“ขยะ...ไม่ใช่ขยะ หากได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง” คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย เพราะวัสดุที่เราใช้แล้วหลายชนิดสามารถกลายเป็นทรัพยากรอันมีค่าด้วยการหมุนเวียนกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่ รวมถึงยังช่วยสร้างรายได้อีกด้วยอย่างที่เรียกกันว่า เงินทองจากกองขยะ นั่นเอง “เอสซีจี เคมิคอลส์” ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุพลาสติก และผู้ริเริ่มโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” ได้ขับเคลื่อนโมเดลการจัดการขยะในชุมชน ด้วยการนำแนวทาง “บ-ว-ร” ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน มาเชื่อมต่อกับ “ธนาคารขยะ” ในชุมชน ทำให้เกิดการบูรณาการ ทั้งระบบ และได้นำร่องที่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง ตั้งแต่ต้นปี 2562 การขับเคลื่อนผ่านกระบวนการ บ้าน-วัด-โรงเรียน- ธนาคารขยะ นั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างความรู้ความเข้าใจและการวางรากฐานการจัดการขยะภายในชุมชนอย่างบูรณาการ รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรม “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กลุ่มเยาวชน” ที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ด้วยเหตุนี้เอง เอสซีจี เคมิคอลส์จึงได้ร่วมกับเครือข่ายการศึกษาจัดทำชุดความรู้เรื่องคุณค่าของทรัพยากร และการจัดการขยะในโรงเรียน ซึ่งได้ผ่านกระบวนทดสอบ ทดลอง และปรับปรุง จนกระทั่งได้ขยายผลไปสู่โรงเรียนต่างๆ
น้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแบรนด์และกิจการเพื่อสังคมเอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า “การปลูกฝังทัศนคติเรื่องการใช้ทรัพยากร และการจัดการขยะที่ถูกต้องให้กับเยาวชน ถือเป็นการวางรากฐานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับสังคม มุ่งให้เยาวชนมีพฤติกรรม“ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” และนำการเรียนรู้จากโรงเรียนไปสู่ครอบครัวและชุมชน ทีมงานจากเอสซีจี เคมิคอลส์ จะทำงานร่วมกับทางโรงเรียน เพื่อประเมินปัญหาด้านขยะที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน จากนั้นจึงนำมาออกแบบการเรียนรู้ สิ่งที่เรากังวลใจมากที่สุด คือจะทำอย่างไรให้เด็กๆ สนใจไม่เบื่อหน่าย และคำตอบที่ได้ก็คือ ต้องทำให้เรื่องการจัดการขยะ เป็นเรื่องสนุกที่ให้สาระให้เด็กๆ สัมผัสได้จริง ในที่สุดก็มาลงตัวที่การสร้างฐานเรียนรู้การจัดการขยะให้เด็กๆ ได้ลงมือทำจริง เรียนรู้เรื่องนี้ทุกวันผ่านประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น ฐานถุงนมกู้โลก ฐานโรงอาหารรักษ์โลก เป็นต้นโดยในปีนี้ เรามีแผนขับเคลื่อนการจัดการขยะในโรงเรียนกว่า 10 แห่ง พร้อมทั้งได้ส่งมอบฐานเรียนรู้ฯ ให้แก่โรงเรียนนำร่อง3 แห่ง ได้แก่โรงเรียนบ้านมาบตาพุด โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า และโรงเรียนวัดมาบชลูด โดยจะขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ หลังจากที่โรงเรียนสามารถเปิดสอนได้ตามปกติ”
วไลลักษณ์ จินต์หิรัณย์กุล ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ CSR เอสซีจี เคมิคอลส์ หนึ่งในทีมงานผู้ขับเคลื่อนโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ กล่าวถึงการจัดการขยะในโรงเรียนว่า “ทีมงานได้พบคุณครู และเด็กๆ เพื่อให้ความรู้เรื่องวัสดุชนิดต่างๆ และทำให้เห็นถึงคุณค่าของวัสดุที่ใช้แล้ว เช่น ถุงนมโรงเรียน สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หากได้รับการจัดการที่ถูกต้อง เมื่อเข้าใจถึงประโยชน์และเห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เด็กๆ จะเกิดทัศนคติใหม่ว่า ขยะไม่ใช่ขยะอีกต่อไป โดยเราได้ร่วมกับโรงเรียนวิเคราะห์ปัญหา เรียนรู้ประเภทขยะในโรงเรียน พร้อมใช้ความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ และประสบการณ์การทำงานกับเครือข่ายต่างๆมาหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ขยะแต่ละประเภทได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบติดตามผลและพัฒนาต่อยอดเพื่อให้การปฏิบัติเกิดขึ้นได้จริงอย่างยั่งยืน”
สนอง เพ็ชรฉกรรจ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดชากลูกหญ้า กล่าวว่า “ฐานเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ จากเอสซีจี เคมิคอลส์ช่วยปลูกจิตสำนึกเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการขยะให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี เมื่อเด็กๆ ออกไปใช้ชีวิตในชุมชนก็จะนำนิสัยนี้ติดตัวไป ช่วยบอกต่อพ่อแม่ว่าขยะนั้นสามารถเพิ่มรายได้และมีมูลค่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นี้สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ได้อีกด้วย”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี