พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
เดือนกันยายนนี้ เป็นเดือนที่มีวันสำคัญอยู่หลายวัน คือวันที่ ๘ กันยายน เป็นวันการเรียนรู้แห่งชาติ วันที่ ๑๙ กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย (Thai Museum Day) วันที่ ๒๐ กันยายน เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ รวมถึงวันที่ ๓๐ กันยายน เป็นวันสิ้นปีงบประมาณ ที่มีการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งหน้าที่และวันเกษียณอายุราชการ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันของการเรียนรู้จากหนังสือ วันเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และวันของเยาวชนผู้เป็นคนที่จะต้องเรียนรู้วิชาเพื่ออนาคตนั้น ต้องถือว่าเดือนนี้มีความสำคัญต่อการสังคมการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะวันพิพิธภัณฑ์ไทย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้ประกาศให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย” เป็นการเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของพิพิธภัณฑสถาน ซึ่งพระองค์นั้นได้โปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง หอคองคอเดีย ขึ้นในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๗ โดยจัด หอคองคอเดีย ให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของไทย ครั้งแรกนั้นเรียกทับคำศัพท์ว่า“มิวเซียม” หรือ “หอมิวเซียม” ส่วนชื่อเต็มนั้นคือศาลาสหทัยสมาคม เป็นอาคารใหม่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง สำหรับใช้จัดแสดงศิลปะโบราณ วัตถุ โบราณต่างๆ และเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมเป็นครั้งแรกในวันนั้น โดยจัดแสดงงานศิลปะ โบราณวัตถุต่างๆ เป็น ๓ กลุ่ม คือ ศิลปะโบราณวัตถุของไทย ศิลปะโบราณวัตถุส่วนพระมหากษัตริย์ และศิลปะโบราณวัตถุจากต่างประเทศ ต่อมากิจการพิพิธภัณฑ์ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงการจัดพิพิธภัณฑ์ตามแบบสากลมากขึ้น จนมีผู้สนใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ทำให้มีการจัดพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นมากมาย ทำให้โบราณวัตถุที่มีค่าทั้งหลายนั้นได้ออกมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านกาลเวลามานับร้อยนับพันปี จนพิพิธภัณฑ์นั้นกลายเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินทางชมได้หลายแห่งทั่วประเทศ พร้อมกับกระทรวงวัฒนธรรมได้ตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (Thai National Committee for International Councilof Museum) ขึ้น เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการฯนั้นสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และได้เพิ่มหน่วยงานที่ภารกิจด้านพิพิธภัณฑ์ขึ้น โดยปรับปรุงกรรมการให้ตรงกับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานประกอบด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี หรือผู้แทน อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือผู้แทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติหรือผู้แทน ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ รองอธิบดีกรมศิลปากร (ที่อธิบดีกรมศิลปากรมอบหมาย) ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ : สปาฟา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาหรือผู้แทน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมหรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นายกสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทยโดยมีผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรมศิลปากร เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และผู้อำนวยการ กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ทำให้มองอนาคตว่าแหล่งเรียนรู้นั้นได้เกิดกิจการพิพิธภัณฑ์ขึ้นทุกระดับทั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์จากหน่วยงานราชการและพิพิธภัณฑ์จากภาคเอกชน ดังนั้นบทบาทใหม่ของพิพิธภัณฑ์จึงมีการปรับเปลี่ยนบทบาทจนมีการเชื่อมโยงเนื้อหาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น พิพิธภัณฑ์วันนี้ได้มีการพัฒนารูปแบบและการใช้เครื่องมือสื่อความเข้าใจทันสมัยขึ้นรวมถึงการสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์มากขึ้น...จนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างภูมิความรู้ความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถีวัฒนธรรมไปสู่การพัฒนาตนในอนาคตได้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี