ปาจริยา มหากาญจนะ
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะ สืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มาเป็นแนวทางในการจัดงานและสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมด้วยองค์กรธุรกิจต้นแบบด้านความยั่งยืน ได้สนับสนุนการจัดงาน SX TALK SERIES ภายใต้งาน Sustainability Expo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือขององค์กรชั้นนำระดับภูมิภาคและระดับโลก ตอกย้ำแนวคิดหลักของการจัดงาน“พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiencyfor Sustainability) ร่วมด้วย บริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, เอสซีจี และ บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศที่จะมาร่วมกันสร้างพลัง และปลุกกระแสด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ
SX TALK SERIES เป็นเวทีเสวนาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนมุมมองข้อมูลด้านความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้ไปสู่อนาคตของโลกที่ยั่งยืน และได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง จากSustainability Expo 2023 (SX2023)ทำให้ในปีนี้ Sustainability Expo 2024 (SX2024) ได้ดำเนินการจัด SX TALK SERIES ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
ล่าสุด Sustainability Expo 2024 (SX2024) จัด SX TALK SERIES ครั้งแรกของปี กับเรื่องของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ “เมือง สวน ป่า : ปลูกให้เป็น เมืองเย็นได้” เมื่อพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในทางรอดหลักของคนเมืองในสภาวะที่ร้อนระอุและเต็มไปด้วยฝุ่นควัน โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญนักพัฒนาเมืองและเครือข่ายที่ปฏิบัติจริง มาร่วมถ่ายทอดมุมมอง แนวคิด และประสบการณ์ทำงาน ณ C asean SAMYAN CO-OPสามย่านมิตรทาวน์
อรยา สูตะบุตร
“พื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ ทางรอดของคนเมือง รับมือโลกร้อน”โดย ปาจริยา มหากาญจนะ ผู้อำนวยการส่วนสวนสาธารณะ 1 สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า “ปัจจุบัน กทม. มีพื้นที่สาธารณะสีเขียวต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ 7.87 ตร.กม. ต่อคน ขณะที่ WHO กำหนดไว้ว่าเมืองควรมีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตร.กม.ต่อคน เมื่อเมืองมีพื้นที่สีเขียวน้อย จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ Urban Heat Island กทม.จึงมีนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ผ่าน 2 โครงการ คือ ١) สวน15 นาทีทั่วกรุง สร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้ ห่างจากบ้านหรือที่ทำงาน15 นาที 2) ปลูกต้นไม้ล้านต้นเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง โดยความร่วมมือของ กทม. ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเน้นที่การปลูกไม้ยืนต้น 75٪ เพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ทำให้เมืองมีพื้นที่สีเขียว และมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น”
“ต้นไม้ดี เมืองดี คนอยู่ได้” โดย อรยา สูตะบุตร ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “Big Trees” และมูลนิธิรักษ์ไม้ใหญ่ กล่าวว่า “สาเหตุหลักที่ทำให้ต้นไม้ในเมืองไม่แข็งแรง โดยเฉพาะต้นไม้ที่ปลูกใกล้สิ่งก่อสร้างหรือริมทางเท้า คือ การเทคอนกรีตจนชิดโคนต้น ทำให้รากอ่อนแอ ไม่สามารถรับน้ำและอาหารได้เต็มที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบทั้งในกทม. และต่างจังหวัด เช่น ต้นจามจุรีที่สวนเบญจกิติ ต้นจันประวัติศาสตร์ ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ทางรุกขกรจะต้องเข้าไปช่วยดูแลต้นไม้ให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง โดยใช้เสียมลมเป่าราก เปิดโคนต้น และบำรุงดิน จึงอยากเน้นย้ำว่าถ้าอยากให้ต้นไม้ให้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เราต้องช่วยกันดูแล หมั่นสังเกตสุขภาพต้นไม้ เพื่อให้เมืองดีขึ้น และมีต้นไม้ใหญ่ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน”
รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร
“ปลูกต้นไม้ลดมลพิษ อีกหนึ่งวิธีสร้างเมืองที่ดีและยั่งยืน” โดย รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทรอาจารย์ประจําสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า “ประเทศไทยเริ่มวิจัยเรื่องต้นไม้กับมลพิษใน ปี 2013 เราพบว่าต้นไม้แต่ละประเภทเหมาะสำหรับพื้นที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะต้นไม้ดักจับฝุ่นที่มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม จากการวิจัยพบว่า ต้นไม้จับฝุ่นแต่ละชนิดได้หากได้รับฝุ่นชนิดเดิมซ้ำๆ ต้นไม้จะสร้างกระบวนการเพื่อรับมือกับฝุ่นได้เร็วขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ในเมือง ไม่ใช่แค่ปลูกต้นไม้ให้เยอะ แต่ต้องวางแผนให้ดีว่าจะปลูกต้นไม้อย่างไรเพื่อดักจับฝุ่นให้ได้มากที่สุด เพราะบางพื้นที่เป็นจุดอับสายตา ถ้าปลูกต้นไม้สูงก็จะไม่ปลอดภัยสำหรับคนเดินทาง ตอนนี้เรากำลังร่วมกับ กทม. สร้างโมเดลถนนต้นไม้บริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นพื้นที่หนาแน่น ฝุ่นควันเยอะ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นก็จะช่วยลดปัญหาในพื้นที่นี้ได้”
“โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว”แนวคิดยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองโดย ยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม we!park กล่าวว่า “การสร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง จำเป็นต้องสำรวจฐานข้อมูลก่อนว่าพื้นที่ใดมีอิมแพคสูงสุด เช่น มีประชากรหนาแน่น มีปัญหาฝุ่นควัน แล้วออกแบบพื้นที่ให้ตรงตามความต้องการของชุมชนโดยรอบบางพื้นที่อาจเป็นที่ออกกำลังกาย เป็น Pop-up Park หรือเป็นสนามเด็กเล่นก็ได้ ซึ่งขนาดพื้นที่อาจไม่สำคัญเท่าระยะทางที่ใกล้ สามารถเดินไปจากบ้านได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อยากให้ทุกคนมองว่าพื้นที่สาธารณะสีเขียวเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวของเมือง เหมือนกับที่เมืองต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ถ้าทุกคนเข้ามาช่วยกันสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง เราจะทำให้เมืองดีขึ้นได้”
ยศพล บุญสม
ปิดท้ายด้วย “เพิ่มพื้นที่สีเขียวในออฟฟิศ ช่วยฮีลใจ เพิ่มประสิทธิภาพงาน”โดย สมัชชา วิราพร รองบรรณาธิการอํานวยการบ้านและสวน กล่าวว่า “บ้านและสวนได้ ให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างพื้นที่สีเขียว ทั้งในมุมของสื่อที่ให้ความรู้ ปลูกฝังความรักธรรมชาติ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับพื้นที่สีเขียวใกล้ตัว ที่ออฟฟิศของเราก็มีพื้นที่สีเขียวเยอะ ไว้สำหรับพนักงานได้มาพักผ่อนและผ่อนคลายจากการทำงาน ทาง กทม.ก็ได้มาสำรวจ และนับว่าตรงนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สีเขียวของภาคเอกชน วันนี้อยากให้ทุกคนคิดว่าการสร้างพื้นที่สีเขียวเป็นเรื่องใกล้ตัวที่พวกเราสามารถช่วยกันลงมือทำได้ ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงานก็ตาม”
ร่วมสนับสนุนการลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงกับ SX TALK SERIES ครั้งที่ 2 ได้ในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 ที่C asean SAMYAN CO-OP สามย่านมิตรทาวน์ ส่วนจะเป็นหัวข้อใดสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ เพื่อความยั่งยืนได้ตลอดทั้งปีได้ที่ www.sustainabilityexpo.com, Facebook : Sustainability Expo และแอปพลิเคชั่น SX
สมัชชา วิราพร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี