Reception Bangkok, Grand Palace 1890
ใน National Gallery Singapore นอกจากจะมีนิทรรศการของ Liu Kuo Sue ที่น่าสนใจแล้ว ที่นี่ยังมีนิทรรศการภาพถ่ายที่ตั้งชื่อได้อย่างน่าสนใจว่า Living Pictures :Photography in South East Asia ภาพถ่ายต่างจากภาพเขียนในมุมมองของศิลปินตรงที่มันสามารถเก็บรายละเอียดและมีความเป็นชีวิตชีวามากกว่า อีกทั้งยังสามารถส่งผลกระทบกับผู้คนทั่วโลกได้อีกต่างหากด้วยในปัจจุบันการถ่ายภาพเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไปโดยเฉพาะในยุคของ Social Media Age แล้วการถ่ายภาพในแต่ละวินาทีของบุคคลทั่วไปเกิดขึ้นทั่วโลกยิ่งคนเอเชียด้วยแล้วได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่คลั่งไคล้การถ่ายภาพและวีดีโอมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ในโลกสามารถถ่ายภาพและวีดีโอได้ด้วยต้นทุนแสนต่ำ และมีคุณภาพดียิ่งแต่การถ่ายภาพที่มีคุณภาพดีและแทบไม่มีต้นทุนนั้นเพิ่งเกิดขึ้นไม่ถึง 10 ปีนี้เอง ในอดีตการถ่ายภาพเกิดขึ้นไม่มาก การเข้าถึงการถ่ายภาพเป็นเรื่องยากเย็น การถ่ายภาพจึงมีความหมายยิ่ง ภาพถ่ายบางภาพสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองโลกได้เลยทีเดียวทั้งนี้เพราะภาพถ่ายเป็นสิ่งสะท้อนโลกและเปิดมุมมองโลกได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
นิทรรศการ Living Picture นี้ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายที่เกิดขึ้นจากจินตนาการว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค
มีอะไรบ้าง ภัณฑารักษ์ได้เลือกหัวข้อที่แตกต่างหรือเหมือนกันของแต่ละประเทศมาจัดแสดงเรียงร้อยกันเป็นเรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ ภาพถ่ายที่นำมาจัดแสดงนี้ส่วนใหญ่เป็นผลงานของศิลปินที่ใช้ภาพถ่ายมาสร้างอิทธิพลต่อแนวคิดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสร้างคำถามต่อการรับรู้ของคนในชาติ ภาพถ่ายเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับกษัตริย์ ความเป็นชาติ การยืนยันให้เห็นถึงความทันสมัย ความท้าทายของชนชั้น เพศ ลำดับ นักท่องเที่ยวที่ได้ชมนิทรรศการจะได้มีโอกาสใช้จินตนาการตามไปด้วย บางคนอาจรู้สึกคล้อยตาม บางคนก็โต้แย้งกับสิ่งที่มองเห็นจากมุมมองของศิลปิน
Children of Chulalongkorn in pool
เมื่อนิทรรศการ Living Picture เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ย่อมมีเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยด้วย เรื่องราวของไทยที่ภัณฑารักษ์เลือกมาจัดแสดง ก็คือ เรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยก็เล็งเห็นถึงอำนาจของภาพถ่ายที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการสื่อสารเช่นกัน ภาพเหมือนหรือภาพถ่ายครอบครัวเป็นสิ่งที่สถาบันฯ ประสงค์จะแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความทันสมัย การเรียงลำดับในการนั่ง การแต่งตัวเสื้อผ้า เครื่องประดับต่างๆ ในภาพถ่ายสะท้อนถึงความทันสมัย อีกทั้งยังต้องการสื่อให้ช่างภาพซึ่งเป็นชาวต่างชาติเห็นถึงความมีวัฒนธรรมและเศรษฐานะเพื่อดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชาติ และหลีกหนีการเป็นเมืองขึ้นในช่วงที่มีการล่าอาณานิคมครั้งใหญ่จากชาติยุโรป นอกจากชาวยุโรปที่มีความสามารถในการถ่ายภาพแล้ว ในเวลาต่อมาชาวจีนก็เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่เริ่มนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพมาสู่ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยด้วยการที่ชาวจีนเปิดห้องภาพทำให้ความสามารถในการเข้าถึงการถ่ายภาพตกลงสู่ชนชั้นกลางมากขึ้นจนกลายเป็นจุดตั้งต้นของการแสดงสถานะของชนชั้นกลางนับจากนั้นมายิ่งกว่านั้น การถ่ายภาพยังนำไปสู่การบันทึกเหตุการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวละคร และการทำโฆษณาอีกต่างหากด้วย
นักท่องเที่ยวที่ได้ชมนิทรรศการจะได้มีโอกาสเห็นภาพถ่ายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และ 5 พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ที่แสดงถึงความทันสมัยของประเทศที่ทัดเทียมกับชาติยุโรปอย่างยิ่ง หลายภาพอาจเป็นภาพที่เคยเป็นความลับไม่เคยเผยแพร่ให้ที่ใดให้ได้ชมมาก่อนเลยจึงเป็นโอกาสดีที่ได้ชื่นชมจนเกิดความภาคภูมิใจในประเทศ และความประทับใจที่ยากจะลืมเลือนเลยทีเดียว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี