เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 12.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นประธานแถลงข่าวส่งดาวเทียมแนคแซท 2 (KNACKSAT-2) ขึ้นสู่วงโคจร โดยมี อาจารย์ ดร.พงศธร สายสุจริต รักษาการผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และหัวหน้าโครงการ กล่าวความเป็นมาของการดำเนินโครงการดาวเทียม KNACKSAT-2 และแนะนำภารกิจของดาวเทียม พร้อมด้วยทีมนักวิจัยโครงการดาวเทียมแนคแซท ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน มจพ.
ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร กล่าวว่า มจพ. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้นำองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยไปต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในธุรกิจ ทั้งในแง่การพัฒนากำลังคน และการมีกลไกการทำงานที่ร่วมกับภาคเอกชนทุกภาคส่วน
ดร.พงศธร สายสุจริต กล่าวว่า ดาวเทียมแนคแซท 2 เป็นดาวเทียมที่ออกแบบและพัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ใช้วัสดุภายในประเทศกว่า 98% ดาวเทียมแนคแซท 2 (KNACKSAT-2) เป็นโครงการดาวเทียมคิวบ์แซท (CubeSat) ขนาด 3U (30x10x 10 ซม.) เป็นดาวเทียมที่มีรูปแบบเป็น Ride Sharing Platform หรือการแชร์พื้นที่ใช้สอยบนดาวเทียมร่วมกัน โดยดาวเทียม KNACKSAT-2 มีพื้นที่ในการบรรจุเพย์โหลด (Mission Payload) หรืออุปกรณ์เพื่อปฏิบัติภารกิจถึง 7 ระบบ วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศให้สามารถเข้าถึงอวกาศได้ง่ายขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
1. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
2. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
3. มหาวิทยาลัยพะเยา
4. มหาวิทยาลัย Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย
5. มหาวิทยาลัย University of Perpetual Help System Dalta (UPHSD) ประเทศฟิลิปปินส์
6. โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์
7. ศูนย์วิจัยระบบราง มจพ.
โดยแต่ละเพย์โหลดมีวัตถุประสงค์และภารกิจที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
ดาวเทียม KNACKSAT-2 เป็นหนึ่งความสำเร็จจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ซึ่งนอกจากภาคการศึกษาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศแล้ว KNACKSAT-2 ยังพัฒนาเพื่อสร้างตัวอย่างการใช้งานเชิงธุรกิจ ซึ่งได้รับการจัดสรรทุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และมีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้ร่วมทุนในการวิจัยและพัฒนาระบบ IoT โดยแบ่งเป็น 2 เพย์โหลด คือสาธิตการทำงานของ IoT gateway และภารกิจ Store and Forward บนอวกาศ เพื่อ สามารถรับสัญญาณ LoRa จากสถานีบนโลกได้
ดร.พงศธร กล่าวทิ้งท้ายว่า มจพ. มีกำหนดการนำดาวเทียม KNACKSAT-2 ออกจากประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำส่งเข้าสู่วงโคจรจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ช่วงต้นปี 2567 โดยความร่วมมือระหว่าง มจพ. บริษัท NBSPACE มหาวิทยาลัย Kyushu Institute of Technology (KYUTECH) และองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) “ดาวเทียมที่เราสร้างเองได้ออกไปสู่วงโคจรจริง ทำให้มี study case ที่แท้จริงในการพัฒนาบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเราต่อไป”
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี