ถ่ายทอดการศึกษาลายผ้าอยุธยา
อาทิตย์นี้ขอตามรอยผ้าอยุธยาจากการเดินทางทำงานของผู้รู้สนใจเรื่องผ้ามากว่า ๒๕ ปี โดยทุนวิจัย ICCR ของรัฐบาลอินเดีย และทุน JAPAN FOUNDATION นั้น ได้ทำให้นักเรียนต่างจังหวัดได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวข้อมูลผ้าทอที่สนใจจากอินเดีย-ญี่ปุ่นความยากลำบากจากหลักฐานที่เหลืออยู่และบุคคลผู้ที่ยังถ่ายทอดผลงานมาแต่บรรพบุรุษ ตลอดจนการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผ้าทอนั้นได้ทำให้ ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ อาจารย์คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นบุคคลที่ยอมรับถึงความรู้และเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าทอหรือสิ่งทอโบราณทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังปรากฏผลงานการศึกษาผ้าทอของไทย-อินเดีย และญี่ปุ่น ขึ้นคือการศึกษา “Shamuro-zome” ผ้าลายสยามในญี่ปุ่น ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นการบ่งชี้ความสัมพันธ์ด้านศิลปะในอดีตของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ
ดร.สิทธิชัย สมานชาติ
นอกจากนั้นยังมีเดินทางหาความรู้ไปถึงผ้าทอจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นถิ่นต่างๆ ของประเทศอีกมากมาย แบบไม่มีวัดหรือท้องถิ่นผ้าทอใดจะตกหล่นได้เลยในแถบอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท พิษณุโลก กรุงเทพฯโดยเฉพาะเส้นทางเรือสำเภาสยามเคยจอดส่งสินค้าที่ญี่ปุ่น มีท่าเรือในโตเกียว เกียวโต นารา ไซตามะโอซากา ฮิโรชิมา โอกินาวา รวมทั้งเกาะฮิราโดะที่เกี่ยวข้อง ส่วนในอินเดีย แหล่งต้นตอการผลิตลายผ้าอยุธยานั้น ก็เดินทางรถไฟด่วน ๓ วัน ด้วยความยากลำบากเพื่อไปคุชราต และต่อแดนถึงปากีสถานเพื่อค้นหาคำตอบและสอบค้นแหล่งผลิตผ้า
ผลงาน ผ้าลายอย่าง ที่เดินทางมาอยุธยา
ด้วยความรู้ความสามารถแบบสนใจใฝ่รู้ด้านผ้าทอโบราณ และผ้าทอจากพื้นถิ่นนี้ ทำให้อาจารย์ได้รับความไว้วางใจเป็น Vice President World Crafts Council Asia Pacific และเป็นบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือจากนักวิชาการสิ่งทอจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสมาคมสิ่งทอประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์จากผ้าลายอยุธยา
ตลอดเวลาที่มีการเดินทางสืบค้นนั้นมีผลงานบทความเกี่ยวกับผ้าทอนั้นเผยแพร่อยู่เสมอจนเป็นที่รู้จักกันดีในนิตยสารสกุลไทย วารสารวัฒนธรรมไทย ดังนั้นเมื่องานศึกษาผ้าอยุธยาชื่อ ผ้าลายอย่าง มรดกสิ่งทออยุธยา ถูกนำมาพิมพ์แจก จึงเป็นเรื่องยินดีของประเทศอาเซียนที่จะสนใจใคร่รู้มากขึ้น เดิมหนังสือเรื่องนี้เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษมากว่า ๓ ปี ไม่มีโอกาสให้คนไทยอ่านซึ่งเป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดเสมอ หากไม่มีคนอย่าง ดร.ดุลย์พิชัย โกมลวานิช ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีใจกับความสำคัญในเนื้อหาผ้าอยุธยาที่เป็นมรดกแผ่นดินแล้ว จะอุปถัมภ์ให้แปลทำไมโดยมี ดร.มนวิภา ประชัญคดี ช่วยปรับปรุงเนื้อหาโดยมีแรงหนุนจากผู้ใหญ่ใจดีผู้เป็นคหบดีแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา จัดพิมพ์แจกฟรีให้แก่หน่วยราชการและสถาบันการศึกษาทั่วไป ซึ่งหากันได้ยากยิ่งนักในสังคมปัจจุบัน
ผ้าลายอย่าง มรดกของอยุธยา
ประเด็นสำคัญนั้นคือการศึกษานี้พบว่าในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นั้น ทรงมีพระราชสาส์นไปถึงราชวงศ์ริวกิว ส่งผ้าลายไปในช่วงที่พระองค์ประทับอยู่เมืองพิษณุโลก ต่างจากงานวิจัยญี่ปุ่นว่าส่งไปจากลพบุรี เส้นทางการขนถ่ายสินค้าผ้านั้นมีท่าเรือหลายแห่ง เช่น มะริด ตะนาวศรีเกี่ยวข้องด้วย และพบตราประทับตราผ้าในสมัยอยุธยาว่าการสั่งผ้าต้องผ่านพ่อค้าฮอลันดา อังกฤษ ในช่วงที่แหล่งผลิตผ้านั้นถูกยึดครอง เมื่อเปรียบเทียบลายผ้าโบราณจากคลังผ้าที่ญี่ปุ่นกับลวดลายศิลปะอยุธยาแล้ว พบว่าเป็นศิลปะร่วมยุคสมัยในลายเดียวกันที่มีการสร้างสรรค์กันทั้งลายผ้าและลายปูนปั้น ลายแกะสลักไม้และลายรดน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบผ้าตัวอย่างว่ามีการวางระบบกรวยเชิงตามชั้นยศ ดังนี้ ผ้านั้นมีการทำ ๔ ชั้นเป็นกรวยเชิง ๓ กับหน้านาง ๑ ไม่ใช่ ๓ ชั้น ที่เข้าใจแต่เดิม ผ้า ๓ ชั้น เป็นกรวยเชิง ๒ กับหน้านาง ๑ ผ้า ๒ ชั้นเป็นกรวยเชิง ๑ หน้านาง ๑ ซึ่งไม่พบผ้าในไทย ซึ่งมีขอบผ้ามีกรวยเชิงทำจากโจฬะมณฑล ส่วนผ้าที่รู้จักเป็นลายหน้านางชั้นเดียวนั้นส่วนมากผลิตจากคุชราตฝั่งตะวันตก นี่คืองานศึกษาทั้งชีวิตของผู้รู้จริง ต้องขอบคุณคนใจดีที่เกิดขึ้นในสังคมจนทำให้งานดีแบบนี้ไม่ถูกทิ้งให้จมแผ่นดิน
นักวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้สิ่งทอกัน
ช่างทอผ้าพื้นบ้านที่สานต่อฝีมือ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี