แพท่องเที่ยวในแม่น้ำ
ด้วย งานสายน้ำแห่งกาญจน์เวลา (The River of Time) เป็นงานที่จัดตั้งแต่วันที่ ๒๒-๓๐ กันยายนนี้ นับเป็นงานที่สร้างปรากฏการณ์การเรียนรู้ ผ่านสายน้ำแห่งความทรงจำซึ่งจังหวัดกาญจนบุรีและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้ร่วมกันจัดขึ้น โดยมี ร.ท.ทศพลไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นประธานเปิดงานสายน้ำแห่งกาญจน์เวลา(The River of Time) ร่วมกับ นางรุจิรัศมิ์ ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านบริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ โรงงานกระดาษไทย ตำบลบ้านใต้ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชนร่วมงาน งานนี้นับว่าเป็นการสร้างสรรค์งานที่จัดทั้งแสง สี เสียง และ 3D Projection Mappingบนอาคารโรงงานกระดาษ สถาปัตยกรรมอายุกว่า ๘๐ ปี สร้างความมหัศจรรย์ด้วยแสงไฟยามค่ำคืน การแสดงโดรนแปรอักษรกว่า ๕๐๐ ลำ และคอนเสิร์ตเหนือกาลเวลาที่คับคั่งไปด้วยศิลปินชื่อดัง รวมทั้งร้านอาหาร ๕ ภาคมีร้านอาหารมิชลินร้านดังจากโซเชียลและร้านดังของกาญจนบุรี
ร.ท.ทศพล ไชยโกมินทร์ ผวจ.กาญจนบุรี เปิดงาน
สำหรับเมืองกาญจนบุรีนั้นเป็นเมืองสำคัญลำดับ ๓ ของประเทศ รองจากเมืองนครราชสีมาและเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของภาคตะวันตก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๙,๔๗๓ ตารางกิโลเมตรนับว่ามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ภาคตะวันตกด้วยเหตุที่ชายแดนติดต่อกับเมียนมา (พม่า)และติดต่อกับจังหวัดตาก โดยมีสายน้ำสำคัญคือ แม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำรันตีแม่น้ำภาชี แม่น้ำสุริยะ (แม่น้ำไทรโยคที่ไหลย้อนไปทางเหนือเข้าเขตเมียนมา) ทำให้มีทะเลสาบสำคัญ ได้แก่ ทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ ทะเลสาบเขาแหลม ทะเลสาบท่าทุ่งนา ความเป็นมาของกาญจนบุรีนั้น มีเมืองกาญจนบุรีเก่าคือบริเวณไทรโยค เขาชนไก่ ในสมัยอยุธยาและมีเมืองกาญจนบุรีใหม่ สมัยรัชกาลที่ ๓ ที่บ้านปากแพรก ซึ่งเป็นปากน้ำทางแยกของแม่น้ำ๓ สาย ที่ใช้เดินเรือค้าขาย จึงมีท่าเรือในชื่อต่างๆ ไปตามสายน้ำนั้น เดิมนั้นเคยเป็นเส้นทางออกเครื่องเคลือบสมัยสุโขทัย ออกทะเลทางราชบุรี จากหลักฐานทางโบราณคดีนั้นพื้นที่นี้ย้อนไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วยมีการค้นพบเครื่องมือหินที่บริเวณบ้านเก่า ที่ตั้งชื่อว่าวัฒนธรรมฟิงน้อย (แควน้อย) และพบโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่พบในนครปฐม และบ้านคูบัวในราชบุรีและเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งมีการค้นพบพระพิมพ์ศิลปทวารวดีจำนวนมาก และพบปราสาทเมืองสิงห์ที่มีรูปแบบศิลปะขอม สมัยบายน
ผวจ.กาญจนบุรี แล รองททท. เปิดงาน
ในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเก่าในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่
ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. ๒๓๗๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรกอันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๓๗๔ แล้วเสร็จในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ต่อมาเมืองนี้ได้แยกจากสุพรรณบุรีโดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ที่มีสายน้ำหลายสายดังกล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี