ปฏิวัติการดูแลผิวของสุภาพบุรุษ บริษัท ซันโทรี่ เวลเนส บริษัทเพื่อสุขภาพและความงามชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวสกินแคร์ใหม่ VARON Intensive in One Serum (วารอน อินเทนซีฟ อิน วัน เซรั่ม) ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อดูแลผิวคุณสุภาพบุรุษในประเทศไทย ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาผิวของผู้ชายที่ต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างจากผิวผู้หญิง ชูเทคโนโลยี WOW (Water-in-Oil-in-Water) สิทธิบัตรเฉพาะของซันโทรี่ ซึ่งเป็นการผสานโลชั่น เซรั่ม และครีมเข้าด้วยกันเพื่อการดูแลผิวแบบ “เปิดซึม ล็อก” ครบจบในขั้นตอนเดียว ช่วยลดเลือนริ้วรอย ใบหน้าแลดูอ่อนเยาว์ เรียกความมั่นใจ และเสริมภาพลักษณ์ของคุณผู้ชายให้ดูดียิ่งขึ้น
VARON (วารอน อินเทนซีฟ อิน วัน เซรั่ม) ผลิตในประเทศญี่ปุ่น รังสรรค์มาเพื่อผิวหน้าของสุภาพบุรุษโดยเฉพาะ พร้อมส่วนประกอบสุดเอ็กซ์คลูซีฟของซันโทรี่ อาทิ สารสกัดจากถังบ่มวิสกี้ (Whisky Barrel Wood Extract) หรือสแปนิช/อิงลิชโอ๊ควู้ดที่นำมาผลิตถังซันโทรี่วิสกี้ มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งปัญหาผิว พร้อมด้วยสารสกัดจากชาอู่หลง (Oolong Tea Extract) เป็นสารต้านออกซิเดชัน อีกทั้งยังเปี่ยมด้วยสารสกัดอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผิว เช่น อะซีทิล เฮกซาเปปไทด์-8 ช่วยลดการยึดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอย พร้อมช่วยให้ผิวแข็งแรง กระชับ ยืดหยุ่น และยังมีสารอิโนซิทอล ที่ช่วยปรับสมดุลให้กับผิว ลดความมันส่วนเกินบริเวณ T-Zone ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวที่มีความแห้งบริเวณ U-Zone ช่วยให้ผิวแลดูกระจ่างใสเป็นธรรมชาติ รวมถึงสารสกัดจากพืชสควาเลนซึ่งเป็นมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีเนื้อสัมผัสบางเบา ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำร้ายผิว ล็อกความชุ่มชื้นให้ผิว ชะลอวัย ช่วยให้ผิวนุ่มลื่น เรียบเนียน
นอกจากนี้ VARON ยังใช้อิมัลซิฟิเคชั่นเทคโนโลยี หรือ WOW (Water-in-Oil-in-Water) ซึ่งซันโทรี่คิดค้นและจดสิทธิบัตร รวมโลชั่นเซรั่ม และครีมครบจบในขั้นตอนเดียว ช่วยบำรุงผิวแบบ “เปิด ซึม ล็อก” โดยโลชั่นเนื้อสัมผัสน้ำ เปิดและเติมเต็ม
ความชุ่มชื้น เซรั่มเนื้อสัมผัสน้ำซึมลึกเข้าบำรุงผิว และครีมเนื้อสัมผัสออยล์ล็อกความชุ่มชื้นให้ผิวให้ดูอิ่มน้ำช่วยตอบโจทย์ปัญหาผิว 4 ประการ ได้แก่ 1.ริ้วรอยและความหย่อนคล้อยแลดูลดเลือนลง 2.ลดเลือนจุดด่างดำและความหมองคล้ำ 3.ผิวแลดูกระชับและเรียบเนียน 4.เติมเต็มและล็อกความชุ่มชื้นให้ผิว
ทั้งนี้ ภายในงาน ซันโทรี่ เวลเนส เชิญชวนร่วมแคมเปญ10 Days Challenge (ท้าลอง10 วัน) Lucky Draw Japan Tour ที่ได้รับเกียรติจากสุภาพบุรุษหนุ่มใหญ่แนวหน้าจากวงการบันเทิงไทย อย่าง “อ่ำ” อัมรินทร์ นิติพน, ไบรอน บิชอพ และ “เชน” ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์ มาร่วมเป็นตัวแทนสุภาพบุรุษไทยกลุ่มแรกที่ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า VARON จากประเทศญี่ปุ่น พร้อมตัวแทนผู้ใช้จริง อายุระหว่าง 40-70 ปี อีก 17 คน ที่ได้เข้าร่วมแคมเปญใช้ VARON เพื่อดูแลผิวหน้า ให้ใบหน้าแลดูอ่อนเยาว์ได้ใน 10 วัน
อีกทั้งยังเชิญชวนหนุ่มๆที่สนใจเข้าร่วมแคมเปญ 10 Days Challenge (ท้าลอง 10 วัน) Lucky Draw Japan Tour เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดูดียิ่งขึ้นไปพร้อมกันได้ตั้งแต่วันนี้-31 กรกฎาคม 2566 ที่ www.varon10dayschallenge.brandstrynow.com ลุ้นรับโบนัสพิเศษมากมาย รวมถึงรางวัลใหญ่ทริปเที่ยวญี่ปุ่น 10 วัน ทัวร์ 3 เมืองดัง นารา-เกียวโต-โอซาก้า รับฟรีตั๋วเครื่องบิน ที่พัก โปรแกรมพาเที่ยว รางวัลละ 2 ที่นั่ง มูลค่า 300,000 บาท จำนวน 3 รางวัล
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VARON การสั่งซื้อสินค้า และข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ สามารถติดตามได้ที่ Website : https://store.brandsworld.co.th//ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า/Varon/c/500002 หรือ Facebook : Suntory Skincare และ Line Official Account : @suntoryskincare
บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมที่ไม่ป่วยตายด้วยไข้เลือดออก โชว์นวัตกรรมชุดตรวจหาไข้เลือดออกที่มีความไวสูงด้วยเทคโนโลยี Silver Amplification ที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยไข้เลือดออกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และสร้างสุขภาวะที่ดีให้คนไทย ในงาน “ASEAN DENGUE DAY 2023” จัดโดยกรมควบคุมโรค ร่วมกับบริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Moving Forward to Zero Dengue Death-ก้าวสู่สังคมไทย ไม่ป่วยตายด้วยไข้เลือดออก” โดยมีหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมประกาศเดินหน้าต้านภัยไข้เลือดออก มุ่งเน้นสร้างการรับรู้และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในอนาคต
มร.โซ มารูโอะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ แต่ยังคงพบผู้เสียชีวิตในประเทศไทย ทางฟูจิฟิล์มจึงเล็งเห็นความสำคัญของการรณรงค์เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรค ตลอดจนความสำคัญของการป้องกันเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ขณะเดียวกันฟูจิฟิล์ม
ในฐานะผู้นำด้านการใช้นวัตกรรมล้ำสมัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม พร้อมเดินหน้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนให้คนไทยและทั่วโลกมีสุขภาวะที่ดีขึ้นเราจึงไม่หยุดนิ่งในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ล่าสุดเรานำเสนอนวัตกรรมชุดตรวจที่มีความไวและความแม่นยำสูงด้วยเทคโนโลยี Silver Amplification โซลูชั่นของเราพัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้ด้านภาพถ่ายเพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยไข้เลือดออกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง”
สำหรับนวัตกรรม Rapid Test ชุดตรวจที่มีความไวสูงที่ฟูจิฟิล์มได้นำมาโชว์ศักยภาพในงาน “ASEAN DENGUE DAY 2023” ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยเชื้อไข้เลือดออก ที่มาพร้อมเทคโนโลยี Silver Amplification นำเสนอโซลูชั่นชุดทดสอบแบบ Point of Care (POC) Antigen Test ใช้งานสะดวกทุกที่ทุกเวลา ช่วยวินิจฉัยได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ด้วยวิธีตรวจที่สะดวก ง่าย สามารถทำได้ทุกที่
ทุกเวลา โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางหรืออาศัยเครื่องมือพิเศษอื่นๆ สามารถรู้ผลภายใน 15-20 นาที จึงช่วยให้แพทย์ตรวจพบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้เร็วและแม่นยำมากขึ้นได้สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดการป่วยและการตายจากโรคไข้เลือดออกให้แก่ผู้คนในวงกว้าง ช่วยขับเคลื่อนการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การมอบผลการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจที่ใช้ง่ายสำหรับทุกคน
โรคกลุ่มหนึ่งที่อาจลืมไม่ได้ในช่วงหน้าฝนคือ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้มีน้ำขังตามพื้นที่รวมถึงในภาชนะต่างๆ ที่อาจเอื้อต่อการวางไข่และเพิ่มจำนวนประชากรยุงที่อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะได้ ข้อมูลจาก ผศ.ดร.ทนพ.เมธี ศรีประพันธ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่
1.โรคติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus infection) เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ปัจจุบันพบการระบาดในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคนมีทั้งสิ้น 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสเดงกีซีโรไทป์ 1, ซีโรไทป์ 2, ซีโรไทป์ 3 และซีโรไทป์ 4 โดยมีพาหะคือยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus) ผู้ป่วยที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่อาจพบผู้ป่วยที่มีอาการได้ร้อยละ 10-25 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 โดยไวรัสต่างซีโรไทป์กันในผู้ที่มีอาการของโรคสามารถจำแนกได้เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ไข้เดงกี และไข้เลือดออกเดงกี ในรายที่มีไข้เลือดออกรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะช็อก นอกจากนี้ อาจพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่นๆ ได้ อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการอาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร มีผื่นตามผิวหนัง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หลังจากนั้นไข้จะลงและมีอาการดีขึ้น ในรายที่รุนแรงจะมีอาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรงความดันเลือดต่ำ อาจเกิดภาวะช็อกจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคนี้แล้ว
2.โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้ญี่ปุ่น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) โดยมียุงลาย (Aedes) ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกันกับนำโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีเป็นพาหะนำโรคอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะคล้ายโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีแต่สิ่งที่ต่างกันคือ ผู้ป่วยจะไม่มีการรั่วของพลาสมาหรือน้ำเลือดออกจากหลอดเลือด โดยอาการที่เด่นชัดของผู้ป่วยโรคนี้คือปวดข้อ มีไข้ และออกผื่น ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค
3.โรคไข้ซิกา (Zika fever) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus) โดยมียุงลาย (Aedes) ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกันกับนำโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีและนำโรคชิคุนกุนยาเป็นพาหะนำโรค ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการและสามารถหายจากโรคได้เอง อาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีผื่นแดง ตาแดง ปวดข้อ การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ให้มีความพิการได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะเล็กกว่าปกติ(microcephaly) ตัวเล็ก พัฒนาการช้า รวมถึงอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทที่เรียกว่าภาวะ Guillain-Barre Syndrome ที่ทำให้มีการอักเสบของเส้นประสาทได้ ปัจจุบัน โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน
4.โรคมาลาเรีย (Malaria) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคไข้จับสั่น ไข่ป่า ไข่ดอกสัก ไข้ร้อนเย็น เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium) โดยปัจจุบันมี 5 ชนิด ที่ก่อโรคในคน ยุงพาหะของโรคนี้ คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) การระบาดในประเทศไทยจะพบในจังหวัดหรือพื้นที่ป่าเขาที่อยู่แนวชายแดนติดต่อกับประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ผู้ป่วยมักมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 10-14 วัน อาการที่สำคัญ ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจพบอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร เหงื่อออกง่าย ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์ฟัลซิปารัม (Plasmodium falciparum) อาจมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาและเริ่มมีการทดลองใช้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกาที่มีการระบาดของโรคดังกล่าว
5.โรคเท้าช้าง (Elephantiasis หรือ lymphatic filariasis) เกิดจากการติดเชื้อหนอนพยาธิที่เรียกว่าเชื้อฟิลาเรีย (Filarial worm) โดยพบการระบาดในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่ Wuchereria bancrofti ซึ่งพบทางภาคตะวันตก
ของประเทศ และ Brugia malayi ที่พบทางภาคใต้ของประเทศ ยุงพาหะที่สำคัญ คือยุงรำคาญ (Culex) ยุงเสือ (Mansonia) และยุงลาย (Aedes) รวมถึงยุงก้นปล่อง (Anopheles) บางชนิด อาการของผู้ป่วยที่สำคัญ ได้แก่ ท่อน้ำเหลืองอักเสบ (tymphangitis) ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (lymphadenitis) มีอาการไข้เท้าช้าง มีการอุดตันในทางเดินน้ำเหลือง น้ำเหลืองคั่ง อวัยวะที่เป็นโรคจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่าภาวะโรคเท้าช้าง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Wuchereria bancrofti มักเกิดโรคบริเวณต่อมน้ำเหลืองบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ในขณะที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Brugia malayi มักทำให้เกิดโรคบริเวณขา ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคนี้
6.โรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE encephalitis) เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดจากไวรัสที่เรียกว่า Japanese encephalitis virus หรือ JE virus พาหะนำโรคที่สำคัญ คือยุงรำคาญ (Culex) อาการสำคัญของผู้ป่วย ได้แก่ ปวดศีรษะ ไข้สูง จากนั้นจะมีภาวะคอแข็ง เพ้อ ไม่รู้ตัว ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจส่งผลต่อการทำงานของสมองที่อาจทำให้เกิดภาวะพิการหรือเสียชีวิตได้ ปัจจุบันการป้องกันสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
ถึงแม้ว่าโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะบางโรคมีวัคซีนป้องกันและอีกบางโรคยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยในการป้องกันหรือลดการแพร่ระบาดและการติดเชื้อจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่ การมีสุขอนามัยที่ดีในการดำเนินชีวิต การป้องกันไม่ให้ยุงกัดการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงการใช้ยากันยุง การสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายจากยุงกัด การหลีกเลี่ยงการไปในแหล่งระบาดของยุงพาหะ นอกจากนี้ ในผู้ที่มีประวัติเดินทางไปในแหล่งที่มีการระบาดของยุงนำโรคอาจต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหรือควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองภายหลังกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของยุงพาหะ ถ้ามีอาการป่วยเกิดขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันที
สำหรับผู้สนใจข้อมูลสุขภาพและการใช้ยาของคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล สามารถติดตามได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge.php
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี