เรือนักท่องเที่ยว
จากกระแสเที่ยวชุมชนยลวิถีนั้นได้ส่งให้เกิดความสำคัญกับ “๑๐ ตลาดบก ๖ ตลาดน้ำ” ที่กระทรวงวัฒนธรรมโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้นำเอาตลาดทั้งบกและน้ำมาแนะนำให้เห็นเป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการให้ตลาดในชุมชนแต่ละแห่งมีจุดน่าสนใจจากผลงานจากคนในชุมชนนั้น จนสามารถสร้างกิจกรรมให้เด่นชัดจนกลายเป็นจุดท่องเที่ยวขึ้นจากต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีเครือข่ายวัฒนธรรม-เขตภาษีเจริญ ร่วมกันจัดการเปิดตัว “ตลาดบกคลองบางหลวง” เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย สัมผัสวิถีชีวิตริมคลอง และเรียนรู้กิจกรรมจากงานศิลป์ ถิ่นหุ่นละครเล็ก และสินค้าของชุมชน ซึ่งก่อนหน้านั้นมีนักท่องเที่ยว เข้ามาจนเกิดตลาดที่สามารถกระตุ้นเศษฐกิจรายได้ให้ชุมชนคนบางหลวง เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมา นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้มา เป็นประธานเปิดตลาดบก“ตลาดคลองบางหลวง” โดยมี นางสาวลิปิการ์กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมนายธวัชชัย แพงไทย ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตภาษีเจริญได้ร่วมยินดีและชมตลาดโดยมีนายสมชาย พึ่งศิลป์ ประธานชุมชนกำแพงทองพัฒนา และคณะกรรมการชุมชนผู้ขับเคลื่อนตลาดให้การต้อนรับและนำชมกิจกรรมของตลาดบกริมคลองบางหลวง
คณะผู้ดูแลชุมชนคลองบางหลวง
คลองบางหลวง แห่งนี้เป็นชุมชนริมน้ำเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมเป็นชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม แต่ด้วยเป็นแม่น้ำช่วงที่อ้อมจนทำให้เรือสินค้าเสียเวลาในการเดินทางแม่น้ำมาก จึงเป็นเหตุให้พระไชยราชาธิราช โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๐๖๕ เพื่อร่นระยะทางและเวลาให้เรือสินค้าของพ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้าไปค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาได้เร็วขึ้น หลังจากขุดคลองแล้วคลองที่ขุดนั้นกลับมีขนาดใหญ่โตขึ้นด้วยกระแสน้ำไหลตรงจนฝั่งกว้างขึ้นเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้แม่น้ำสายเดิมนี้ เล็กลงเปลี่ยนสภาพเป็นคลองคือคลองทางเหนือเรียกว่า คลองบางกอกน้อย ส่วนคลองด้านใต้เรียกว่า “คลองบางกอกใหญ่” ส่วนเหตุที่เรียกคลองบางกอกใหญ่มาเป็น คลองบางหลวงนั้นได้อ้างว่า คราวขุนหลวงตากหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินสร้างราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรีนั้น ไพร่ฟ้าข้าหลวง ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ด้วยอยู่ใกล้กับกรุงธนบุรี เรียกคลองแถบนี้ว่า “คลองบางข้าหลวง” แล้วเหลือคำเป็น “คลองบางหลวง” ส่วนจะเรียก คลองบางหลวง จากการเป็นคลองขนาดใหญ่ ที่มีคลองขนาดน้อยคือคลองบางกอกน้อยคู่กัน เช่นเดียวกับเรียกแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำน้อย ที่ปรากฏในที่อื่นก็น่าจะมีเค้ามากกว่าเป็นเรื่องข้าหลวง หรือนางข้าหลวง มาอยู่ด้วยเป็นเรื่องเพิ่งมาใช้อ้างเรียกกันในสมัยหลัง
คลองบางหลวง ปัจจุบัน
วันนี้ “ชุมชนริมคลองบางหลวง” ยังรักษาวิถีความเป็นชุมชนสมัยอยุธยาให้เห็น จากโบราณสถานสำคัญ เช่น วัดกำแพง บางจาก วัดสุวรรณคีรี (ร้าง) วัดศาสาสี่หน้า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดคูหาสวรรค์ ซึ่งเดิมนั้นเคยมีไพร่หลวง และช่างฝีมือออกมาสร้างวัดดังกล่าวในสมัยอยุธยา แม้จะมีการบูรณะในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก็ยังเหลือร่องรอยของศิลปกรรมสมัยอยุธยาให้เห็นอยู่ สิ่งที่ไม่เปลี่ยนได้ก็คือสายน้ำในคลองที่ยังเป็นเส้นทางเดินทางน้ำไป-มา จากเรือหางยาวแทนเรือพาย เรืองสำเภา โดยเฉพาะวิถีชีวิตผู้คนที่อยู่ต่อรุ่นมาแต่เดิมด้วยแล้ว ก็ยังมีบ้านไม้ชั้นเดียวและมีร่องสวนผลไม้ ที่ได้กลายเป็นถนนหนทางและที่อยู่อาศัยของผู้คน ดังนั้นตลาดบกคลองบางหลวงจึงเป็นภาพสะท้อนหนึ่งที่เหลืออยู่ให้เห็นวิถีของศิลปะการแสดงที่ชุมชนได้ฟื้นฟูขึ้นแล้ว ยังปรับงานศิลปะให้เป็นที่น่าสนใจของคนรุ่นใหม่ จึงไม่แปลกที่จะมีใครต่อใครมาใช้เวลาอยู่กับการเขียนภาพ นั่งร้อยลูกปัดและนั่งซึมซับบรรยากาศริมคลองที่มีนักท่องเที่ยวไม่ขาด หากจะแต่งตัวย้อนยุคตามละครเดินเที่ยวก็เป็นความสุขที่หาได้ไม่ยาก
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี