ชิ้นส่วนไดโนเสาร์ในไทย
แหล่งดึกดำบรรพ์ที่น่าสนใจในประเทศไทยนั้น ต้องถือว่าบริเวณของเวียงเก่า เขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นจุดเริ่มต้นให้มีการศึกษาเรียนรู้ครบรูปแบบที่มีมิติของการเรียนรู้ที่แท้จริงนอกจากจะชมพิพิธภัณฑ์ ไดโนเสาร์ภูเวียง การขุดไดโนเสาร์ครั้งแรก
ของประเทศไทย แล้วยังมีรอยเท้าไดโนเสาร์ มากกว่า ๑๐ รอย บนลานหินให้เห็น และยังพบหลุมขุดค้นซากฟอสซิลไม้กลายเป็นหินที่เวียงเก่าและหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ ชนิดกินเนื้อชนิดใหม่ของโลกบนเทือกเขาภูเวียงอีก อาทิตย์นี้ขอตามรอยนายทศพร นุชอนงค์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ไปลงหลุมและขึ้นเขาหาร่องรอยดึกดำบรรพ์ที่หลบซ่อนอยู่ให้รู้ให้เห็นจนรู้เรื่อง
โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง (Phu Wiang Dinosaur Museum)นั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาที่เน้นที่การจัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่มีทั้งงานสำรวจ ขุดค้นและงานวิจัยในพื้นที่จริงอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่มีเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่าจังหวัดขอนแก่น ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และอยู่ในความกำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี ที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๔ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทยคือพบส่วนปลายของกระดูกต้นขาหลังด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอโรพอดถือเป็นหลักฐานไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทย ที่เป็นผลสืบเนื่องจากในปี พ.ศ.๒๕๑๓ นั้นหน่วยสำรวจธรณีวิทยาจากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และได้พบแร่ยูเรเนียมชนิดคอฟฟินไนต์เกิดร่วมกับแร่ทองแดงชนิดอะซูไรต์และมาลาไคต์ ทำให้ต่อมาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณูเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมด้วย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๓ กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าไปทำการเจาะสำรวจในรายละเอียด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙
ไดโนเสาร์กินเนื้อที่พบใหม่
ไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ใหม่ของโลก
แผนที่ภูเวียง
ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ภูเวียง
นายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์เศษกระดูกไดโนเสาร์บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลังท่อนบนด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอริสเชียในกลุ่มซอโรพอดคือไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี ๔ ขา คอยาว หางยาว โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทยที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน ความต่อเนื่องจากงานการด้านบรรพชีวินวิทยา ไทย-ฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียงนั้นทำให้มีการค้นพบกระดูก ฟัน และรอยตีนไดโนเสาร์จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พบอยู่ในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปีมาแล้ว มีทั้งไดโนเสาร์ซอโรพอดและเทอร์โรพอด หลากหลายสายพันธุ์ และมีขนาดตั้งแต่ตัวเท่าแม่ไก่ ไปจนถึงมีลำตัวยาวจากหัวจรดหางมากกว่า ๑๕ เมตร นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ จนมีความตื่นตัวเรื่องดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยมากขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพาคณะกรรมการรางวัลนานาชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งทำให้การค้นพบแหล่งไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียง สร้างชื่อเสียงให้กับเทือกเขาภูเวียงเป็นอย่างมาก
ศูนย์ศึกษาวิจัยไดโนเสาร์
ห้องศึกษาและวิจัยไดโนเสาร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลและชนิดใหม่จากภูเวียงที่ชื่อว่า ภูเวียง โกซอรัส สิรินธรเน ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง นอกจากแหล่งขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกแล้ว ต่อมาได้มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลรวมถึงรอยเท้าไดโนเสาร์ รวม ๙ แห่งแล้ว ปัจจุบันพบแหล่งใหญ่ของซากฟอสซิลไม้กลายเป็นหินที่เวียงเก่าและหลุมขุดค้นไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดใหม่ของโลกบนเทือกเขาภูเวียงอีก นี่คือแหล่งดึกดำบรรพ์แหล่งใหญ่ของประเทศที่รอการสำรวจทั้งหมด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี