สถาบันเกอเธ่ประเทศไทย จัดโครงการ เครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (NetzwerkKlima) คัดเลือกนักเรียนจาก
6 ประเทศ รวมตัวกันทำกิจกรรมในหัวข้อการพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านการฝึกภาษาเยอรมันควบคู่ไปด้วย
เยิร์ก คลินเนอร์ (Jorg Klinner) รองผู้อำนวยการแผนกภาษาเยอรมัน และมาร์คุส ชติเชล (Markus Stichel) ผู้ดูแลโครงการโรงเรียนความร่วมมือแห่งอนาคต (PASCH) สถาบันเกอเธ่ประเทศไทย หัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ จัดกิจกรรมด้วยการคัดเลือกเยาวชนอายุ 16 ถึง 18 ปี มาเข้าค่ายสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดแนวคิดและเพื่อให้มีการค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลดีและมองเห็นปัญหาที่หลากหลายยิ่งขึ้น
สำหรับบรรยากาศและกิจกรรมในการเข้าค่าย มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมพร้อมพูดคุยเสวนา โดยสถาบันเกอเธ่ฯ ได้ประยุกต์ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ CLILiG ซึ่งเป็นการผสมผสานเนื้อหาทางวิชาการที่ทำให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการควบคู่ไปกับการเรียนภาษาเยอรมันด้วยเยาวชนทุกคนจึงถูกจัดอยู่แบบคละกัน และไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมใดให้ทุกคนต้องใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก
นอกจากนี้ ก็มีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่เพื่อให้เรียนรู้และปฏิบัติได้จริง เช่น การทำสวนในพื้นที่เมือง การปลูกผักปลอดสารที่ชุนชนบ้านท่าดินแดง การอนุรักษ์ทะเล หรือการลดจำนวนขยะพร้อมแปรรูปเป็นสิ่งของที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพาไปสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา ซึ่งแต่ละที่ที่ได้ไป จะมีการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยในแต่บริบทที่แตกต่างกัน
กิจกรรมท้ายสุด ให้เยาวชนในแต่ละชาติจัดการแสดงประจำชาติของตนที่ทุกคนสัมผัสได้ถึงจุดร่วมแตกต่าง เป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์และวัฒนธรรมของประเทศของตนให้เป็นที่รู้จักอย่างภาคภูมิใจ
สิ่งที่เยาวชนในค่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมได้รับในครั้งนี้ คือความรักในธรรมชาติและต้องการดูแลสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะถูกทำลาย และให้ทุกคนตระหนักว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าใครคนหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่งจะลงมือทำได้เพียงลำพัง โดยเยาวชนทั้งหมดที่มาเข้าค่ายครั้งนี้ เปรียบเสมือนเหล่ายุวทูตสิ่งแวดล้อมที่จะกลับไปขยายความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเครือข่ายรากหญ้าในที่ที่ตัวเองอยู่ เพื่อกอบกู้สถานการณ์ที่กำลังหนักหนาสาหัสในเวลานี้
“การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างนักอนุรักษ์ธรรมชาติรุ่นใหม่จากหลายๆ ประเทศ เป็นกิจกรรมที่สามารถ
ผลักดันให้พวกเขาต้องการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศของตัวเองต่อไปได้ เราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของเหล่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ” มาร์คุส ชติเชล ผู้ประสานโครงการและผู้ติดต่อประสานงานโครงการ โรงเรียนความร่วมมือแห่งอนาคต (PASCH) สรุปจุดยืนของการจัดค่ายนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี