Barber by Ong Kim Seng
ใน National Gallery Singapore นอกจากจะมีผลงานของศิลปินสิงคโปร์จำนวนมากแล้ว ที่นี่ยังมีผลงานของศิลปินสิงคโปร์ที่สร้างสรรค์โดยใช้สีน้ำด้วย โดยทั่วไปศิลปินส่วนใหญ่มักนิยมสร้างสรรค์งานโดยใช้สีน้ำมันเพราะมันอยู่ทนกว่าและผสมสีง่ายกว่า แต่ศิลปินยุคใหม่บางคนก็ชอบสร้างสรรค์งานโดยใช้ medium หรืออุปกรณ์ทั้งในการวาดและพื้นผิวที่ต่างออกไป
แท้ที่จริงแล้วการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมโดยใช้สีน้ำมีมานานมากแล้วตั้งแต่สมัยมนุษย์ยังอยู่ในถ้ำ และมีการบันทึกย้อนหลังไปได้ถึงสมัยอียิปต์ อย่างไรก็ดีการสร้างสรรค์งานโดยใช้สีน้ำเริ่มมีกันอย่างจริงจังในสมัยเรอเนสซองส์ Albrecht Durerศิลปินชาวเยอรมัน ยุคเรอเนสซองส์เป็นคนแรกที่นิยมสร้างสรรค์งานแนวทิวทัศน์โดยใช้สีน้ำ ส่วน School ที่สำคัญที่สุดของเรอเนสซองส์เยอรมัน ที่ใช้สีน้ำมี Hans Bol เป็นผู้นำซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ Durer Renaissance แม้ในยุคบาโรค ศิลปินจะใช้สีน้ำเฉพาะตอนสร้างแบบร่าง แต่ก็ยังมีศิลปินดังบางคนสร้างสรรค์ผลงานเป็นสีน้ำด้วยเช่นกัน อาทิ Van Dyck และศิลปินชาวดัทช์แนว Flemish ส่วนศิลปินที่นิยมสร้างสรรค์งานแนวทิวทัศน์โดยเฉพาะที่มีภาพต้นไม้ และสัตว์ป่าเป็นส่วนใหญ่ก็ยังคงนิยมสร้างสรรค์งานโดยใช้สีน้ำ
Barber by Ong Kim Seng detail
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การสร้างงานด้วยสีน้ำเป็นที่นิยมในอังกฤษ อาทิ การที่ชาวอังกฤษเห็นว่าการวาดภาพสีน้ำเป็นการสะท้อนว่าเป็นผู้มีการศึกษาชั้นสูง อีกทั้งสถาปนิกและวิศวกรนิยมใช้ภาพสีน้ำในการแสดงถึงอสังหาริมทรัพย์ และใช้สร้างงานประกวดแบบเพื่อประมูลหรือแข่งขัน ยิ่งกว่านั้นในปี 1733 รัฐบาลได้ก่อตั้ง Society of Dilettanti ขึ้นเพื่อสนับสนุนทุนรอนในการวาดแผนที่อันแสดงถึงการค้นพบแผ่นดินใหม่ๆ อาทิ เอเชีย และโลกใหม่เงินทุนเหล่านี้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ที่เดินทางไปค้นพบสถานที่ใหม่ๆ สร้างสรรค์งานเสมือนหนึ่งการจดบันทึกจนกลายเป็นแฟชั่นของคนหนุ่มในสมัยนั้นที่ได้มีโอกาสออกไปท่องโลกกว้าง
ภาพเขียนสีน้ำกลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นไปอีกตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18จวบจนปัจจุบันจากการที่เริ่มมีการตีพิมพ์หนังสือ และการที่สีน้ำและกระดาษเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย พกพาสะดวก และต้นทุนไม่แพง จึงทำให้เกิดศิลปินที่ใช้สีน้ำและกระดาษเป็นสื่อในการแสดงความเห็นและเก็บบันทึกเป็นจำนวนมาก แม้สื่อชนิดนี้จะไม่คงทนนักก็ตาม Leng Joon Wong ศิลปินชาวสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียงก็เป็นอีกคนหนึ่งที่นิยมเขียนภาพสีน้ำ เขาสร้างสรรค์งาน Hokkien Street ให้มีสีสันได้อย่างยอดเยี่ยมโดยแสดงให้เห็นถึงความตัดกันระหว่างการดำเนินชีวิตของเจ้าของร้านอาหารที่กำลังยุ่งกับการทำอาหารกับบรรยากาศผ่อนคลายของลูกค้าที่กำลังรับประทานอาหาร และคนนั่งรอรับประทานอาหารอย่างสงบ หรือภาพ VanishingScene ก็เป็นภาพถนนที่อาจจะครั้งหนึ่งเคยยุ่งเหยิงเต็มไปด้วยผู้คน แต่เมื่อเวลาผ่านไปถนนกลับว่างเปล่ามีเพียงสุนัขกับแมวที่ยังคงใช้ชีวิต ณ จุดเดิมเท่านั้น
Chinatown by Gog sing Hooi detail
นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีผลงานของ Ong Kim Seng ศิลปินสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียงในการเล่นกับแสงและเงาจัดแสดงด้วย อาทิ Barber, Night Calligrapherและ Singapore Riverเขาใช้แสงจากโคมไฟช่วยสร้างภาพบุคคลที่กำลังทำงานเล็กๆ น้อยๆ ในการถ่ายทอดเรื่องราวและอารมณ์ เขาเป็นศิลปินที่ชื่นชอบใช้แสง สี และองค์ประกอบของภาพเป็นแนวทางในการบันทึกภาพภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของเมืองและชีวิตประจำวันของผู้คนในสิงคโปร์ ยิ่งกว่านั้นนักท่องเที่ยวยังจะได้ชมผลงาน Chinatown ของ Gog Sing Hooi ศิลปินจีนที่ย้ายมาพำนักที่สิงคโปร์ ที่ชื่นชอบการหาเทคนิคใหม่ๆโดยสร้างสรรค์งานจากภาพทิวทัศน์เดิมๆ อาทิ Chinatown, Singapore River เป็นต้นนักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสชมผลงานสีน้ำของศิลปินสิงคโปร์ในหอศิลป์แห่งนี้จะสามารถที่เรียนรู้ไม่เพียงเทคนิคในการสร้างสรรค์ภาพสีน้ำ แต่ยังเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์ ในเวลาไม่กี่สิบปีได้อีกต่างหากด้วย
Chinatown by Gog sing Hooi
Hokkien Street by Leng Joon Wong detail1
Hokkien Street by Leng Joon Wong detail 2
Hokkien Street by Leng Joon Wong
Night Calligrapher by Ong Kim Seng detail
Night Calligrapher by Ong Kim Seng
Singapore River by Ong Kim Seng detail
Singapore River by Ong Kim Seng
Vanishing Street by Leng Joon Wong detail
Vanishing Street by Leng Joon Wong
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี