มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำ BCG Model ผสานการดำเนินงานเชิงรุก 3 ด้าน 1.อาหารสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ 2.สิ่งแวดล้อมและพลังงาน 3.ล้านนาสร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อน MedicopolisBiopolis และ Creative Lanna พร้อมผลักดัน “BCG แม่เหียะโมเดล” เป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติให้ชุมชนนำไปต่อยอดให้เหมาะกับแต่ละท้องที่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์การขับเคลื่อนไทยด้วย BCG Model ซึ่ง ครม. ได้อนุมัติงบด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ววน. ปี 66 กว่า 1.43 แสนล้านบาท เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด
BCG โมเดล เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่มุ่งสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติโดยเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตแบบก้าวกระโดดกระจายโอกาส กระจายรายได้ ที่จะนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B : Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C : Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และสอดรับกับ G : Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน
โดยเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา จำนวน 114,634.7682 ล้านบาท และกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จำนวน 29,100 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 143,734.7682 ล้านบาท ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สนอว.) เสนอ ซึ่งการอนุมัติกรอบงบประมาณในครั้งนี้เป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของประเทศ
ในการกำหนดนโยบายบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) ฉบับปรับปรุง 2563 ซึ่งจะนำไปสู่แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 ในช่วงปีหน้านี้ ได้มีการนำ BCG โมเดล เข้ามาผนวกกับยุทธศาสตร์เชิงรุก 3 ด้านหลักของมหาวิทยาลัย ได้แก่ 1.อาหารสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ 2.สิ่งแวดล้อมและพลังงาน และ 3.ล้านนาสร้างสรรค์
ซึ่งเป็นเรือธงสำคัญของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ผ่านการดำเนินงาน CMU BCG PLATFORM ประกอบด้วย Medicopolis เมืองนวัตกรรมการแพทย์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ มุ่งสร้างสังคมสุขภาพดี ลดความเหลื่อมลํ้าเข้าถึงเทคโนโลยีและบริการ สร้างมูลค่า งานวิจัย นวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วยนวัตกรรมการแพทย์ Biopolis ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจฐานชีวภาพ และ Creative Lanna ศูนย์รวมองค์ความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรมและสร้างนวัตกรรมเพื่อชูภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์
ในการดำเนินการเกี่ยวกับ BCG โมเดล นั้น มหาวิทยาลัยได้พัฒนาศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะให้เป็น “BCG แม่เหียะโมเดล” เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติโดยบูรณาการองค์ความรู้ 3 ด้าน Bio CircularGreen ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์การดูแลผู้สูงอายุ อาหาร มาผนวกกับสิ่งแวดล้อมพลังงาน และการสร้างสรรค์เศรษฐกิจมูลค่าสูงของวัฒนธรรมล้านนาเข้าด้วยกัน
BCG แม่เหียะโมเดล เป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ
ต้นน้ำ – มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมเป็นหลัก ทั้งในเรื่องของการเพาะปลูกพืชการเลี้ยงสัตว์
กลางน้ำ – จากเดิมเป็นการแปรรูปที่ต่อยอดจากการเกษตร เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปแบบขั้นเดียว เช่น แปรรูปจากธัญพืชข้าวมันสำปะหลังเป็นแป้งซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเชิงลึก ซึ่งได้พัฒนานวัตกรรม CMURL 1-3 มีการบ่มเพาะเทคโนโลยีมาระดับหนึ่งแล้ว และได้มีการขยายผลของกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลางน้ำ ส่งผลให้พื้นที่แม่เหียะมี Pilot Project หลายโครงการเกิดขึ้น เช่น โรงงานสกัดสารมูลค่าสูงกลายเป็นวัตถุดิบทางชีวภาพ แทนการแปรรูปขั้นเดียวเหมือนที่ผ่านมาโดยมีการนำวัตถุดิบมาเพิ่มมูลค่า ด้วยกระบวนการสกัดแล้วแยกสารบริสุทธิ์ออกมา ซึ่งมีคุณประโยชน์ในเชิงการแพทย์ และอาหารฟังค์ชั่นเป็นอย่างมาก เช่น กัญชา เมื่อนำหลักวิทยาศาสตร์เชิงลึกเข้ามาใช้ในกระบวนการสกัดน้ำมันทำให้สามารถแยกองค์ประกอบของสารได้หลากหลายชนิดและมีความบริสุทธิ์สูงขึ้น เมื่อนำสารเหล่านี้ไปต่อยอดใช้ในเชิงการแพทย์ จะสามารถพัฒนาไปสู่กระบวนการในการผลิตยาใหม่ได้ในอนาคต
ปลายน้ำ – มุ่งเน้นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์การเพาะปลูกพืช ซึ่งมักเกิดของเหลือทิ้งทางการเกษตรหากกำจัดด้วยวิธีแบบดั้งเดิม คือนำไปเผา จะเกิดปัญหา PM 2.5 จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไรให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้นำไปใช้ประโยชน์ต่อได้โดยมีการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม สร้างเป็น Pilot Project เพื่อจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร รวมถึงของเสียจากการใช้ชีวิตประจำวันเช่นขยะชุมชนซึ่งปัจจุบันพื้นที่ไร่แม่เหียะมช. มุ่งเป็น Zero Waste เป็นการตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสนับสนุนแนวทางcircular economy คือ มีการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ในขณะเดียวกันมีการนำของเสียแปรรูปเป็น Bio Energy พลังงานชีวภาพ เป็น Green พลังงานสะอาดและนำกลับมาใช้ประโยชน์ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานได้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความตั้งใจสร้างแม่เหียะโมเดลให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของ Bio Circular Green เพื่อให้ประชาชนและชุมชนได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า แต่ละท้องที่ทั้งระดับของเทศบาล อบต.หรือชุมชน ไม่ว่าจะมีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ก็สามารถใช้โมเดลที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างขึ้นนี้ เพื่อเรียนรู้และนำไปประยุกต์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ได้
กล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอบสนองรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model โดยใช้องค์ความรู้ที่เรียกว่า CMURL 1-3 ที่ได้พัฒนาความรู้เชิงลึกขึ้นมา มีการขยายผลให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ด้วยการผลิตนำร่องในขอบข่ายของ CMURL 4-7 แล้วต่อยอดไปสู่การใช้งานในพื้นที่ชุมชนได้จริงเป็น CMURL 8-9 ท้ายที่สุดแล้ว คนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือประชาชนและสังคม ด้วยการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจจากรูปแบบของพืชเศรษฐกิจใหม่กระบวนการแปรรูปแบบใหม่ที่ทำให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นนี้ก็จะเป็นตัวที่สะท้อนกลับในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจในชุมชนอย่างแท้จริงที่สำคัญที่สุดก็คือชุมชนจะปลอดมลพิษ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี