26 พ.ย. 2567 สถานีโทรทัศน์ News18 ของอินเดีย รายงานข่าว Longtime Chinese Employee, Fired For Sleeping At Desk, Drags Company To Court And Wins Rs 41 Lakh ระบุว่า ชายชาวจีนแซ่จาง (Zhang) ชนะคดีความบริษัทที่ไล่ตนเองออกจากงานเนื่องจากงีบหลับในเวลางาน โดยเขาเข้าทำงานมาตั้งแต่ปี 2547 และถูกไล่ออกเมื่อช่วงต้นปี 2567 หลังกล้องวงจรปิดจับภาพขณะที่นอนหลับได้ แต่ล่าสุด ศาลมณฑลเจียงซู ประเทศจีน ตัดสินให้ชายคนนี้ได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 350,000 หยวน หรือประมาณ 1.7 ล้านบาท
‘สหายจาง คุณเข้าร่วมงานกับบริษัทในปี 2547 และเซ็นสัญญาจ้างงานแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการนอนดึกในที่ทำงานของคุณถือเป็นการละเมิดนโยบายวินัย ซึ่งบริษัทจะไม่ยอมรับการกระทำผิดอย่างร้ายแรงของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงตัดสินใจเลิกจ้างคุณโดยได้รับการอนุมัติจากสหภาพแรงงาน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านแรงงานระหว่างคุณกับบริษัทสิ้นสุดลง’ ข้อความในเอกสารของบริษัทที่เลิกจ้างพนักงานคนดังกล่าว ตามรายงานจาก นสพ.South China Morning Post ของฮ่องกง
คดีนี้ถูกเปิดเผยหลังจากที่นายจางลงนามในรายงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่ระบุว่า จางถูกจับได้ว่านอนหลับในที่ทำงานเนื่องจากเหนื่อยล้า และมีการเผยแพร่ในกลุ่ม WeChat แอปพลิเคชั่นส่งข้อความสนสนาซึ่งนิยมใช้กันในจีน จางยังกล่าวอีกว่า ครั้งหนึ่งตนเคยนอนหลับในที่ทำงานประมาณหนึ่งชั่วโมง เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลบางคนถาม ซึ่งบริษัทได้ส่งหนังสือแจ้งการไล่ออกให้จาง โดยอ้างว่าการกระทำของเขาเป็นการละเมิดวินัยและความประพฤติอย่างร้ายแรง จึงสมควรไล่เขาออก
อย่างไรก็ตาม จางมองว่าตนเองถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม จึงตัดสินใจฟ้องคดีต่อศาล โดยคดีนี้อยู่ในการพิจารณาของศาลประชาชนเมืองไท่ซิง ในมณฑลเจียงซู ในการไต่สวนนั้นศาลได้พิจารณามาตรฐานนโยบายวินัยของบริษัทเทียบกับประวัติการจ้างงานของจางและพฤติการณ์ของการละเมิด ซึ่ง จู ฉี (Ju Qi) ผู้พิพากษาในคดีนี้ มีความเห็นว่า แม้บริษัทจะรักษากฎระเบียบของพนักงานและไล่พนักงานที่ละเมิดกฎได้ตามกฎหมาย แต่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขบางประการที่การกระทำของพนักงานส่งผลกระทบเชิงลบ
‘การงีบหลับในที่ทำงานถือเป็นความผิดครั้งแรก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อบริษัท’ ผู้พิพากษาจู กล่าว
ในการพิจารณาคดี ศาลยังชี้ด้วยว่านายจางทำงานมานานกว่า 2 ทศวรรษ อีกทั้งยังได้รับการเลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนให้สูงขึ้นอยู่หลายครั้ง นั่นหมายถึงนายจ้างปฏิบัติหน้าที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี ศาลจึงเห็นว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่ได้สัดส่วนและไม่สมเหตุสมผล จึงตัดสินให้บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้นายจางผู้เป็นโจทก์ เป็นจำนวนเงิน 350,000 หยวนดังกล่าว
ขณะที่รายงานข่าว Man in China fired for napping at desk after working late, sues firm, awarded US$48,000 โดย นสพ.South China Morning Post ของฮ่องกง ระบุว่า ชายแซ่จางที่ลุกขึ้นฟ้องบริษัทต้นสังกัดนั้น ก่อนถูกไล่ออกมีตำแหน่งระดับผู้จัดการ ในบริษัทเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่งในเมืองไท่ซิง โดยหลังจากถูกจับภาพการงีบหลับด้วยกล้องวงจรปิดเมื่อช่วงต้นปี 2567 ในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากนั้น นายจางก็ถูกฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทบอกให้เซ็นเอกสารเลิกจ้าง โดยนายจางยอมรับว่า ได้งีบหลับเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
กระทั่งในวันที่ 22 พ.ย. 2567 สื่อฮ่องกงก็รายงานข่าวนี้ว่า บทสรุปของคดีคือนายจางได้รับค่าชดเชย 3.5 แสนหยวน ซึ่งหลังจากข่าวถูกเผยแพร่ออกไป เรื่องนี้ก็ถูกแชร์อย่างกว้างขวางในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยชาวเน็ตรายหนึ่ง กล่าวว่า การงีบหลับในที่ทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ผิด แต่การกระทำของบริษัทนั้นรุนแรงเกินไป หากความผิดพลาดเล็กน้อยสามารถนำไปสู่การไล่ออกได้ ก็ทำให้การไล่พนักงานออกเป็นเรื่องง่ายเกินไป เช่นเดียวกับชาวเน็ตอีกราย ที่บอกว่าศาลตัดสินได้ถูกต้องแล้ว
ขอบคุณเรื่องจาก
https://www.news18.com/viral/longtime-chinese-employee-fired-for-sleeping-at-desk-drags-company-to-court-and-wins-rs-41-lakh-9132959.html
https://www.scmp.com/news/people-culture/trending-china/article/3287350/man-china-fired-napping-desk-after-working-late-sues-firm-awarded-us48000
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี