จากผู้นำด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการดำเนินการและลงทุน
ในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังน้ำ ในประเทศไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านพลังงาน (energy as a service) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
บัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่บีซีพีจี เปิดเผยว่า นอกจากบีซีพีจีได้ให้ความสำคัญกับการผลิตพลัง งานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้วบีซีพีจียังคำนึงถึงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการพลังงาน อาทิ เทคโนโลยี Blockchain, AI, IoT ฯลฯ เพื่อให้ไฟฟ้าทุกหน่วยที่ผลิตได้ มีการนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด ไม่มีเหลือทิ้งให้สูญเปล่า ตามแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการ T77 ที่บีซีพีจี ได้นำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาบริหารจัดการพลังงาน สร้างปรากฏการณ์เปลี่ยน“Consumer” เป็น “Prosumer” จนได้รับความสนใจไปทั่วโลก โครงการ Smart University มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการที่เราเข้าไปบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานอัจฉริยะ ทำให้ทุกคนในโครงการมีอิสระในการผลิต ใช้ และแลกเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินทุกหน่วยอย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพเป็นต้น
ล่าสุด บีซีพีจีได้ติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำกำลังการผลิต 39.5 กิโลวัตต์ ให้กับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าของไทย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ผลิตจากโซลาร์ลอยน้ำทั้งหมด ทำให้อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นแห่งแรกของโลกที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) และเนื่องจากเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จึงมีพอให้ส่งต่อไปยังอาคารใกล้เคียง ไม่มีการเหลือทิ้งให้สูญเปล่า
“บีซีพีจีติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำให้กับพิพิธภัณฑ์ฯ ในบ่อน้ำพื้นที่ 10 ไร่ ทำให้มีการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และประการสำคัญ เราตั้งใจให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ ในการทดลองโซลาร์ลอยน้ำบนสภาพพื้นที่ที่ใกล้เคียงหนองบึงส่วนใหญ่
ของไทยมากที่สุด ทำให้สามารถนำไปประยุกต์หรือถ่ายทอดต่อยอดได้ง่าย อีกทั้งที่คณะประมงยังมีการศึกษาวิจัยด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดใต้แผงโซลาร์ลอยน้ำ และเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่ได้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้นวัตกรรมแผงโซลาร์ลอยน้ำในประเทศไทย สำหรับการทำเกษตรกรรม หรือกสิกรรมในอนาคต” บัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี