ในช่วงฝนตก ถนนลื่น น้ำท่วม ขับรถด้วยความระมัดระวังนะครับ นอกจากจะขับรถระวังการเกิดอุบัติเหตุแล้ว อย่าลืมระวังสิ่งมีชีวิตที่หนีน้ำท่วมที่ขึ้นมาบนถนนที่กำลังเดินข้ามถนน เช่น “เต่า” ด้วยนะครับ
เราจะทำอย่างไร เมื่อพบเต่าถูกรถทับ จนกระดองแตกล่ะครับ
สิ่งที่สามารถทำได้ตรงจุดที่สุด ก็คือรีบพามาส่งที่ “ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ” ครับ
แล้วข้อพึงปฏิบัติเมื่อพบเต่าที่โดนรถทับ เพื่อเกิดความปลอดภัยมากที่สุด ควรทำอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝากครับ
ขอสรุปเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ
1.ก่อนยกเต่าขึ้นมาจากพื้น ให้เราหาแผ่นไม้หรือพลาสติกแข็งๆ มารอง คล้ายกับเวลาที่เราขนย้ายคนป่วย เพราะกระดองเต่าที่แตกนั้น ถ้ายกไม่ดีแล้ว จะทำให้เต่าเจ็บมาก โดยเฉพาะถ้าหักด้านล่าง
2.ถ้าพบว่ามีเลือดออก ให้ทำการห้ามเลือดโดยการใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซพันหรือกดแปะไว้เลยนะครับ อย่าเพิ่งดึงออก และไม่ควรเช็ดเอาก้อนเลือดออกเพราะจะเป็นการเอาลิ่มเลือดที่อุดแผลไว้ออก จะทำให้เลือดไหลออกมาอีกครับ
3.ในกรณีที่กระดองหลังแตกมาก จนยุบลงหรือเห็นเนื้อแดงๆ ปลิ้นออกมามาก เราต้องระวัง เป็นพิเศษ อย่าให้ผ้าที่ห้ามเลือดกดทับหนักไป จะทำให้หายใจไม่ได้ เพราะปอดเต่าอยู่ด้านหลัง
4.และถ้ากรณีที่กระดองแตกมากๆ ให้ใช้ผ้ารองแล้วใช้เทปพันไม่ให้ขยับเขยื่อนมากนัก ในขณะขนส่งไปพบสัตวแพทย์
5.ควรให้เต่าป่วยอยู่ในที่แห้งๆ “ห้ามให้แช่น้ำ” เพราะจะทำให้น้ำเข้าไปในช่องอกและช่องท้อง จะทำให้ติดเชื้อโรคและตายไดั
6.ควรให้เต่าได้รับความอบอุ่นพอควร ไม่เอาไว้ในที่เย็นเช่นห้องแอร์ เพราะเต่าเป็นสัตว์เลือดเย็น ระบบภูมิคุ้มกันจะดีขึ้นในสภาพอุณหภูมิที่อุ่นๆ
7.อย่าให้เกิดเสียงดัง และไม่ควรรบกวนเต่าป่วยมากนัก เพราะจะทำให้เครียด อาการจะทรุดแย่ลง
8.ถ้าเป็นไปได้ ควรป้องกันแสง ไม่ให้สว่างเกินไป ควรใช้ผ้าหรือถุงดำคลุมให้ค่อนข้างมืด (แต่ต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกด้วย) เพื่อให้เขาพัก ผ่อนคลายหน่อย
9.อย่าพยายามป้อนน้ำหรือป้อนอาหาร เพราะเต่าสามารถอดอาหารได้หลายวัน และเมื่อถึงมือสัตวแพทย์คุณหมอจะให้น้ำเกลือต่อไป อย่าลืมว่า การป้อนที่ผิดวิธี จะทำให้เต่าตายได้ครับ
10.รีบพาไปหาสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด การปล่อยทิ้งไว้เพื่อลุ้นว่าจะดีขึ้นหรือหายเองนั้น อาจจะทำให้มีแมลงมาไข่ที่แผล เกิดหนอนขึ้นที่แผล ติดเชื้อ เลือดออกไม่หยุด และตายอย่างทรมานได้
11.หากหาสัตวแพทย์เฉพาะทางเรื่องเต่าไม่ได้ ให้พาไปหาสัตวแพทย์ที่รักษาน้องหมาน้องแมวก็ได้ แล้วโทรศัพท์หาหมอรักษาเต่าของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาฯ หมายเลข 02-2518887เพื่อให้ข้อมูลกับหมอ และให้หมอกับหมอได้ประสานงานการรักษาและแนะนำวิธีการรักษากัน เพื่อช่วยรักษาชีวิตในเบื้องต้นก่อน
12. ลำดับสุดท้าย..สวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ขอให้เขามีชีวิตรอดต่อครับ....
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี