Hon.Mushahid Hussain Sayed, ดร.ชุมพล พรประภา, ดร.นลินี ทวีสิน และ จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ปิดฉากลงแล้วสำหรับการประชุมใหญ่ประจำปี ICAPP Business Council ( IBC ) ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ ความมั่นคงทางอาหาร และการส่งเสริมการท่องเที่ยว (Food Security and Tourism Promotion) มีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 100 คน จาก 20 ประเทศ ขานรับเพื่อขับเคลื่อนส่งเสริม การทำงานระหว่างภาคการเมือง และธุรกิจ โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ (ประเทศไทย) หรือ HCAT และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ระหว่างวันที่ 27 - 30 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมฮิลตัน แกรนด์ อโศก กรุงเทพฯ
พิธีเปิดการประชุม ICAPP Business Council (IBC) ครั้งที่ 2 ได้รับเกียรติจาก Chung Eui-yong ประธาน ICAPP SC อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี และอดีต National Security Advisor, Hon.Mushahid Hussain Sayed ประธานร่วม ICAPP SC ดร.ชุมพล พรประภา ประธานสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการทีเส็บ ดร.พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ดร.นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย และสมาชิก ICAPP Business Council ซึ่งเป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าจากนานาประเทศ อาทิ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน จอร์เจีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน เกาหลีใต้ ลาว เลบานอน เมียนมาร์ เนปาล ปากีสถาน รัสเซีย ศรีลังกา ไทย ตุรกี เวียดนาม และสมาชิกรัฐสภายุโรป (European Parliament)
นลินี ทวีสิน
ดร. นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย ได้กล่าวเปิดการประชุม ICAPP Business Council ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ การส่งเสริมการท่องเที่ยวและความมั่นคงทางอาหาร ว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ครอบคลุม โดยทั้งสองประเด็นล้วนแต่เป็นประเด็นที่ไทยมีจุดเด่น ย้ำนโยบายรัฐบาลพร้อมขับเคลื่อน Soft Power ของไทยในทุกมิติ
“ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้กล่าวเปิด (Opening remarks) การประชุม ICAPP Business Council ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ ความมั่นคงทางอาหาร และการส่งเสริมการท่องเที่ยว (Food Security and Tourism Promotion) โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมการประชุม กว่า 100 คน ซึ่งเป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าจากนานาประเทศ อาทิ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน จอร์เจีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน เกาหลีใต้ ลาว เลบานอน เมียนมาร์ เนปาล ปากีสถาน รัสเซีย ศรีลังกา ไทย ตุรกี เวียดนาม และสมาชิกรัฐสภายุโรป (European Parliament)”
ทั้งนี้ ผู้แทนการค้าไทย ได้เน้นย้ำว่าประเด็นความมั่นคงทางอาหารนั้น นับว่ามีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเติบโตที่ครอบคลุม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนี้ จากการที่ไทยถือเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารชั้นนำของโลก และมีความมั่นคงทางอาหารอยู่ในเกณฑ์สูง จึงเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมบทบาทของไทยในฐานะ “ครัวโลก” ในขณะที่ การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างงาน ดึงดูดการลงทุน และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำให้มั่นใจว่าการท่องเที่ยวนั้น เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อผู้คนในพื้นที่ ตลอดจนต้องหาแนวทางในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการนำเสนอการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ โดยไทยนั้นมีความพร้อมในการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากไทยมีวัฒนธรรมที่โดนเด่น อาหารที่โด่งดัง และผู้คนที่เป็นมิตร ตลอดจนรัฐบาลก็ได้มีการสนับสนุนและมีนโยบายในการส่งเสริม Soft Power ด้านต่าง ๆ ของไทยอย่างต่อเนื่อง
Chung Eui-yong ประธาน ICAPP SC
“อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของการประชุมนี้คือ การที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้เดินทางไปร่วมงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2024 ณ อิมแพคเมืองทองธานี ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นถึงศักยภาพโดดเด่นของประเทศไทยในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะฮาลาลไทยที่กำลังมีบทบาทสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมหลากหลายส่งเสริมให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว” ดร. นลินี ทวีสิน กล่าว
ดร.ชุมพล พรประภา ประธานสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติและเป็นโอกาสอันดีที่สมาคมกงสุลฯ ได้ร่วมสนับสนุนจัดการประชุมสำคัญครั้งนี้ โดยเฉพาะประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร และการส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถชูศักยภาพสองอุตสาหกรรมหลักด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวของไทย ถือเป็นเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายนักธุรกิจและความร่วมมือระหว่างประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความพร้อมในการรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ให้สามารถขยายฐานการตลาดไปสู่ต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา กล่าวในนามทีเส็บ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักว่า “ทีเส็บ มีความยินดีที่ได้สนับสนุนการประชุม IBC ครั้งที่ 2 เนื่องจากมีนโยบายและพันธกิจใช้งานประชุมและงานแสดงสินค้าเป็นเวทีขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะส่งผลผลักดันการเติบโตให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทยรวมทั้งใช้การประชุมเป็นเวทีส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทย เพื่อมุ่งเป้าภาพใหญ่ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายการจัดงานที่สามารถสร้างมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจและสร้างประสบการณ์เชิงวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า
จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผอ.ทีเส็บ
การประชุมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจาก 20 ประเทศ ยังได้เข้าเยี่ยมชมรัฐสภาไทย ณ สัปปายะสภาสถาน ซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่มีสถาปัตยกรรมงดงาม และทันสมัยอีกด้วย
สำหรับการประชุม ICAPP นับเป็นเวทีสำคัญของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาความร่วมมือในระดับพหุภาคี และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม บนพื้นฐานความเข้าใจร่วมกัน เพื่อนำไปสู่ความเชื่อใจในระดับสูงยิ่งขึ้น และดำเนินภารกิจร่วมกันในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและความสามัคคี โดยการประชุม ICAPP เริ่มขึ้นครั้งแรกที่กรุงมะลิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปีพ.ศ.2543 และมีการประชุมครั้งที่สองที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2545 และต่อมาในปี พ.ศ.2566 ICAPP ได้มีการจัดตั้ง ICAPP Business Council เป็นหนึ่งในคณะกรรมการย่อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาและส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างภาคการเมืองและภาคธุรกิจในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ โดยการประชุม ICAPP Business Council ครั้งที่ 1 ที่ผ่านมา จัดขึ้นที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งครั้งนี้นับเป็นโอกาสในการชูศักยภาพของไทยบนเวทีโลกอีกครั้ง
คณะกงสุลฯ : (ซ้าย) อัสวานีย์ บาจาซจ์ กงสุลฯรัสเซีย, วิกรม์ ศรีวิกรม์ กงสุลฯจอร์เจีย, ปริม จิตจรุงพร กงสุลฯคีร์กีซ, นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย, กรนันท์ สุคนธ์ฤทธิกรกงสุลฯเบลารุส และ จักร จามิกรณ์ กงสุลใหญ่
พัชรพิมล ยังประภากร กงสุลฯโกตดิวัวร์ และ ปิยะวิทย์ เจียงประดิษฐ์ กงสุลฯเอลซัลวาดอร์ และภรรยา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี