วัดพระธาตุสบแวน
ทางภาคเหนือนั้น กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ เป็นชนชาติที่ผูกพันอยู่ในพื้นที่มายาวนาน ซึ่งมีตำนานเล่าขานถึงชนชาติลัวะ เป็นชาติพันธุ์กลุ่มเดิมที่เป็นใหญ่อยู่ในแถบนี้ จนเชื่อว่าชาวลัวะ ในอดีตนั้นน่าจะเป็นบรรพบุรุษที่มาจากสิบสองปันนาเข้ามาอยู่ทางเหนือของล้านนาและสยาม วันนี้กลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวได้ร่วมใจกันจัดงาน เทศกาลไทลื้อ “โฮ่มฮีต โตยฮอย ร้อยใจไทลื้อ” ให้เห็นความเป็นชนชาติที่มีลักษณะเด่น จากการแต่งกายสวมเสื้อปั๊ดนุ่งซิ่นลื้อ โพกหัว สะพายย่าม ดังนั้น การที่รวมกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ๗ จังหวัดภาคเหนือ มาร่วมกันระลึกถึงวิถีวัฒนธรรมของปู่ย่าตายายที่สืบทอดกันมาณ วัดพระธาตุสบแวน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา จึงเป็นการสืบสาน รักษาและต่อยอดให้เกิดความภาคภูมิใจ ในวันเปิดงานเทศกาลวันที่๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมานั้น นางยุพาทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นประธานพิธีร่วมกับ ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทรผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นางโชติกา อัครกิจโสภากุลรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารวัฒนธรรม ๑๗ จังหวัด คณะกรรมการจัดงาน เครือข่ายทางวัฒนธรรม และสมาคมไทลื้อ ๗ จังหวัดภาคเหนือ ร่วมการทำให้งานนี้พัฒนาจากเดิม
การแต่งกายชาวไทลื้อ
ซึ่งในอดีตนั้น กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อของอำเภอเชียงคำ ได้จัดงานมาก่อนแล้ว คือจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ โดยใช้ชื่องานว่า “สืบสานตำนานไทลื้อ” เป็นงานประจำปีของอำเภอเชียงคำ จัดในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์แรกเดือนมีนาคมของแต่ละปี สำหรับการจัดครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๒๐ โดยเกิดความร่วมมือกันจัดเป็นงานเทศกาลเพื่อสร้างความสำคัญไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ โดยร่วมกันสืบสาน รักษาต่อยอดวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ๗ จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่านแพร่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา ซึ่งเป็นการสืบทอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตไทลื้อให้เกิดคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าให้สามารถนำไปต่อยอดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชน เกิดการสร้างรายได้ในอนาคตโดยในงานจัดขบวนแห่ การแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อจากจังหวัดต่างๆ การสาธิตการแห่ครัวตาน (ครัวทาน) เข้าวัด การสาธิตประเพณีตานธรรม จัดนิทรรศการมีชีวิต “วิถีวัฒนธรรมไทลื้อ” นิทรรศการผ้าลายดอกสารภี ผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดพะเยา ผ้าทอชาติพันธุ์ไทลื้อภาคเหนือการสาธิตทำอาหารไทลื้อ การจำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะการแต่งกายชุดชาติพันธุ์ไทลื้อที่แต่ละแห่งมีความแตกต่างและสร้างสรรค์อัตลักษณ์ของตน ซึ่งมีการทอลายประจำจังหวัดในภาคเหนือและจัดบริการนั่งรถรางชมแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนไทลื้อ ๕ หมู่บ้าน นับเป็น ๑ ใน ๑๖ เทศกาลเทศกาลประเพณีที่กระทรวงวัฒนธรรมประกาศยกระดับสู่ระดับชาติและนานาชาติ โดยเฉพาะจังหวัดพะเยานั้น มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอภูซาง และอำเภอจุน
การแสดงของไทลื้อ
ชาวไทลื้อของเชียงคำนี้จึงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สืบต่อจากบรรพบุรุษผู้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานมาจากสิบสองปันนา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และบางกลุ่มเคลื่อนย้ายมาจากอาณาจักรหอคำ เชียงแขง ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตแขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว โดยอำเภอเชียงคำแห่งนี้เป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้อมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ ๑๗,๐๐๐ คน นับเป็นศูนย์กลางของไทลื้อจนได้รับการยอมรับว่า “เชียงคำ” นี่คือเป็นเมืองหลวงของชาวไทลื้อในไทย ที่มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นด้วยเสน่ห์ของวิถีชีวิต การแต่งกายไทลื้อ ที่มีการสื่อสารด้วยภาษาไทลื้อ และรักษาประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อของตนไว้เป็นอย่างดีโดยมีแหล่งเรียนรู้ เช่น เฮือนไตลื้อบ้านแม่แสงดา ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อวัดหย่วน ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสนเมืองมา เฮือนไตลื้อเมืองมาง และตลาดหรือกาดชาวไทลื้อทุกวันพุธแรกของเดือน และกิจกรรม ข่วงวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้านและนันทนาการต่างๆ รวมไปถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ ทุกวันศุกร์ที่ ๒ และศุกร์ที่ ๔ ของเดือน นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่นวัดนันตาราม วัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพม่า-ไทใหญ่ พระเจ้านั่งดิน พระประธานที่ไม่มีฐานรองรับเหมือนที่อื่น น้ำตกภูซาง น้ำตกอุ่นแห่งเดียวในไทย เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเสน่ห์ของชุมชนคนไทลื้อที่มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติให้น่าเที่ยวน่ายลได้ทั้งปี
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี