นักวิทยาศาสตร์เผยแพร่ผ่านผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science of The Total Environment ระบุว่า ฉลามกินสารกระตุ้นที่รุนแรง ซึ่งมาจากน้ำเสียที่บำบัดไม่ดีพอ
และการลักลอบกลั่นน้ำมัน นอกจากนี้ ฉลามบางตัวอาจไปกัดก้อนโคเคน ที่ผู้ค้ายาทิ้งไปในทะเลนอกชายฝั่งบราซิล ซึ่งเป็นตลาดค้ายาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสุขภาพ ออสวัลโดฟาวน์เดชัน ครูซ ระบุว่า จากการเก็บตัวอย่างฉลามจมูกแหลมของบราซิล 13 ตัว ระหว่างเดือนกันยายน 2021-สิงหาคม 2023 ขณะที่กำลังเฝ้าติดตามผลกระทบทางธรรมชาติจากมลพิษต่อสัตว์ทะเล และทำการตรวจสอบเป็นเวลาเกือบ 3 ปี พบว่า มีโคเคนอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อตับอยู่ในตัวอย่างฉลาม
เรเชล แอนน์ ฮอเซอร์ เดวิส นักชีววิทยาจากห้องปฏิบัติการประเมินและส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อมของ IOC กล่าวว่า เนื่องจากฉลามเป็นสัตว์นักล่า มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร และสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยถึงคุกคามที่มีต่อสิ่งแวดล้อมล่วงหน้าได้
นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ระบุถึง ผลกระทบของโคเคนและสารเสพติดที่มีต่อฉลาม แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการศึกษาวิจัยที่เผยให้เห็นว่า ปลาเทราต์สีน้ำตาลสามารถติดสารเมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้าได้ ขณะที่สารพิษอื่นๆ เช่น ยากล่อมประสาท โลหะหนัก และยาคุมกำเนิด ก็มีการปนเปื้อนในน้ำและไหลลงสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ และมหาสมุทรในพื้นที่อื่นของโลกด้วยเช่นกัน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี