คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองบางราย มักคิดว่า “ลูกอ้วน” คือเด็กน่ารัก น่ากอด แต่รู้ไหมว่าความน่ารักที่มาจากความอ้วนนั้นอาจไม่เป็นผลดี และหากปล่อยให้เด็กอ้วนต่อไปเรื่อยๆ ในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย
แพทย์หญิงรังรักษ์ สวนดอกกุมารเวชศาสตร์ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children’s Health Center) โรงพยาบาลนวเวช กล่าวถึงสาเหตุของโรคอ้วนในเด็กและอันตรายที่เกิดจากโรคอ้วนว่า สถิติเด็กทั่วโลกมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ป่วยโรคอ้วนมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายไปจนถึงสุขภาพจิต ทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเองและกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจดูแลอาหารการกินของเด็ก รวมถึงส่งเสริมให้เด็กใส่ใจสุขภาพและเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำหนักเกินจนเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้
สาเหตุของโรคอ้วนในเด็กนั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น การบริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยอาหารฟาสต์ฟู้ด มีพลังงานสูง พฤติกรรมการออกกำลังกายไม่สมดุลกับพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ลูกของคุณห่างไกลจากโรคอ้วนในเด็ก ด้วยการดูแลอาหารการกินของลูกให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
ภาวะอันตรายจากโรคอ้วนในเด็ก มีผลเสียต่อสุขภาพหลายด้านไม่ว่าจะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่านี่คือโรคที่พบในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วโรคเหล่านี้สามารถพบได้ในคนอายุน้อยๆ ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ ภาวะนี้จะส่งผลเสียถึงการนอนที่ไม่เพียงพอและส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็กด้วยเช่นกัน ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
ผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น การถูกเพื่อนล้อ ถูกบูลลี่เรื่องรูปร่าง จนทำให้เกิดความเครียดและอาจเป็นโรคทางจิตเวชได้ รวมทั้งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อบางอย่าง เช่น โรคโควิด
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเพื่อลูกคือ 1.ควบคุมปริมาณอาหารที่เพียงพอต่อลูกในแต่ละวัน 2.ให้รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยเป็นประจำ 3.หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารทอด เช่น อาหารฟ้าสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประโยชน์ 4.งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน ชานมไข่มุก เป็นต้น 5.ไม่ควรปล่อยให้อยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุ 2-5 ขวบ ไม่ควรให้ดูเกินครึ่งชั่วโมงต่อวัน 6.ให้ลูกออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่มีการขยับร่างกาย อย่างน้อย30 นาทีต่อวัน 7.หากิจกรรมประจำวันที่ให้ลูกมีการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดินบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินเล่นในบ้าน สนามเด็กเล่น หรือสวนสาธารณะ 8.พาลูกเข้านอนให้เป็นเวลาและนอนให้เพียงพอ เด็กๆ ควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพราะ Growth Hormone จะหลั่งได้ดีหลัง 4 ทุ่ม และการนอนดึกหรือนอนน้อยนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของความอ้วนจะมีฮอร์โมนคอร์ติซอลกระตุ้นให้เกิดภาวะหิวบ่อย
หากมีข้อสงสัยหรือขอรับคำปรึกษาภาวะโรคอ้วยในเด็ก สามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์สุขภาพเด็ก
(Children’s Health Center) โรงพยาบาลนวเวช โทร.02-4839999 หรือ www.navavej.com
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี