ในเมื่อทะเลนั้นเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของผู้คนได้ใช้ดำรงชีวิต ดังนั้น การตั้งถิ่นฐานที่ต้องอยู่กับท้องทะเลจึงเป็นวิถีชาวเลที่น่าสนใจ อาทิตย์นี้ขอตามรอยสยามไปยังหมู่บ้านปันหยีอ่าวพังงา และหมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นชุมชนต้นแบบของการเที่ยวชุมชนยลวิถีของกระทรวงวัฒนธรรม ที่บ้านสามช่องเหนือ ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ในท้องทะเลอันกว้างไกลของอันดามันนั้นทำให้อ่าวพังงามีเสน่ห์จากไม้โกงกาง ป่าชายเลนและหมู่เกาะน้อยใหญ่ที่พบว่ามีถ้ำของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เคยอยู่อาศัยพร้อมกับฝากร่องรอยภาพเขียนสีไว้ให้ดูต่างหน้า การตั้งถิ่นฐานบนเกาะปันหยีนี้นั้นเกิดขึ้นประมาณปลายศตวรรษที่ ๑๘ โดยชาวประมงผู้เป็นชาวมาเลย์ที่เร่ร่อนหากินเป็นยิปซีในทะเล ทำให้เกาะปันหยีมีชื่อภาษามาเลย์ว่า Pulau Panji ด้วยข้อกฎหมายที่กำหนดความเป็นเจ้าของที่ดินให้กับคนที่มีสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียวนั้นทำให้ชาวเล หรือชาวมาเลย์นั้นต้องปันเสาเข็มลงบนทะเลโดยมีเขาสูงเหมือนหมุดหมายแห่งธงนั้นเป็นที่กำบังและจุดสังเกต
เมื่อการท่องเที่ยวได้ให้ความสนใจต่อชีวิตชาวเล ก็ทำให้เพิ่มความมั่งคั่งให้กับชุมชนจากชาวประมงเร่ร่อนนั้นเป็นชุมชนการท่องเที่ยว จึงได้มีการสร้างแหล่งน้ำจืดและมัสยิดบนเกาะไปพร้อมกับธุรกิจการท่องเที่ยวจากทรัพยากรที่หาได้ใน
ท้องทะเล ในไม่ช้าชาวประมงก็เปลี่ยนเป็นวิถีของคนชาวทะเลหรือชาวเลให้เติบโตมีมากกว่า ๓๖๐ ครัวเรือนมีประชากรมากกว่า ๑,๖๘๕ คน ชาวเลนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่รับความทันสมัยซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากฟุตบอลโลก ๑๙๘๖ รวมตัวทำทีมฟุตบอลปันหยี ซึ่งเป็นสโมสรเยาวชนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย ในพ.ศ. ๒๕๕๔ จนมีการนำเรื่องฟุตบอลลอยน้ำในทะเลไปทำภาพยนตร์สั้นจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก จนเป็นชุมชนที่มีรายได้อยู่กลางอ่าวทะเลพังงาจากการนั่งเรือชมหมู่เกาะทะเลงาม มุดช่องลอด ชมต้นแสมดำคู่ หรือต้นปีกลางทะเล เขาตะปู เขาพิงกัน ท่องทะเลรับสายลมแสงแดด ผจญกับกระแสคลื่นลมที่กระหน่ำตลอดเวลาแล้ว ยังมีรสชาติของอาหารสดจากกุ้ง หอย ปูปลา สาหร่ายพวงองุ่น ไข่มุกธรรมชาติ และของที่ระลึกจากทะเล เช่นเดียวกับชุมชนต้นแบบที่บ้านสามช่องเหนือ สามารถเดินทางเรือต่อเชื่อมกับเส้นทางทะเล อ่าวพังงามายังชุมชนนี้ได้ บ้านสามช่องเหนือนี้ตั้งอยู่ริมทะเลป่าชายเลน ในอดีตนั้นชุมชนนี้นอกจากมีอาชีพประมง ออกหาปลาในทะเลแล้วยังอาศัยการตั้งเตาถ่านเผาไม้จากป่าชายเลนขึ้นเรือสำเภาส่งขายมาเลเซียด้วย เดิมเรียกว่าบ้านทับเหนือ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยทำกินชั่วคราวของชาวประมง จนมีบ้านเรือนหนาแน่นและประกอบอาชีพปลูกยางพาราขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ จึงเปลี่ยนชื่อจากบ้านทับเหนือ เป็น บ้านสามช่องเหนือ จากการที่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่กลางเส้นทางน้ำ คือ มีคลองบางหลาม คลองเชียงใหม่ และคลองตาจอ ที่ไหลมารวมกันเรียกว่าคลองสามช่อง เป็นชุมชนมุสลิมทั้งหมดจึงมีวิถีชาวคลองสามช่องที่อยู่กับธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นห่วงโซ่ทรัพยากรทางทะเลโดยธรรมชาติอยู่โดยรอบ ซึ่งต้องปรับตัวตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติตลอดเวลา ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านสามช่องเหนือ ที่ร่วมกันสร้างฐานรากของเศรษฐกิจชุมชน โดยการนำของนายประสิทธิ์ นนทรี ประธานชุมชนคุณธรรมฯบ้านสามเหนือ จึงนำพาให้ ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวรปลัดกระทรวงและคณะที่ปรึกษา ข้าราชการที่เกี่ยวข้องไปร่วมแสดงความยินดี และเยี่ยมชมชุมชนที่ได้รับยกย่องเป็นชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ของกระทรวงวัฒนธรรมถึงการสร้างงานสร้างรายได้ ร่วมกับจังหวัดพังงาโดย นายเถลิงศักดิ์นุชประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ซึ่งสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำผ้ามัดย้อมจากต้นตะบูน พืชทะเลในท้องถิ่น การนำเหงือกปลาหมอมาสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น สมุนไพรสบู่, ครีม, ยาหม่อง,การนำไม้โพทะเลมาแกะสลักเป็นเรือจำลอง และของที่ระลึกอื่นๆ จากงานสลัก, การใช้ของพื้นบ้านผลิตขนม เครื่องดื่ม และการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านของตนที่มีการถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง...อันเป็นภูมิปัญญาจากชาวบ้าน เช่นเดียวกับนายสุรศักดิ์ ทองย้อย ชาวประมงธรรมดาที่หาปลาจากทะเลสามารถเรียนรู้เรื่องนกท้องถิ่นจากป่าชายเลน เกาะแก่ง จนจับมาเลี้ยงในยามว่างได้...นี่คือเสน่ห์จากทะเลที่หาได้ยากนัก
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี