ปราสาทขอมในลพบุรี
เรื่องราวของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อพ.ศ.1724-1762 นั้น ทำให้หลายคนสนใจถึงปราสาทขอมที่เกี่ยวข้องทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และกัมพูชา เมื่อ คุณอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้ความสนใจต่อการเชื่อมสาระทางวิชาการและศิลปกรรมระหว่างประเทศเป็นการเปิดทางให้มีเส้นทางการท่องเที่ยวทางเลือกขึ้นระหว่างจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบันเตียเมียนเจย ของกัมพูชาจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก ด้วยเป็นเส้นทางโบราณสถานสำคัญที่สามารถเชื่อมวัฒนธรรมถึงกันได้ไม่ยากนัก นักประวัติศาสตร์รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรขอม พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ประสูติเมื่อประมาณ พ.ศ.1663-1668 พระนามเดิมคือ เจ้าชายวรมัน ทรงเสกสมรสตั้งครั้งยังทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวี สตรีผู้มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์ คือสามารถโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานได้ในที่สุดจากเหตุการณ์เมื่อราวพ.ศ.1720-1721 นั้น พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ได้นำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระ และกองทัพเรือของจามได้บุกเข้าถึงโตนเลสาบเผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมากรวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิตการรุกรานเมืองยโศธปุระในครั้งนั้นเจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงได้รวบรวมกำลังกู้แผ่นดินขึ้น โดยนำทัพสู้กับพวกจามเป็นเวลานานถึง 4 ปี จนสามารถพิชิตกองเรือจามที่เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบในยุทธการรบทางเรือที่โตนเลสาบ ในพ.ศ.1724 นั้น ยโศธปุระได้กลับสู่ความสงบ พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ “เมืองพระนครหลวง” ที่เรารู้จักกันในชื่ออังกอร์หรือ “นครธม” แล้วย้ายศูนย์กลางอำนาจจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกาย มายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ โดยให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมาปราสาทบายนหรือนครธมจึงเป็นศูนย์กลางอาณาจักรขอมโบราณ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สถาปนาคติ “พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต” คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ขึ้นโดยให้หมายถึงตัวพระองค์เองเป็นพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาเพื่อปัดเป่าทุกข์ภัยให้แก่ราษฎร ด้วยเหตุนี้ภาพสลักรูปใบหน้าที่ปรากฏตามปรางค์ปราสาทที่ทรงสร้างขึ้นนั้นจึงเชื่อว่าคือใบหน้าของพระองค์ในภาคของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดังกล่าว
ภาพสลักสงครามกับจาม
เมื่อสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรขึ้นแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทรงแก้แค้นศัตรูเก่าคืออาณาจักรจามปาโดยยกกองทัพของพระองค์เข้าตีเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาไว้ได้เมื่อพ.ศ.1733 เมื่อมีชัยชนะแล้วในกาลต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงสร้างพุทธสถานขึ้นไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรมที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทบันทายฉมาร์ สร้างให้พระโอรส สร้างปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน และบูรณะปราสาทหินพิมาย ซึ่งสันนิษฐานเป็นเมืองเกิดของพระมารดา สร้างปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สร้างปราสาทในอาณาจักรละโว้ และปราสาทเมืองศรีเทพ เป็นต้น นอกจากนี้พระองค์ยังให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา” จากความในจารึกปราสาทพระขรรค์นั้นกล่าวถึง “ที่พักคนเดินทาง”ว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามเส้นทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปยังเมืองต่างๆ นั้น มี 17 แห่ง อยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครหรือนครธมมายังเมืองพิมาย ซึ่งพบว่าที่พักคนเดินทางที่ค้นพบแล้วนั้นมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12-15 กิโลเมตร อีกยังระบุไว้อีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาลหรือ“อโรคยาศาลา” อีกจำนวน 102 แห่ง ตั้งกระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักรขอม ซึ่งมีส่วนหนึ่งนั้นอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี่คือเส้นทางวัฒนธรรมขอมที่เกิดขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งสิ้น
เมืองพระนคร หรือนครธม
ช่องประตูเส้นทางเดินจากพิมาย
ปรางค์ปราสาทเมืองศรีเทพ
ปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทพิมาย
ปราสาทบายน
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พิมาย
พระพักตร์ที่ปราสาทบายน
พระอวโลกิเตศวร
อโรคยาศาลา-ปราสาทตาเมือนโต๊จ
ปราสาทบันทายฉมาร์ (2)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี