เขาภูสิงห์
ด้วยชุมชนหลายแห่งนั้นได้สร้างความเข้มแข็งในวิถีวัฒนธรรมของตนเองเกิดขึ้นหลายแห่งตามโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องให้เป็นต้นแบบ ในแต่ละภาคที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน อาทิตย์นี้ได้ตามรอยสยามไปทางภาคอีสาน ด้วย ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวรปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และคณะได้ไปเปิดชุมชนต้นแบบที่บ้านโนนบุรี หมู่ที่ ๑ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ แม้ว่าจะเป็นชุมชนเกิดใหม่ที่เพิ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ ก็ตาม แต่ด้วยพื้นที่นี้มีแหล่งน้ำที่สำคัญ อันสืบเนื่องจากปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นั้น รัฐบาลโดยกรมชลประทานได้ดำเนินการสร้างเขื่อนลำปาวเพื่อกักเก็บน้ำใช้ในการเกษตร ให้เป็นเขื่อนดินที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้านเรือนของราษฎร จนทำให้ราษฎรนั้นพากันอพยพหนีน้ำจากบ้านเก่า ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ ที่เดิม มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณโคกภูสิงห์ในพื้นที่การปกครองของนิคมสร้างตนเองลำปาวทำให้เกิดตำบลแห่งใหม่ขึ้นในชื่อ ตำบลโนนบุรีที่ตั้งให้เป็นเกียรติกับ นายบุรี พรหมลักขโณ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ในสมัยนั้น นิคมสร้างตนเองลำปาวแห่งนี้ ได้จัดสรรที่ดินวางผังเป็นตารางให้ราษฎรตั้งบ้านเรือน โดยทางราชการให้สร้างชุมชนตลาดให้เป็นห้องแถวที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ ลักษณะอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวติดต่อกันหลายคูหาให้ครอบครัวละ ๓ ห้อง รวม ๙๐ ครอบครัว สร้างพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ซึ่งปัจจุบันห้องแถวบางหลังแห่งยังคงสภาพเดิมและบางหลังปรับปรุงเป็นห้องแถวสมัยใหม่
โดยเฉพาะถนนกลางเมืองนั้นได้รักษาเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้ไว้เป็นอย่างดี นับเป็นต้นแบบของการสร้างบ้านแปงเมืองที่เห็นได้ในปัจจุบัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์สมัยนั้น ได้นำประชาชนร่วมใจกันสร้างพระพรหมภูมิปาโล ประดิษฐานบนหลังเขาภูสิงห์ ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ดำเนินการสร้างถนนสระน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้และขุดสระน้ำเพื่อใช้เองในบริเวณหลังบ้าน นับเป็นชุมชนที่มีผังเมืองที่อนุรักษ์รูปแบบห้องแถวไม้เก่า และทุกคนได้ร่วมกันสร้างวิถีของหมู่บ้านเศรษฐกิจค้าขายพร้อมกับสืบสานภูมิปัญญาและประเพณีของตน เช่น การทอเสื่อกก การทำขนมโบราณ การทอผ้า และจัดงานประเพณีประจำปี เช่น บุญประเพณีตักบาตร ในวันสำคัญ แห่เทียนเข้าพรรษา รดน้ำขอพรผู้สูงอายุงานตักบาตรเทโวในวันออกพรรษา และสร้างการต้อนรับแขกเยือนด้วยการเต้นคองก้า เป็นต้น
เมื่อมีการค้นพบแหล่งดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ขึ้น ชุมชนแห่งนี้จึงจัดถนนคนเดินตามโครงการพัฒนาเมืองอุทยานโลกไดโนเสาร์ เรียกว่าถนนไดโน(Sahatsakhan Dino Road) ให้ชุมชนโนนบุรีนั้นเป็นหมุดหมายของการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นับเป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ด้วยตัวเองจากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และชาวชุมชนร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น ได้แก่สวนไดโนเสาร์ พิพิธภัณฑ์สิรินธรเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทยถนนไดโนโรด ซึ่งเป็นถนนสายวัฒนธรรม วัดพุทธาวาส (วัดภูสิงห์) ขึ้นไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และชมทิวทัศน์จากยอดภูสิงห์ ภูกุ่มข้าว ภูค่าว เขื่อนลำปาว และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่งดงาม รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อาทิ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มแปรรูปอาหาร (ปลา) นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์ ผ้าสไบแพรวาลายขิดไดโนเสาร์โฮมสเตย์ที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน เพื่อร่วมขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ตามนโยบายของรัฐบาล และผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทย โดยนำต้นทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และบริการทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คลี่คลายลงแล้ว โดยมี Mobile Application “เที่ยวเท่ๆเสน่ห์เมืองไทย” ทั้งในระบบ iOS และ Android เป็นแอปพลิเคชั่นที่รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยเส้นทางท่องเที่ยว ๗๖ จังหวัด ไว้ให้เป็นเส้นทางเที่ยวกันด้วย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี