พิธีบวงสรวงพญานาคของชาวไทย
ด้วยความเชื่อเรื่องพญานาค หรือ นาคราช นั้นได้ปรากฏอยู่ในอินเดียและดินแดนอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเหตุนี้ในศาสนาทั้งพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ จึงมีความเชื่อเรื่องนาคแตกต่างกันกล่าว กระทรวงวัฒนธรรม โดย นายชัยพลสุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา นั้นได้ให้ความสนใจถึงความศรัทธาเรื่องพญานาคจากมิติศาสนา กล่าวคือ นาคในความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู นับถือว่านาคเป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งเทพที่มีพลังอำนาจวิเศษ รูปนาคจึงเป็นมนุษย์กึ่งมนุษย์กึ่งนาค อาศัยอยู่ในโลกบาดาล ที่เต็มไปด้วยอัญมณี ทองคำ และสมบัติทางโลกอื่นๆ ทำให้นาคนั้นมีความเกี่ยวพันกับน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือแม้แต่บ่อน้ำ ถือว่านาคเป็นผู้พิทักษ์สมบัติ ในตำนานฮินดูนั้นให้นาคประทับรอบพระศอของพระศิวะซึ่งได้มาจากเชือกที่ใช้กวนน้ำในเกษียรสมุทรแล้ว ยังปรากฏเป็นนาคเศษะซึ่งเป็นแท่นประทับนอนของพระวิษณุ และคล้องพระศอและแท่นประทับของพระคเณศประทับส่วนพระศิวะมักปรากฏในรูปเคารพพร้อมนาคในลักษณะคล้ายมาลัยเช่นกัน เช่นเดียวกัน นาคในศาสนาพุทธนั้นให้นาคปรากฏเป็นงูใหญ่ และมีพลังวิเศษแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวชซึ่งเชื่อว่านาคนั้นอาศัยอยู่ในบาดาล เช่นเดียวกันกับเทวดาบางรูปและอาศัยในส่วนต่างๆ บนโลกมนุษย์ และนาคที่อาศัยในน้ำ เช่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลมหาสมุทร นาคที่อาศัยบนบกอยู่ในถ้ำ สรุปความว่านาคนั้นเป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโลกบาลผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก และให้นาคนั้นทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์เขาพระสุเมรุ เพื่อปกป้องชั้นดาวดึงส์จากอสูร
นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา
ส่วน นาคในศาสนาพุทธนั้น คือนาคมุจลินท์ซึ่งปรากฏในมุจจลินทสูตรว่า ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เกิดฝนฟ้าคะนองรุนแรง พญามุจลินท์จึงได้ขดรอบพระพุทธองค์แล้วแผ่พังพานปกพระเศียรของพระพุทธเจ้าเพื่อมิให้ทรงต้องฝน หลังจากฝนหยุด พญามุจลินท์ได้คลายขดออกและแปลงกายเป็นชายหนุ่มยืนพนมมือถวายความเคารพอยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ สำหรับนาคในแม่น้ำโขงนั้นมีความเชื่อร่วมกันว่านาคเทพแห่งแม่น้ำที่มีแม่น้ำโขงเป็นที่อยู่อาศัย ที่มีสัตว์จำพวกงู, แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก ได้รับพิษจากนาคได้คายทิ้งไว้ จนความเชื่อนั้นได้เชื่อมโยงในศาสนาพุทธถึงเรื่องกำเนิดของพญานาคที่มีหลายลักษณะ คือ นาคแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที แบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมมแบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ และ แบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ ซึ่งมีการแบ่งตระกูลของนาคแบ่งออกเป็น ๔ ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลวิรูปักษ์ (นาคตระกูลสีทอง) ตระกูลเอราปถ (นาคตระกูลสีเขียว) ตระกูลฉัพพยาปุตตะ (นาคตระกูลสีรุ้ง) ตระกูลกัณหาโคตะมะ (นาคตระกูลสีดำ)แล้วยังมีความเชื่อเพิ่มอีกว่า แม่น้ำโขงนั้นเกิดจากการไถลตัวของพญานาคสองตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน และสร้างตำนานเล่าขานถึงบั้งไฟพญานาค ว่า ในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดีจึงทำบั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี
นาคในเทวรูปพระศิวะ
แม้แต่ประวัติศาสตร์ในตำนานสิงหนวัติ ก็ยังกล่าวถึงพญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่พอตกกลางคืนก็ขึ้นมาสร้างคูเมือง ๔ ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมาเมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช นอกจากนี้ ยังปรากฏความเชื่อเรื่องนาคในคำเสี่ยงทายปริมาณของน้ำและฝนที่จะตกในแต่ละปี เรียกว่า “นาคให้น้ำ” จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุดในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปีด้วยความเชื่อเรื่องนาคนั้นจึงทำให้เกิดศิลปกรรมสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับนาคขึ้น เช่นศิลปะนาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได,นาคลำยอง ซึ่งเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ที่ต่อเชื่อมกับ นาคสะดุ้ง, นาคเบือน, นาคจำลองและ นาคทันต์ หรือคันทวยรูปพญานาค ไปจนถึงการสร้างโขนเรือ (หัวเรือ) ของ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ในขบวนเรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นต้น ดังนั้น การเรียนรู้ตามรอยศรัทธาพญานาคตามแม่น้ำโขง จึงเป็นการเรียนรู้ในมิติศาสนาและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี