SACIT ปลุกพลังกระตุ้นผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ GI เชิญชวนผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม GI เปิดเวทีงานออกแบบ Craft Design Pitching & Matching
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ชวนผู้ผลิต หรือ ผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม GI ได้แก่ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม กลุ่มสมาชิกของ สศท. ช่างฝีมือ ชุมชนหัตถกรรม ผู้ประกอบการทั่วไป ร่วมกับ นักออกแบบ ได้แก่ นักสร้างสรรค์ และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ กลุ่มพันธมิตรเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยพร้อมบรรจุภัณฑ์ ผสานองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับนวัตกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ มีมาตราฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เกิดคุณค่าและความยั่งยืน
นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า โครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ กิจกรรม SACIT Concept 2024 : Geographical Indications of Art and Craft ดำเนินการเป็น Craft Design Matching การจับคู่กันระหว่าง ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม GI กับ นักออกแบบ โดยร่วมกันออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมบรรจุภัณฑ์ ที่เกิดจากการสืบสาน ต่อยอดองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมที่ได้รับการต่อยอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น (From Root to Route) ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคุณรุ่นใหม่ให้มีความชัดเจนและพัฒนาให้เกิดความร่วมสมัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่สอดรับกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในปีนี้ เราได้ออกแบบโครงการภายใต้แนวคิด
GI Smart Craft Combinations: คราฟต์ ผสมผสาน อย่างชาญฉลาด คือ การสร้างเครือข่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้เพิ่มมากขึ้น ระหว่าง กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการด้านศิลปหัตถกรรม และนักออกแบบ เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ในรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ วัสดุ วัตถุดิบ การทำสี และการพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมยกระดับเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ให้สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ ภายใต้การกำกับดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราคาดหวังจะได้เห็นผลงานศิลปหัตถกรรมการออกแบบใหม่ ๆ ที่ฉีกกรอบเดิม และสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ทุกผลงานที่ผ่านเข้ารอบและพัฒนาจะได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการและทดสอบตลาด รวมถึงจัดทำหนังสือรวบรวมองค์ความรู้ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
โครงการนี้ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละด้านร่วมพิจารณารอบคัดเลือก และรอบจับคู่ Pitching & Matching คณะกรรมการดำเนินการ พิจารณาข้อมูลเพื่อจับคู่ ผู้ประกอบการสินค้าหัตถกรรม จำนวน 3 ราย ต่อนักออกแบบ จำนวน 1 ราย
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและส่งสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ – 1 พฤษภาคม 2567 ผ่านทาง https://www.sacit.or.th/th/detail/2024-04-19-17-44-37?event-project=1
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ที่อยู่ 59 หมู่ 4 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13290 ; โทรศัพท์. 0 3536 7054-9; โทรสาร. 0 3536 7050-1; สายด่วน. 1289; อีเมล. info@sacit.or.th
-(016)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี