กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าสานต่อ “โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลกปี 2566” ภายใต้ชื่อ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้ประกอบการและนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพด้านการส่งออกในทุกภูมิภาคมีโอกาสเข้าสู่การเป็นแบรนด์นักออกแบบ และมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของไทย เชิญ ภาณุ อิงคะวัต ที่ปรึกษาในองค์กรเพื่อสังคมและผู้ก่อตั้งบริษัทแบรนด์ Greyhound มาให้ความรู้ในหัวข้อ “การสร้างแบรนด์ในระดับสากล”
ปีนี้ได้คัดเลือกนักออกแบบจากทั่วประเทศกว่า60 ราย ให้ได้รับการบ่มเพาะ เสริมสร้างความรู้ด้านการสร้างแบรนด์ การจัดทำแผนธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่การทำความเข้าใจลักษณะของตลาดแต่ละประเทศ พฤติกรรมผู้บริโภค เทรนด์ความยั่งยืน การตลาดดิจิทัลและการใช้สื่อออนไลน์ องค์ความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด Megatrends และ Next Normal อาทิ กระบวนการออกแบบหมุนเวียน(Circular Design) การพัฒนาธุรกิจมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและมุ่งสู่ความยั่งยืน (SDGs) เป็น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ ให้สามารถพัฒนาธุรกิจและปรับตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักออกแบบ ทั้ง 2 หลักสูตร ได้แก่ ความรู้พื้นฐานของการเป็นนักออกแบบระดับสากล และค่ายบ่มเพาะนักออกแบบไทยสู่สากล
ภาณุ อิงคะวัต สะท้อนมุมมองการออกแบบไว้อย่างน่าสนใจว่า ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของคนไทยถือเป็นที่ยอมรับอันดับต้นๆ ของเอเชีย และเป็นที่จับตามองของหลายประเทศทั่วโลก แต่เรื่องหนึ่งที่บ้านเรายังขาดอยู่ คือ การคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงการวางแผนและมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน ซึ่งมีผลต่อการแข่งขันในตลาดและแนวทางการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ดังนั้น นักออกแบบทุกคนต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิดที่มีต่องานออกแบบว่า “All Design = Business” เพราะเราต้องการขายงานให้มีรายได้และใช้ความคิดสร้างสรรค์คู่กับการสร้างธุรกิจเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
“การสร้างแบรนด์ คือ การสร้างธุรกิจให้ยั่งยืน ซึ่งการทำธุรกิจให้ยั่งยืนและอยู่ได้นานต้องเกิดจากการสร้างแบรนด์ ซึ่งหมายถึงการเป็นที่รู้จักและถูกยอมรับจากลูกค้าจนเกิดเป็นความชอบ ความผูกพันและประสบการณ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ เนื่องจากแบรนด์เป็นพลังที่ซ่อนอยู่ในใจของผู้คน มีอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึก ทัศนคติและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
ซึ่งการสร้างแบรนด์ที่เข้มแข็งจะทำให้เกิดเป็นจิตวิญญาณของแบรนด์ หรือที่หลายคนเรียกว่า Brand Value อันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของแบรนด์ที่ลูกค้าจับต้องได้ทั้งทางความรู้สึกและจับต้องได้จริง นำไปสู่การต่อยอดและสร้างคุณค่าได้อีกมากมาย”
ทั้งนี้ หัวใจสำคัญปั้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยหลักการที่เป็นหัวใจสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1.ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม จะทำให้เกิดความเชื่อถือในหมู่ลูกค้า และขยายวงกว้างออกไปเป็นความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น 2.สิ่งที่เราอยากทำต้องมาบรรจบกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ การทำงานต้องมาจาก Passion
ที่ตัวเองมี โดยต้องนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องความต้องการลูกค้า เพื่อสร้างความต้องการในการซื้อขายสินค้า และ 3.ความร่วมมือจากหลายส่วน ความสำเร็จไม่สามารถเกิดได้จากคนเดียว แต่ต้องเกิดจากคนหลายส่วน เช่น ดีไซเนอร์ พนักงานขาย นักประชาสัมพันธ์ และกราฟิกดีไซเนอร์ หรือแม้แต่การทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์ (Collaboration) เพื่อทำให้เกิด The Best of Totality ของแบรนด์
ภาณุ ทิ้งท้ายว่า เมื่อสร้างแบรนด์จนมั่นคงแล้ว การขยายโอกาสไปสู่ตลาดต่างประเทศอาจเป็นสิ่งที่หลายคน
มองหา แต่อันดับแรกควรตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าธุรกิจที่ทำอยู่จำเป็นต้องไปต่างประเทศหรือไม่ และมีความพร้อม
แค่ไหนทั้งในแง่ของการจัดการธุรกิจ การบริการ และค่าใช้จ่าย รวมทั้งตลาดในประเทศไทยอิ่มตัวจนไม่สามารถขยายธุรกิจได้แล้วหรือไม่ หากสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้และพบว่าตัวเองมีความพร้อมที่จะไปต่างประเทศแล้ว
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามและสอบถามข้อมูลของโครงการเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th สายด่วนการค้าระหว่างประเทศ โทร. 1169 หรือผ่านทาง Facebook page :
Talent Thai & Designers’ Room
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี