ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาด้านการแพทย์การสาธารณสุข และอุทยานวิทยาศาสตร์สุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อยกระดับมาตรฐานพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพ (Health Security) ของประเทศ ระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมี พล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย เทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามเป็นสักขีพยานในพิธี จากนั้น ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศไทย กับ สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมี พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 อาคารบริหาร 2 สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564
อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กก.ผจญ.บมจ.ปตท.
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ เพื่อให้การควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ประสานงานให้ความช่วยเหลือ รวมถึงให้บริการฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด พร้อมทั้งได้รับมอบหมายในการประสานหาความร่วมมือด้านต่างๆเพื่อให้การบริหารจัดการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงได้รับความเห็นชอบให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลประเทศไทยในการจัดหาและนำเข้าวัคซีนเพื่อเพิ่มเป็นทางเลือกให้ประชาชนร่วมกับการบริหารจัดการวัคซีนซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อประเทศชาติและสุขอนามัยของประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพ ตลอดจนผลข้างเคียงของวัคซีนต่างๆ ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องด้วยการดำเนินการประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชน ทั้งในและต่างประเทศในการกระจายวัคซีนต่างๆ ให้ได้ในทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกก.ผจญ. บมจ.ปตท.ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมี พล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ เทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกก.ผจญ.บริหารองค์กรและความยั่งยืน บมจ.ปตท.ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน
สำหรับการลงนามความร่วมมือระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือด้านการแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามพระปณิธานใน ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อการพัฒนาเรื่องความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือในการกระจายวัคซีนให้กับประชากรในภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง สร้างมาตรฐานความปลอดภัย และเพิ่มขีดความสามารถที่จะช่วยเหลือให้ประชาชนทุกระดับได้กลับไปดำเนินชีวิตวิถีใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี