กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย Music Therapy for the Elderly โดยมีอุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน ร่วมด้วย อนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,อภิญญา เอี่ยมอำภารองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี, พรนิภามาสิลีรังสี รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ,ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์และคณะจากมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
อุดม โปร่งฟ้า กล่าวว่า การจัดงานดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย Music Therapy for the Elderly ในวันนี้เกิดจากความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวกิจกรรมด้านดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีบำบัดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย และส่งมอบกิจกรรมด้านดนตรีบำบัดในการเป็นเครื่องมือในการศึกษาและขยายผลให้กับกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) และประชาชนทุกช่วงวัย ซึ่งจังหวัดแรกที่จัดกิจกรรมคือ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจะจัดใน 10 อำเภอ จากนั้นจะขยายผลไปจังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่จังหวัดนำร่อง
กิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงวัย Music Therapy for the Elderly นับเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งตอบสนองและสอดคล้องกับข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากร ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (วราวุธศิลปอาชา) ประกอบด้วย 5 ข้อเสนอ ข้อเสนอละ 5 มาตรการ โดยมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องในประเด็นข้อเสนอที่ 3 สร้างพลังผู้สูงอายุ ผ่อนหนักให้เป็นเบา พลิกวิกฤตทางประชากรให้เป็นโอกาส และมีมาตรการสำคัญเร่งด่วน คือ การมุ่งการป้องกันโรคมากกว่ารักษาโรคเสริมการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบำบัดทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ สำหรับทางกายภาพ คือ การเคลื่อนไหวตามจังหวะ ดนตรี การเล่นเครื่องดนตรี หรือการร้องเพลง เป็นการตอบสนองของร่างกายที่ทำให้อวัยวะต่างๆถูกกระตุ้น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นทำให้มีการสูบฉีดเลือดดีขึ้น ดนตรีบำบัดจึงสามารถช่วยฟื้นฟูอาการของโรคต่างๆ ได้ และการใช้ดนตรีบำบัดทางจิตใจ คือ การฟัง จะทำให้สภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เสียงของดนตรีบำบัดสามารถทำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีประสิทธิภาพราวกับการทำสมาธิ ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูโรคสมาธิสั้น (ADHD) และยังกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ที่ทำให้มีความสุข ช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียดได้อีกด้วย
ต้องขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับความร่วมมือและให้ความสำคัญในการใช้ดนตรีบำบัดในกลุ่มผู้สูงอายุและประชาชนทุกช่วงวัย ซึ่งดนตรีบำบัดเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม สำหรับประชาชนทุกช่วงวัย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี