20 พ.ย. 2567 CharitiesAid Foundation (CAF) องค์กรการกุศลไม่แสวงหากำไรซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศอังกฤษ เผยแพร่รายงาน “ดัชนีความใจบุญโลก ประจำปี 2567 (World Giving Index 2024)” โดยองค์กรดังกล่าวได้จัดทำรายงานนี้เผยแพร่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2554 (World Giving Index 2011X แบ่งการให้คะแนนเป็น 3 ด้าน คือ การบริจาคเงิน(Donating Money) การช่วยเหลือคนแปลกหน้า (Helping Stranger) และการใช้เวลาเป็นจิตอาสา (Volunteering Time) สำหรับรายงานของปีนี้ซึ่งมี 142 ประเทศเข้าร่วม พบว่า..
ในด้านการช่วยเหลือคนแปลกหน้า 10 ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ อันดับ 1 เคนยา (ร้อยละ 82) อันดับ 2 มีเท่ากัน 2 ชาติ คือบังกลาเทศกับไนจีเรีย (ร้อยละ 81) อันดับ 3 ไลบีเรีย (ร้อยละ 80) อันดับ 4 มี 3 ประเทศได้เท่ากัน คือเซเนกัล เซียราลีโอนและแกมเบีย (ร้อยละ 78) และอันดับ 5 มี 3 ประเทศได้เท่ากัน คือยูเครน มาลาวีและไนเจอร์ (ร้อยละ 77) ส่วน 10 ประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ อันดับ 1 โปแลนด์ (ร้อยละ 23) อันดับ 2 ญี่ปุ่น (ร้อยละ 24 อันดับ 3 กัมพูชา (ร้อยละ 28) อันดับ 4 ฝรั่งเศส (ร้อยละ 38) อันดับ 5 ลิธัวเนีย (ร้อยละ 41) อันดับ 6 โครเอเชีย (ร้อยละ 43) อันดับ 7 มีร่วมกัน 4 ประเทศ คือคาซัคสถาน สโลวาเกีย สวิตเซอร์แลนด์และเซอร์เบีย (ร้อยละ 45)
ในด้านการบริจาคเงิน 10 ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ อันดับ 1 อินโดนีเซีย (ร้อยละ 90) อันดับ 2 เมียนมา (ร้อยละ 78) อันดับ 3 มอลตา (ร้อยละ 74) อันดับ 4 ไอซ์แลนด์ (ร้อยละ 71) อันดับ 5 สิงคโปร์ (ร้อยละ 68) อันดับ 6 มีเท่ากัน 3 ประเทศหรือกลุ่มประเทศ คือยูเครน สหราชอาณาจักรและไทย (ร้อยละ 67) และอันดับ 7 มีเท่ากัน 2 ประเทศ คือไอร์แลนด์กับนอร์เวย์ (ร้อยละ 65) ส่วน 10 ประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ อันดับ 1 มีเท่ากัน 2 ชาติ คือบอตสวานากับจอร์เจีย (ร้อยละ 6) อันดับ 2 มีเท่ากัน 2 ชาติ คือเยเมนกับตูนิเซีย (ร้อยละ 7) อันดับ 3 มีเท่ากัน 2 ชาติ คืออียิปต์และอัฟกานิสถาน (ร้อยละ 10) อันดับ 4 มีเท่ากัน 2 ชาติ คือซิบบับเวกับโตโก (ร้อยละ 11) และอันดับ 5 มีเท่ากัน 2 ชาติ คือมาลีกับจอร์แดน (ร้อยละ 14)
ในด้านการใช้เวลาเป็นจิตอาสา 10 ประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือ อันดับ 1 อินโดนีเซีย (ร้อยละ 65) อันดับ 2 ไลบีเรีย (ร้อยละ 58) อันดับ 3 ไนจีเรีย (ร้อยละ 53) อันดับ 4 เคนยา (ร้อยละ 52) อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 48) อันดับ 6 ทาจิกิสถาน (ร้อยละ 47) อันดับ 7 แกมเบีย (ร้อยละ 45) อันดับ 8 กินี (ร้อยละ 43) อันดับ 9 ศรีลังกา (ร้อยละ 42) และอันดับ 10 อินเดีย (ร้อยละ 41) ส่วน 10 ประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ อันดับ 1 อียิปต์ (ร้อยละ 3) อันดับ 2 มีเท่ากัน 3 ชาติ คือบัลแกเรีย โรมาเนียและกัมพูชา (ร้อยละ 6) อันดับ 3 มีเท่ากัน 3 ชาติ คือเซอร์เบีย จอร์แดนและโปแลนด์ (ร้อยละ 7) อันดับ 4 มีเท่ากัน 2 ชาติ คือเลบานอนกับโคโซโว (ร้อยละ 8) และอันดับ 5 นอร์ทมาเซโดเนีย (ร้อยละ 9)
สำหรับภาพรวมในกลุ่มที่ได้คะแนนสูงที่สุด อันดับ 1 อินโดนีเซีย (74 คะแนน) อันดับ 2 เคนยา (63 คะแนน) อันดับ 3 มีร่วมกัน 2 ชาติ คือสิงคโปร์กับแกมเบีย (61 คะแนน) อันดับ 4 ไนจีเรีย (60 คะแนน) อันดับ 5 สหรัฐอเมริกา (59 คะแนน) อันดับ 6 ยูเครน (57 คะแนน) อันดับ 7 มี 4 ประเทศที่ได้เท่ากัน คือออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มอลตาและแคนาดา (54 คะแนน) อันดับ 8 มี 3 ประเทศที่ได้เท่ากัน คือไลบีเรีย กินีและไทย (52 คะแนน) อันดับ 9 มี 4 ประเทศที่ได้เท่ากัน คือไอร์แลนด์ บาห์เรน นิวซีแลนด์และคูเวต (51 คะแนน) และอันดับ 10 มี 3 ประเทศที่ได้เท่ากัน คือเมียนมา มาเลเซียและนอร์เวย์ (50 คะแนน)
ส่วนกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยที่สุด อันดับ 1 โปแลนด์ (15 คะแนน) อันดับ 2 ญี่ปุ่น (20 คะแนน) อันดับ 3 มี 2 ชาติได้เท่ากัน คือกัมพูชากับลิธัวเนีย (22 คะแนน) อันดับ 4 เยเมน (23 คะแนน) อันดับ 5 มี 4 ประเทศได้เท่ากัน คือโครเอเชีย โตโก อัฟกานิสถานและตูนิเซีย (24 คะแนน) อันดับ 6 มี 3 ประเทศได้เท่ากัน คือบัลแกเนีย โรมาเนียและเลบานอน (26 คะแนน) อันดับ 7 มี 2 ชาติได้เท่ากัน คือเวียดนามกับเบนิน (27 คะแนน) อันดับ 8 มี 2 ชาติได้เท่ากัน คืออียิปต์กับมอลโดวา (28 คะแนน) อันดับ 9 มี 5 ประเทศ คือสโลวาเกีย มอนเตเนโกร อาร์เมเนีย บอตสวานาและตุรกี (29 คะแนน)
ขณะที่อันดับของ 10 ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เรียงจากได้คะแนนมากที่สุดไปน้อยที่สุดมีดังนี้ อันดับ 1 อินโดนีเซีย (74 คะแนน) อันดับ 2 สิงคโปร์ (61 คะแนน) อันดับ 3 ไทย (52 คะแนน) อันดับ 4 มี 2 ชาติได้เท่ากัน คือเมียนมากับมาเลเซีย (50 คะแนน) อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ (47 คะแนน) อันดับ 6 สปป.ลาว (34 คะแนน) อันดับ 7 เวียดนาม (27 คะแนน) และอันดับ 8 กัมพูชา (22 คะแนน) โดยมีบรูไนเป็นชาติเดียวในอาเซียนที่ไม่ได้ร่วมการจัดอันดับในครั้งนี้
อ่านรายงาน World Giving Index 2024 ฉบับเต็มได้ที่
https://www.cafonline.org/docs/default-source/inside-giving/wgi/wgi_2024_report.pdf
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี