดเชื้อชาติเกิดขึ้นอย่างมากทั้งในฟุตบอลสมัครเล่น (ร้อยละ51) และฟุตบอลอาชีพ (ร้อยละ 58)
บลาสช์เก กล่าวต่อไปว่า การดูถูกเหยียดเชื้อชาติต่อนักฟุตบอลผิวดำเป็นเพียง “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” เท่านั้น และทัศนคติแบบเหมารวมเหยียดเชื้อชาติต่อผู้อพยพก็แพร่หลายเกินกว่าที่จะสังเกตเห็นได้ ผู้ย้ายถิ่นมักได้รับความด้อยโอกาสในระหว่างการศึกษาและอาชีพการงานเนื่องจากการเหยียดเชื้อชาติทางโครงสร้าง และนี่ก็เป็นกรณีของนักฟุตบอลข้ามชาติในอาชีพการงานของพวกเขาด้วย
“ผมได้ยินมาจากนักฟุตบอลรุ่นเยาว์ผิวดำหรือตุรกีหลายคนว่าพวกเขาถูกมองว่าเป็นนักกีฬา พวกเขาบอกว่าคุณสามารถไปเล่นฟุตบอลได้ ถ้าคุณไม่สอบที่โรงเรียนมันก็ไม่สำคัญ แต่ทำไมคนเหล่านี้ไม่ถูกมองว่าเป็นผู้อำนวยการ (ในอนาคต) หรือฝ่ายกฎหมาย หรือผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จ? เหตุใดบอร์ดบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลเยอรมันหรือลีกฟุตบอลเยอรมันจึงแทบจะเป็นคนผิวขาวไปหมด เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจพวกเขากำลังสรรหาคนที่คล้ายกับพวกเขา” บลาสช์เก ระบุ
บลาสช์เก ยังกล่าวอีกว่า ในขณะที่ปัจจุบัน ทีมชาติเยอรมนีมีกัปตันทีมเป็นคนเชื้อสายตุรกี แต่ยังไม่มีโค้ชผิวดำ ไม่มีผู้ตัดสิน ผู้จัดการทีม หรือนักข่าวกีฬาที่มีภูมิหลังมาจากนานาชาติ ดังนั้นในสนามจึงมีความหลากหลายเฉพาะแต่ตำแหน่งผู้นำ และนี่ก็เป็นอีกปัญหาเชิงโครงสร้างอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้ ทีมชาติชุดปัจจุบันมีผู้เล่นถึง 9 คนมาจากผู้อพยพ รวมถึงกัปตันทีม อิลคาย กุนโดกัน (Ilkay Gundogan) , กองหลัง โจนาธาน ทาห์ (Jonathan Tah) และวัลเดมาร์ อันตอน (Waldemar Anton) , กองกลาง จามาล มูเซียลา (Jamal Musiala) และกองหน้า เดนิซ อุนดาฟ (Deniz Undav)
ในปีนี้ เยอรมนี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2024) โดยนัดเปิดสนาม ระหว่างเยอรมนีกับสก็อคแลนด์ จะเริ่มขึ้นในวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ณ เมืองมิวนิก ขณะที่นัดชิงชนะเลิศ จะจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.ค. 2567 ณ กรุงเบอร์ลิน
ขอบคุณเรื่องจาก
https://www.trtworld.com/discrimination/survey-21-germans-prefer-more-players-with-white-skin-in-national-team-18170245
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี