ถ้าเอ่ยชื่อผักที่มีรสขม เชื่อได้เลยว่า ทุกคนจะนึกถึง “สะเดา” เป็นอันดับต้นๆ สะเดาเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยเรานิยมบริโภคกันมาช้านาน ส่วนใหญ่มักจะบริโภคยอดและดอกสะเดาในช่วงต้นฤดูหนาว เพราะเชื่อว่า การบริโภคสะเดาก่อนเป็นไข้ ช่วยป้องกันไข้ได้ หรือบริโภคสะเดาเมื่อเป็นไข้แล้ว ก็รักษาให้หายไข้ได้ ถือเป็นพืชสารพัดประโยชน์ที่ทุกครัวเรือนควรมีไว้ ต้นสะเดาถือเป็นต้นไม้แห่งยา เพราะทุกส่วนของสะเดาล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น สะเดาในประเทศไทยมี 3 ชนิดคือ สะเดาอินเดีย สะเดาช้าง และสะเดาไทยหรือสะเดาบ้าน คุณสมบัติของสะเดาทั้ง 3 ชนิด คล้ายคลึงกันนำมาใช้แทนกันได้ในที่นี้จะขอพูดถึงสะเดาบ้าน
สะเดาบ้าน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Veleton จัดอยู่ในวงศ์ Lythraceae มีชื่อภาษาอังกฤษ Siamese neem tree. ชื่อเรียกท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อยกว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด
การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา
สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานาน ใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรคและยาฆ่าแมลงตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากทุกส่วนของสะเดาจะมีรสขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาลาเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทาแก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดินมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็กๆ กัดทีละนิดให้รสขมออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่านิ้วชี้ ใช้ฟันขบปลายข้างใดข้างหนึ่งให้แบน แตกเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายแปรงนำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุดแล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้วเปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำๆ ออก ทุบปลายให้แตกใช้ส่วนปลายอ่อนๆ ถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม
สาระสำคัญ
ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดมี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้นมีสาร nimbin และ desacetylnimbin
ข้อควรระวัง
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี