นครสัมโบรไพรกุก
ความสัมพันธไมตรีด้านศิลปวัฒนธรรมและศาสนาระหว่างไทยกับกัมพูชา โดย นายวีระ โรจนพจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกับ นางเพรือง ซะโกะนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์นั้น ได้ทำให้การสานต่อกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมต่อกันและร่วมมือกันจัดพิธีสวดมนต์ข้ามปีในโอกาสเปลี่ยนศักราชวันขึ้นปีใหม่แล้ว ยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแหล่งโบราณคดีสำคัญของสองประเทศด้วย ปัจจุบันประเทศกัมพูชานั้นมีจำนวนนักท่องเที่ยวพากันเดินทางมาเที่ยวกัมพูชามากกว่า ๕ ล้าน ทุกปี สิ่งที่ดึงดูดความสนใจส่วนใหญ่คือความมหัศจรรย์ของปราสาทหินทั้งในกัมพูชาและไทย ในโอกาสนี้การเดินทางชมปราสาทสัมโบรไพรกุกที่กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากนั้นจึงเป็นที่สนใจ ด้วยยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ.๒๕๖๐ ทำให้กัมพูชามีแหล่งมรดกโลก ๓ แห่ง คือ นครวัดในจังหวัดเสียมเรียบ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปีพ.ศ.๒๕๔๗ และเขาพระวิหาร ในปีพ.ศ.๒๕๕๑ กลุ่มปราสาทสัมโบรไพรกุก ตั้งอยู่ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางเหนือพื้นที่ป่าอันสงบเงียบตั้งอยู่ในจังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา เดินทางไปทางเหนือของกรุงพนมเปญ ประมาณ ๑๙๓ กม. แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญที่สุดของก่อนยุคอังกอร์เรียน เป็นกลุ่มที่มีปราสาทหลายแห่งตั้งอยู่ โดยสถาปัตยกรรมของปราสาทเหล่านี้นับเป็นสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่าสัมโบรไพรกุก (Sambor Prei Kuk) ในภาษาเขมรแปลว่า “วัดในป่าที่อุดมสมบูรณ์” ที่กลุ่มปราสาทนั้นยังปรากฏร่องรอยของเมืองหลวงรวมถึงใจกลางเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบ และปราสาทที่เป็นศาสนสถานสำคัญหลายแห่งที่สร้างขึ้นจากหินทราย มีทับหลัง หน้าบัน ซึ่งทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในภาพ เป็นรูปแบบของทับหลังในศิลปะไพรกเมงที่จะคลี่คลายไปสู่แบบศิลปะกำพงพระ โดยมีการทำเส้นวงโค้งเป็นเส้นตรงเพียงเส้นเดียว กลางทับหลัง และปรากฏเหรียญอยู่กลางเส้นวงโค้ง ตามรูปแบบของศิลปะไพรกเมงแต่อย่างไรก็ตามตัวเหรียญได้ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของลายใบไม้ซึ่งเหมือนกับปลายของทับหลังทั้งสองด้านปรากฏเป็นลายใบไม้ขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาลายใบไม้ดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในศิลปะกำพงพระ-สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอิศานวรมันแห่งอาณาจักรเจนละภายหลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพยึดฟูนันได้สำเร็จ ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงมายังเมืองสัมโบรไพรกุก ซึ่งบางส่วนยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนถือว่าเป็น “ผลงานชิ้นเอกที่แท้จริง”
กำปงธม ต้อนรับ รมว.วัฒนธรรมของไทย
กลุ่มปราสาทสัมโบรไพรกุกนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด ๒๕ ตารางกิโลเมตร ยูเนสโกระบุว่า พื้นที่นี้ถูกเรียกว่า อิศานปุระ (Ishanapura) ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโบราณเจนละ (Chenla)ในวัฒนธรรมขอม ในช่วงปลายศตวรรษที่ ๖-๗ ก่อนหน้าจักรวรรดิขอมจะเข้ามาแทนที่ กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรมของกัมพูชาได้แถลงการณ์ว่า “การตัดสินใจของคณะกรรมการยูเนสโกครั้งนี้คือความภาคภูมิใจครั้งใหญ่ของประเทศ” โดยการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของสัมโบรไพรกุกนั้นได้ทำให้นักท่องเที่ยวไปยังสถานที่แห่งนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้เพิ่มงบประมาณในการดูแลรักษาสถานที่แห่งนี้เป็นอย่างดี
แหล่งโบราณคดีสมโบรไพรกุก (Sambor Prei Kuk) นั้นสันนิษฐานว่าเคยเป็นนครอิศานปุระ เมืองหลวงแห่งอาณาจักรเจนละ (Chenla Empire) ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงปลายศตวรรษที่ ๖ จนถึงต้นศตวรรษที่ ๗ อิศานปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรเจนละ ที่เจริญรุ่งเรืองในปลายศตวรรษที่ ๖ต่อเนื่องถึงต้นศตวรรษที่ ๗ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอิศานวรมันที่ ๑ กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละจากการสำรวจพบร่องรอยของเมืองแห่งนี้ ประกอบด้วยจุดศูนย์กลางที่มีกำแพงล้อมรอบ รวมถึงวัดวาอารามจำนวนมาก ซึ่งลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบสมโบรไพรกุกคือ การใช้หินทรายในการตกแต่งส่วนต่างๆ อาทิ ขื่อประตู หน้าจั่ว และเสาค้ำสถาปัตยกรรมดังกล่าวนั้นถือเป็นต้นแบบของสิ่งปลูกสร้างยุคพระนคร (Angkor period) ในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งพัฒนาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะเขมรที่ทำให้สองประเทศต่างได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี