Here They Come by Korh Sia Yong
โดยทั่วไปในหอศิลป์ประจำชาติมักมีผลงานของศิลปินในชาติจัดแสดงมากที่สุดในโลก ใน National Gallery Singaporeนอกจากจะมีนิทรรศการภาพถ่ายแล้ว ยังมีงานจิตรกรรมของศิลปินสิงคโปร์อยู่เป็นจำนวนมากด้วย สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประวัติไม่ยาวนานนัก เริ่มต้นจากการเป็นศูนย์กลางทางการค้าในทะเลก่อนที่จะเข้าสู่ประวัติปัจจุบันของสิงคโปร์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงที่เป็นเมืองท่าของจักรวรรดิอังกฤษในปี 1819 ต่อมาในปี 1867 อาณานิคมของอังกฤษแห่งนี้ได้รับการจัดองค์กรใหม่แต่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษจวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองที่ถูกครอบครองโดยญี่ปุ่นในปี 1942 และกลับคืนสู่ความเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี 1945 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ต่อมาในปี 1959 สิงคโปร์ก็ได้รับการประกาศอิสรภาพและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย แต่ภายหลังด้วยการนำของ Lee Kuan Yew สิงคโปร์จึงได้กลายเป็นประเทศอิสระในปี 1965
ในช่วงที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกต่อต้านการเป็นอาณานิคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ล้วนเคยเป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรปมาก่อนไม่ว่าจะเป็นพม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ หรืออินโดนีเซียยกเว้นไทยที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้น ของไทยกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่อายุน้อยในช่วงเวลานั้นได้ก่อตั้งกลุ่มที่เรียกว่า The Equator Art Society ขึ้นโดยเน้นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม วรรณกรรมหรือดนตรีที่อุทิศให้แก่ความเป็นอิสระ และชาตินิยม ศิลปินที่มีรากเหง้าหรือถือกำเนิดในสิงคโปร์หรือมาเลเซีย เชื่อว่าศิลปะควรสะท้อนถึงวิถีชีวิตประจำวัน การทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพวกเขาจึงเน้นสร้างสรรค์งานที่สะท้อนความเป็นตัวของตัวเอง การยังชีพ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มชนชั้น
Here They Come detail by Korh Sia Yong
ภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นหัวข้อหนึ่งที่ศิลปินชาวสิงคโปร์นิยมสร้างสรรค์ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะชนชั้นกรรมาชีพเป็นกลุ่มชนที่สะท้อนถึงการปากกัด
ตีนถีบและความยากลำบากในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้เป็นอย่างดี อาทิ Labourer by Lai Foong Moi ภาพกรรมกรที่มีสายตาเหม่อลอยสะท้อนให้เห็นถึงความสิ้นหวังและว่างเปล่า Workers Resting by TayBoon Pin ก็เป็นอีกผลงานหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหนื่อยล้าของชนชั้นกรรมาชีพ On Strike by Tim Tee Chie ภาพที่คนขับรถบัสรวมตัวกันหยุดงานเพื่อเรียกร้องสิทธิก่อนการจลาจล ปี 1955 เป็นผลงานที่ศิลปินต้องการตอกย้ำให้เห็นถึงความเป็นจริงในชีวิตของชนชั้นกรรมาชีพ Here They Come by Korh Sia Yong และ Picking by Tay Kok Wee ภาพชาวบ้านเข็นของหลบหนีเจ้าหน้าที่เหมือนอย่างหาบเร่ไทยหลบหนีเทศกิจในปัจจุบัน และคนเร่ร่อนเก็บปลาที่หกระเนระนาดเป็นภาพที่ศิลปินต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านเกิดจากความกวดขันของเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขที่มีต่อหาบเร่ นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสได้ยลผลงานของศิลปินชาวสิงคโปร์เหล่านี้ย่อมตระหนักได้ว่าความสามารถของศิลปินสิงคโปร์มีความทัดเทียมกับศิลปินยุโรปทั้งในแง่ความงดงามของฝีแปรงและการสื่อสาร แม้สิงคโปร์จะดำรงความเป็นชาติได้เพียงไม่กี่ปีเองก็ตาม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี