แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เผยข้อมูล “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” (Alpha-Lactalbumin) หนึ่งในสารตั้งต้นในการสร้าง “สารสื่อประสาท” เพื่อทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพสูงสุดของเด็ก พบมากในนมแม่ และอาหารบางประเภทอย่างชีสบางชนิด
ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ ดูปองท์
ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ ดูปองท์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฝรั่งเศส กล่าวถึงบทบาทของแอลฟา-แล็คตัลบูมินว่า แอลฟา- แล็คตัลบูมิน เป็นสารอาหารที่พบมากในนมแม่ สร้างการขับเคลื่อนการทำงานของสมอง บทบาทของแอลฟา-แล็คตัลบูมิน คือเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพสูงสุดของเด็ก โดยสารอาหารแอลฟา-แล็คตัลบูมินได้รับความสนใจจากนักวิจัยต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ครั้งแรก ตั้งแต่ 20 กว่าปีที่แล้ว และมีการศึกษาที่เรียกว่า Good Clinical Practice Studies มากมายในหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เรียกได้ว่า แอลฟา-แล็คตัลบูมิน เป็นสารอาหารสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างสูงและมีความปลอดภัย
พ.ญ.วิมล ลี้วิบูลย์ศิลป์
พ.ญ.วิมล ลี้วิบูลย์ศิลป์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถึงความสำคัญของ แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ที่ช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทและการทำงานของสมองว่า “ช่วงนี้มีคุณแม่มาปรึกษาและถามคำถามเรื่องแอลฟา-แล็คตัลบูมินค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ก็จะถามว่า แอลฟา-แล็คตัลบูมิน คืออะไร ช่วยเรื่องพัฒนาศักยภาพสมองอย่างไร โดยส่วนใหญ่คุณแม่อาจจะทราบแต่เพียงว่าในเนื้อสมองประกอบด้วยเซลล์สมองจำนวนมากนับล้านเซลล์ แต่ที่น่าสนใจคือ เซลล์สมองนับล้านเซลล์จะทำงานได้ต้องมีการสื่อสารกัน ผ่าน “สารสื่อประสาท” ถ้าไม่มีสารสื่อประสาทสมองก็ทำงานไม่ได้ โดยเฉพาะในร่างกายเด็กไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาทขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่สำคัญหลายอย่าง หนึ่งในสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างสารสื่อประสาทก็คือ แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ที่ช่วยการทำงานของสมอง ก่อให้การเรียนรู้ ความทรงจำ และส่งผลต่อความคิด การสร้างสรรค์ และเป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีความสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานของสมอง
พ.ญ.อัมพร สันติงามกุล
ด้านกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม พ.ญ.อัมพร สันติงามกุล กล่าวถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้สมองของเด็กสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยการกระตุ้น รวมถึงการได้รับสารอาหารสำหรับสมองที่ดีว่า “ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กก็จะแนะนำคุณแม่ให้ดูว่า ลูกสนใจสิ่งใดให้เริ่มสอนจากสิ่งนั้นแล้วค่อยขยายความสนใจให้กว้างขึ้น ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นของเล่น จะเป็นอะไรก็ได้รอบๆ ตัวแต่ขอให้เป็นสิ่งที่ลูกสนใจ ให้ใช้ของสิ่งนั้นเล่นกับลูก อธิบายพูดคุย พร้อมๆ ไปกับการสอนลูกผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ อย่างไปพร้อมกัน โดยให้จับ ฟัง มอง เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ ของเขา ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจสิ่งต่างๆได้รอบด้านและจำได้แม่นยำ ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่หมอใช้เลี้ยงลูกค่ะ”
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ แอลฟา-แล็คตัลบูมิน สอบถามได้ที่ S-26 club โทร.02-640-2288
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี