วันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการจัดพิธีเปิดงานสัปดาห์ความร่วมมือพันธมิตรสื่ออาเซียน (Asean Media Partners Cooperation Week) ที่เมืองกุ้ยหลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน กิจกรรมดังกล่าวร่วมกันจัดขึ้นโดย China Media Group หรือ CMG และเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไทยกล่าวสุนทรพจน์ผ่านวิดีโอ นายฟ่าน หยุน รองบรรณาธิการใหญ่ CMG และนางเฉิน อี้จวุน กรรมการในคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สื่อมวลชน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากจีนและประเทศอาเซียนกว่า 200 คนมาร่วมการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างลุ่มลึกในประเด็น “คุณภาพใหม่ การอยู่ร่วมกันและอารยธรรม” แสดงบทบาทของสื่อมวลชนเพื่อส่งเสริมการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ในพิธีเปิดงาน มีการแถลงข่าวการจัดสื่อมวลชนสัญจร “พันธมิตรสื่ออาเซียนร่วมกันส่องจีนเส้นทางกว่างซี” โดยคณะผู้สื่อข่าวจากสื่อหลัก 7 ประเทศอาเซียนร่วมกับผู้สื่อข่าว CMG และผู้สื่อข่าวจากสื่อเขตกว่างซี จะพากันรายงานข่าวการพัฒนาด้วยคุณภาพสูงของกว่างซี นำเสนอความยอดเยี่ยมของความทันสมัยแบบจีนต่อทั่วโลก
นางสาวทวินันท์ คงคราญ รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ได้ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นในหัวข้อเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อใหม่ และการร่วมกันผลิตเนื้อหาของสื่อมวลชน เป็นต้น ในช่วงพักเบรก นางสาวทวินันท์ คงคราญได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวภาคภาษาไทย CMG โดยมองว่าสัปดาห์ความร่วมมือพันธมิตรสื่ออาเซียน (Asean Media Partners Cooperation Week) ครั้งนี้ เป็นการกระชับความร่วมมือระหว่างสื่อของอาเซียนกับสื่อของประเทศจีน
สำหรับความคาดหวังต่อกิจกรรมครั้งนี้ นางสาวทวินันท์ คงคราญกล่าวว่า เป็นการกระชับความร่วมมือระหว่างสื่อของอาเซียนกับสื่อของประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนมีสื่อจำนวนมากและทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งก็มีทั้งคุณภาพของเนื้อหา แล้วก็บุคลากรที่พร้อมจะให้ความร่วมมือกับทุกประเทศ ฉะนั้น การจัดการประชุมในครั้งนี้จะยิ่งเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีแล้วก็ขยายโอกาสในการเผยแพร่ข่าวสาร เรื่องราว ข้อมูลจากทั้งของประเทศจีนไปสู่ประเทศกลุ่มอาเซียน แล้วทั้งประเทศกลุ่มอาเซียนกลับมาที่ประเทศจีน ซึ่งตรงนี้ จะขยายในเรื่องของแพลตฟอร์มและเนื้อหาที่มีความละเอียดความลึกซึ้งขึ้น ในอนาคตทางช่อง 5 ในนามของประเทศไทยเราอยากได้พวกละครสั้น ซีรีส์ รูปแบบอื่น ๆ ของประเทศจีนมาเพิ่มในเนื้อหาของเรา เพราะว่าประชาชนเรียกร้องอยากชมเรื่องราวของทางจีนในรูปแบบของซีรีส์หรือละครที่เป็นยุคใหม่
นางสาวทวินันท์ คงคราญยังได้ชื่นชมความร่วมมือระหว่างภาคภาษาไทย CMG กับสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ว่า ถ้าประเมินความร่วมมือระหว่าง CMG ภาคภาษาไทยกับสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ถือว่ามีสายสัมพันธ์อันดีมาหลายปี CMG เป็นพันธมิตรที่ดีเยี่ยมมาก ๆ ในการที่ให้ข้อมูลข่าวสารกับทางช่อง 5 แล้วเราก็มีการออกข่าวเผยแพร่เรื่องราวของจีนผ่านความร่วมมือของ CMG มากกว่า 5 ข่าวต่อวัน มีความต่อเนื่องทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์แล้วก็แพลตฟอร์มทางโทรทัศน์ด้วย
เมืองกุ้ยหลินเป็นสถานที่จัดงานครั้งนี้ นางสาวทวินันท์ คงคราญก็ชื่นชมเมืองนี้ด้วย โดยมองว่า กุ้ยหลินเที่ยวแค่วันสองวันไม่พอ ต้องอยู่เป็นเดือน เพราะว่า มีธรรมชาติที่สวยงามมาก ทั้งทะเลสาบ ทั้งน้ำตก อาหารการกิน วัฒนธรรม ต้องใช้เวลาต้องลางานมาทั้งเดือน
คุณธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ บรรณาธิการรายการชิบเชื่อมโลกแห่งสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ในฐานะสื่อมวลชนไทยที่ร่วมทริปการรายงานข่าวครั้งนี้ตลอดทั้ง 4 วัน คุณธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ มีความสนใจความทันสมัยแบบจีน การอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การวางแผนเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการสร้างสรรค์อารยธรรมทางระบบนิเวศเป็นพิเศษ ได้แบ่งปันความรู้สึกผู้สื่อข่าวภาคภาษาไทย CMG โดยกล่าวว่า การมาทริปสัปดาห์ความร่วมมือพันธมิตรสื่ออาเซียนครั้งนี้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ CMG และเขตกว่างซีที่ทำให้ผมได้มีประสบการณ์ใหม่กับกุ้ยหลินของจีน ทำให้ผมอยากจะพูดกับทุกคนว่า 桂林山水甲天下 กุ้ยหลินซานสุ่ยเจี่ยเทียนเซี่ย ธาราและภูผาของกุ้ยหลินนั้นเป็นหนึ่งในใต้หล้า ก็คือ ธรรมชาติที่เป็นสวรรค์บนพื้นดินของจริง
จากที่ได้สัมผัสธรรมชาติของกุ้ยหลิน ทำให้เห็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลจีนและคณะที่จัดการด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเมืองกุ้ยหลิน อย่างเช่น ที่เราได้เข้าชมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจัดการแม่น้ำหลีเจียงที่ได้สร้างศูนย์ เพื่อคอยสอดส่องดูแลคุณภาพน้ำ ลมฟ้าอากาศ เมฆ แสงอาทิตย์เพื่อจัดการในทุกๆ ด้าน สำหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการจัดการคุณภาพของน้ำที่ใช้กล้องและโดรนคอยตรวจดูในจุดหลักๆ ที่เกิดความผิดปกติในภาพรวมของแม่น้ำทั้งหมด เพื่อดูแลความเป็นไปของสภาพแวดล้อมเพื่อนำมาประมวลผล เพื่อการบำบัดผืนน้ำ ส่งผลให้แม่น้ำหลีงดงามอย่างที่ทุกท่านเห็นด้วยตา อีกทั้งการจัดสรรคนที่จะเข้าชมสวนบริเวณเขางวงช้างและการบริหารการเดินเรือในแม่น้ำ การให้บริการแพนักท่องเที่ยว และระบบต่างๆ อีกมากที่ทำได้รอบด้าน นี่เป็นแค่ส่วนเดียวที่เราเห็นภาพ นอกจากนี้ จีนยังมีมาตรการปกป้องแม่น้ำให้เป็นสีเขียวครามอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการด้านนิเวศวิทยาได้ยกระดับ ความสามารถในการบําบัดน้ำเสีย การลดมลพิษทางการเกษตร และดำเนินการเติมน้ำทางนิเวศวิทยา ซึ่งเปรียบเสมือน "กรวยไต" ทำให้สิ่งที่เป็นมลพิษได้รับการเร่งซ่อมแซมและฟื้นฟู เป็นเหตุให้คุณภาพน้ำปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่องที่พวกเราได้เห็นกันตลอดทริปที่ผ่านมา จนทำให้เกิดเป็นผลผลิตคุณภาพใหม่ เกิดความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด อย่างเช่น ฝูงนกน้ำบินกระพือปีก หรืออาจจะทำให้ปลาในแม่น้ำที่หายหน้าหายตาไปหลายปี ก็ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งเนื่องจากปลาบางสายพันธุ์ต้องการเงื่อนไขสูงจากคุณภาพน้ำที่ดี การปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งของมันพิสูจน์ให้เห็นว่าคุณภาพน้ำที่ดีขึ้นแล้วจริงๆ และในทริปนี้
ผมได้เห็นแมลงปออยู่ท่ามกลางธรรมชาติซึ่งหาดูได้ยากในเมืองและคิดว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนของเมืองกุ้ยหลินนี้ดีขึ้นอย่างมากอีกด้วย ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันและอารายธรรม ผมคิดว่า จีนได้ทุ่มเทเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์อารยธรรมทางนิเวศวิทยา ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อเอาชนะสงครามทางมลพิษ เพื่อป้องกันและบำบัดมลพิษอย่างแน่วแน่ ยกตัวอย่าง ชาวจีนจำนวนหลายล้านครัวเรือนในชนบทได้ยุติวิธีการทำความร้อนด้วยการจุดไฟและรมควัน โดยหันมาใช้ไฟฟ้า หรือก๊าซธรรมชาติ แทนการใช้ถ่านหิน อีกทั้งยังลดปริมาณของสารมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม จนกระทั่งการปล่อยสารมลพิษอยู่ในระดับที่ลดลงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นทางการจีนได้มีมาตรการ หรือสั่งปิดวิสาหกิจที่จะก่อให้เกิดมลพิษที่ไม่ได้มาตรฐานตามนโยบายท้องถิ่น จีนได้ดำเนินการลดมลพิษด้านต่างๆ เช่น ยานยนต์ จากการยกระดับคุณภาพน้ำมันและมาตรฐานการปล่อยไอเสีย รวมถึงการเดินเรือที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานเดียว ได้บรรลุการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ปราศจากมลพิษและยังได้ลดมลภาวะทางเสียงรบกวนให้ต่ำอีกด้วย
กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมจีน เคยมีผลระบุว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในเมืองต่าง ๆ ที่มีระดับสูง ได้ลดลงและคุณภาพอากาศอยู่ในระดับดีเยี่ยมเพิ่มขึ้น และจำนวนมลพิษหนัก ลดลงถึง 40% ก็เพราะจีนพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้าน Green development ทำให้แผ่นดินจีนเปี่ยมไปด้วยสีเขียว จากการที่นโยบายของจีนให้ความสำคัญกับการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปัจจุบันอัตราการครอบคลุมพื้นที่ป่า ป่าไม้ของจีนเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก ครั้งนี้ผมได้เห็นการปลูกพืชคลุมดินระหว่างเดินทางไปยังหมู่บ้านลูกพลับ และในหมู่บ้านก็เห็นอารยธรรมในขนบธรรมเนียมของคนในชุมชน ช่วยสร้างให้สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของกุ้ยหลินนี้ ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงความเป็นกุ้ยหลินเมืองสวรรค์บนดินได้อย่างดีเยี่ยมกล่าวโดยรวมจีนได้บรรลุการเปลี่ยนแปลงจากสีเหลืองสู่สีเขียวและจากสีเขียวสู่ความงาม ยกระดับการคุ้มครองระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง ดั่งที่เคยมีอุทยานแห่งชาติรุ่นแรกๆ เช่น อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน อุทยานแห่งชาติหมีแพนด้า อุทยานแห่งชาติเสือดาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนไหหลํา และอุทยานแห่งชาติภูเขาอู่อี๋ (อู่อี๋ซาน) เป็นต้น ในอนาคต กุ้ยหลิน ก็จะเป็น เช่นเดียวกัน
“มนุษย์ไม่ทำลายภูเขาเขียว ภูเขาเขียวย่อมไม่ให้มนุษย์ผิดหวัง” การพัฒนาของกุ้ยหลิน ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่งผลให้จีนได้ค้นพบหนทางที่ได้ชัยชนะ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศและการพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อมกัน
บ่ายวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อันเป็นช่วงที่ภารกิจครั้งนี้ใกล้สิ้นสุด คุณธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ ยังเป็นตัวแทนของสื่อมวลชนอาเซียน ร่วมการสัมมนาระหว่างพันธมิตรสื่ออาเซียนประจำปี 2024 ได้ให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างกลไกการแลกเปลี่ยนระหว่างสื่อมวลชนอาเซียนกับ CMG แบบปกติ และการลงลึกความร่วมมือด้านเนื้อหา ร่วมแบ่งปันเทคนิคและร่วมสร้างแพลตฟอร์มระหว่างสื่อมวลชนจีน-อาเซียนตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และรูปแบบการเผยแพร่ที่มีการบูรณาการเพื่อปรับเสียงความร่วมมือจีน-อาเซียนให้ดังขึ้น เล่าเรื่องการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
คุณธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ ได้ขอบคุณ CMG และเขตกว่างซีที่จัดงานนี้ขึ้น เพราะการมาร่วมงานครั้งนี้ นอกจากประโยชน์จากความรู้ที่ได้ในแต่ละสถานที่ที่ไปเข้าร่วม ยังได้การแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน ๆ สื่ออาเซียน นอกจากนั้นยังได้มิตรภาพที่ดี แต่มิตรภาพที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีตัวกลางก็คือผู้จัดงานนี้ ทุกฝ่ายที่ตั้งใจจัดงานเพื่อให้พวกเราได้รับสิ่งต่างๆ มากมาย และมากกว่านั้นคือ มิตรภาพจากสื่อจีนและอาเซียนทั้ง 7 ประเทศ หวังเป็นอย่างว่าจะเกิดงานแบบนี้ขึ้นอีก เพื่อครั้งต่อไป เราจะได้พบและร่วมมือกันอีก
คุณธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ ได้ยกตัวอย่างความร่วมมือระหว่างสื่อมวชนไทย-จีน เพื่ออธิบายความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนอาเซียนกับจีนว่า ความร่วมมือของสื่อไทยกับ CMG จะขาดจากกันไม่ได้ เพราะจีนไทยคือ พี่น้องกันและกำลังจะครบรอบ 50 ปีในความสัมพันธ์ทางการทูต แต่สิ่งที่ต้องสร้างความแน่นแฟ้นให้เกิดขึ้นได้นั้น คือ การการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ด้วยเนื้อหาข่าว ผ่านสื่อด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะเป็นการสร้างให้เครือข่ายสื่อใกล้ชิดกันมากขึ้น และงานครั้งนี้ เครือข่ายของสื่อไม่ใช่เฉพาะจีนกับไทย เรายังแลกเปลี่ยนกับสื่ออาเซียน ด้วยเนื้อหา ด้วยการสื่อข่าวระหว่างกัน จนเกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงอาเซียนอีกด้วย
คุณธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ เห็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และรูปแบบมัลติมีเดียอย่างไร เพื่อกระจายเสียงของความร่วมมือจีน-อาเซียนประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกัน การใช้สื่อผสมผสานด้วยความร่วมมือในอาเซียน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการร่วมมือกันทางด้านสื่อ ที่เป็นพันธมิตรในอนาคตร่วมกัน เช่น การร่วมกันผลิตเนื้อหาของสื่ออาเซียนร่วมกัน และถ่ายทอดในการออกอากาศเพื่อมีส่วนเชื่อมโยงในการนำเสนอข่าวข้ามสื่อของแต่ละประเทศไปด้วยกัน
ดังที่สื่อมวลชนไทยที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้กล่าวไว้ว่า สัปดาห์ความร่วมมือพันธมิตรสื่ออาเซียน ประจำปี 2024 เป็นการกระชับความร่วมมือระหว่างสื่อของอาเซียนกับสื่อของประเทศจีน เราก็เชื่อว่า ความร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนจีนกับอาเซียนซึ่งรวมทั้งไทยด้วยจะอยู่ชั่วนิรันดร์ สร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่นำมาซึ่งความสุขความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี