6 ม.ค. 2568 นสพ. The New York Times สหรัฐอเมริกา รายงานข่าว A Frigid First: Chile’s President Visits South Pole to Bolster Antarctic Claims ระบุว่า กาเบรียล บอริค (Gabriel Boric) ประธานาธิบดีของชิลี เดินทางเยือนสถานีวิจัยขั้วโลกใต้อามุนด์เซน-สก็อตต์ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2568 เพื่ออ้างสิทธิอำนาจอธิปไตยของชิลีเหนือส่วนหนึ่งของดินแดนแห่งนี้ ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น
อีกด้านหนึ่งของโลก ทวีปอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) ได้รับความสนใจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ภูมิภาคนี้มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับการค้าโลก ทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้ และเพิ่มการแข่งขันทางการทหารในพื้นที่ดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม แอนตาร์กติกายังคงอยู่ภายใต้การจับตามอง ซึ่งกว่าศตวรรษที่ผ่านมา นักสำรวจต่างแข่งขันกันปักธงบนพื้นที่เวิ้งว้างในดินแดนขั้วโลกอันหนาวเหน็บ และประเทศต่างๆ ก็เริ่มแข่งขันกันอีกครั้งเพื่อมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้
พื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกา ซึ่งกำหนดว่า “แอนตาร์กติกาจะต้องถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ที่สันติเท่านั้น” สนธิสัญญานี้ถูกร่างขึ้นในยุคสงครามเย็น (ปี 2490-2532) และข้อตกลงที่ตามมามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้แอนตาร์กติกาเป็นเขตปลอดทหารและจัดการกับการอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่แข่งขันกัน เป็นเวลาหลายทศวรรษ ระบบดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างฉันทามติระหว่างประเทศสำหรับภูมิภาคนี้ ตามรายงานในปี 2566 จากศูนย์การศึกษากลยุทธ์และระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ
หลายชาติมีสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งมายาวนานหรือแห่งใหม่บนทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งบางแห่งอาจใช้เพื่อสำรวจศักยภาพเชิงกลยุทธ์และเชิงพาณิชย์ของภูมิภาคนี้ การแข่งขันได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างเงียบๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะยังคงดำเนินต่อไป แม้สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและระบบสนธิสัญญาได้จำกัดการเข้าถึงทรัพยากร แต่ภูมิภาคนี้มีสภาพแวดล้อมทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์และมีแหล่งสำรองน้ำมัน ก๊าซ และแร่ธาตุที่มีศักยภาพ ภูมิประเทศที่เวิ้งว้างยังเป็นจุดที่ดีสำหรับประเทศต่างๆ ที่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทางการทหาร
รัสเซียได้เพิ่มความพยายามในการสร้างสถานีตรวจสอบสำหรับ GLONASS (ระบบ GPS ของรัสเซีย) ที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่ามีการใช้งานทางทหารด้วย ในปี 2558 รัสเซียได้ใช้งานสถานีดังกล่าวในแอนตาร์กติกาแล้วอย่างน้อย 3 สถานี ขณะที่ในปี 2566 จีนได้ประกาศแผนการสร้างสถานีดาวเทียมใหม่ในแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีศักยภาพในการใช้งานทางทหาร
สนธิสัญญาแอนตาร์กติกาห้ามการทำเหมืองในภูมิภาคนี้ โดยปกป้องแหล่งสำรองแร่เหล็ก ถ่านหิน และโครเมียมในปริมาณเล็กน้อย การประเมินมูลค่าอาจแตกต่างกันไปมาก แต่ภูมิภาคนี้อาจมีแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล ขณะที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างผิดหวังเมื่อจีนและรัสเซียพยายามผ่อนปรนข้อจำกัดในการจับกุ้ง ประเด็นต่างๆ ของสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการพิจารณาทบทวนในปี 2591 แต่ก่อนหน้านั้นอาจถูกบ่อนทำลายได้
ผู้ลงนามสนธิสัญญาบางรายยังได้อ้างสิทธิ์ในดินแดนด้วย ซึ่งบางส่วนทับซ้อนกัน ในขณะที่บางรายไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น ชิลีเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่อ้างสิทธิ์ในดินแดน และได้จัดตั้งนิคมถาวรที่เรียกว่า Villa Las Estrellas ล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. 2567 ชิลีพยายามเสริมความแข็งแกร่งให้กับการอ้างสิทธิ์ในดินแดนของตน โดยจัดการประชุมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมในแอนตาร์กติกาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจอธิปไตยท่ามกลางความตึงเครียดจากรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยาของรัสเซียในทะเลเวดเดลล์ ซึ่งเป็นภูมิภาคแอนตาร์กติกานอกชายฝั่งใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้
ขอบคุณภาพจากรอยเตอร์
ขอบคุณเรื่องจาก
https://www.nytimes.com/2025/01/04/world/americas/chile-antarctica-boric-competition.html
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี